การขยายพันธุ์ต้นลิงแลวในสภาพปลอดเชื้อ และในสภาพโรงเรือน

Main Article Content

จามจุรี โสตถิกุล
ปาริชาติ ชุมพรณ์
แดนสรวง น้อยคำ

บทคัดย่อ

การผลิตต้นลิงแลว (Chlorophylum undulatum Wall.) ในสภาพปลอดเชื้อ พบว่าการเลี้ยงชิ้นส่วนต้นลิงแลวในอาหาร MS ดัดแปลง ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตเป็นระยะเวลา 1 เดือน สามารถผลิตต้นได้เฉลี่ย 1.30 ต้น/ชิ้นส่วน ในขณะที่ชิ้นส่วนต้นที่เลี้ยงในอาหารสูตรเดียวกันที่เติม  TDZ ที่ระดับ 0.5 มก/ล สามารถผลิตต้นได้เฉลี่ย 2.25 ต้น/ชิ้นส่วน การเลี้ยงชิ้นส่วนต้นในอาหารที่มี TDZ ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 เดือน โดยมีการตัดย้ายต้นลงในอาหารใหม่ทุก 1 เดือน พบว่าสามารถผลิตต้นลิงแลวได้สูงสุด  2.80 ต้น/ชิ้นส่วน แต่หากเลี้ยงในอาหารที่มี TDZ ติดต่อกันนานกว่า 5 เดือน ทำให้จำนวนต้นมีแนวโน้มลดลง โดยในเดือนที่ 7 เกิดต้นเพียง 2.41 ต้น/ชิ้นส่วน ส่วนการศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญของต้นลิงแลวในสภาพโรงเรือน ทำโดยนำต้นลิงแลวมาปลูกในวัสดุปลูกที่แตกต่างกัน พบว่าดินร่วนผสมทรายผสมขี้เถ้าแกลบในอัตราส่วน 1:1:1 ทำให้ลิงแลวมีความสูงต้น ความกว้างใบ ความยาวใบมากที่สุด คือ 17.03, 2.11 และ 11.30 ซม. ตามลำดับ นอกจากนี้ดินร่วนหรือดินร่วนผสมขี้วัวในอัตราส่วน 1:1 ทำให้ลิงแลวมีจำนวนต้นต่อกอสูงสุด คือ 4.14 ต้น ในเวลา 2 เดือน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉันทนา สุวรรณธาดา. 2534. ไม้ดอกประเภทหัว. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 81 หน้า.

ดนัย บุณยเกียรติ. 2544. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชา พืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 230 หน้า.

เต็ม สมิตินันท์. 2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544). ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. 810 หน้า.

นันทิยา วรรธนะภูติ. 2538. การขยายพันธุ์พืช. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 447 หน้า.

มาโนช วามานนท์ และเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ (บก.). 2540. ผักพื้นบ้าน: ความหมายและภูมิปัญญาของสามัญชนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, กรุงเทพฯ. 261 หน้า.

อุไร จิรมงคลการ. 2547. ผักพื้นบ้าน 2. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, กรุงเทพฯ. 223 หน้า.

Singh, N.D., L. Sahoo, N.B. Sarin and P.K. Jaiwal. 2003. The effect of TDZ on organogenesis and somatic embryogenesis in pigeonpea (Canajus cajan L. Millsp.) Plant Science 164(3): 341-347.