ผลของการขาดธาตุอาหารพืชต่อการเติบโตของกล้วยไม้ซิมบิเดียม ‘ซูเปอร์ ฟรีค’
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการขาดธาตุอาหารต่อการเติบโต และอาการขาดธาตุอาหารของกล้วยไม้ซิมบิเดียม ‘ซูเปอร์ ฟรีค’ ที่ปลูกในเปลือกสน โดยให้สารละลายธาตุอาหารแตกต่างกันจำนวน 6 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ให้สารละลายธาตุอาหารครบทุกธาตุที่จำเป็น (กรรมวิธีควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 ถึง 6 ให้สารละลายธาตุอาหารที่ขาดธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมตามลำดับ พบว่ากรรมวิธีขาดธาตุไนโตรเจนให้ ความสูงต้น ความกว้างทรงพุ่ม ความยาวใบ จำนวนใบต่อต้น และจำนวนใบต่อกอน้อยที่สุด ยิ่งกว่านั้นพบว่าพืชแสดงอาการลำต้นแคระแกร็น ใบมีสีเหลืองอมเขียวและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองในที่สุด ส่วนกรรมวิธีขาดธาตุฟอสฟอรัส พบว่าใบเล็ก ผิวใบด้าน และไม่มันวาว ใบแก่เป็นสีเขียวเข้ม ขณะที่กรรมวิธีขาดธาตุโพแทสเซียม ใบโค้งงอ กาบใบมีสีเขียวอมเหลือง และปลายใบแก่แห้ง ในกรรมวิธีขาดแคลเซียมแสดงอาการคล้ายกับกรรมวิธีขาดโพแทสเซียม แต่พบว่าใบและกาบใบมีสีเขียวเข้ม กว่ากรรมวิธีขาดโพแทสเซียม ส่วนกรรมวิธีขาดแมกนีเซียมใบอ่อนและใบแก่มีสีเขียวอมเหลือง โค้งงอและปลายใบไหม้
Article Details
References
ณัฐา โพธาภรณ์. 2550. รายงานการวิจัยโครงการพัฒนาคุณภาพไม้ดอกทางเศรษฐกิจ (กล้วยไม้ฯ) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการส่งออก. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 153 หน้า.
ทรงสุดา ยนต์นิยม. 2546. ผลของการขาดไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ วุนแลงสีขาวปากแดง และพันธุ์ชาแนลสีชมพู. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 34 หน้า.
มุกดา สุขสวัสดิ์. 2544. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 344 หน้า.
ยงยุทธ โอสถสภา. 2546. ธาตุอาหารพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 424 หน้า.
วิเชียร ฝอยพิกุล. 2546. เทคนิคและการใช้ดิน-ปุ๋ย-น้ำ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏสุรินทร์, สุรินทร์. 406 หน้า.
วัชรพล บำเพ็ญอยู่ และโสระยา ร่วมรังษี. 2546. การขาดธาตุอาหารในหงส์เหิน.วารสารเกษตร 19(2): 116-124.
สรสิทธิ์ วัชโรทยาน. 2514. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 327 หน้า.
โสระยา ร่วมรังษี. 2547. เอกสารคำสอนวิชาสรีรวิทยา ไม้ดอกไม้ประดับ. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 127 หน้า.
หทัย กฤษดาวาณิชย์ และโสระยา ร่วมรังษี. 2548. การขาดไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในฟรีเซีย. วารสารเกษตร 21(3): 197-204.
อบฉันท์ ไทยทอง. 2549. กล้วยไม้เมืองไทย. สำนักพิมพ์บ้านกลางสวน, กรุงเทพฯ. 416 หน้า.
Huber, S.C. 1984. Biological basis for effects of K deficiency on assimilate, export rate and accumulation of soluble sugars in soybean leaves. Plant Physiol. 76: 424 - 430.