การปฏิวัติเขียว แมลงศัตรูพืช และการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี

Main Article Content

ชาญณรงค์ ดวงสอาด

บทคัดย่อ

มนุษย์โลกดูเหมือนจะเป็นผู้กำหนดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในชีวิตและความเป็นอยู่ของกลุ่มประชากรของตนเอง การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่เหล่านั้นเรียกได้ว่าเป็น “การปฏิวัติ” ซึ่งเท่าที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์กล่าวได้ว่ามีการปฏิวัติที่นอกเหนือไปจากทางการเมืองได้เกิดขึ้น 3 หรือ 4 ลักษณะตามลำดับของกาลเวลานั่นคือ (1) การปฏิวัติทางวัฒนธรรม (The cultural revolution) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับประชากรของมนุษย์ที่ได้มีวิวัฒนาการที่ยาวนาน โดยที่มนุษย์ได้รู้จักการแยกชีวิตและความเป็นอยู่ของตนเองจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ แล้วรวมตัวกันอยู่เป็นชุมชนหรือสังคม (2) การปฏิวัติทางการเกษตรกรรม (The agricultural revolution) ซึ่งเริ่มต้นราว ๆ  9000 ปีก่อน คริสตศักราช เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งผันแปรจากที่เคยไล่ล่า หรือเสาะหา


รวมทั้งได้มีการตั้งหลักแหล่งมากขึ้น (3) การปฏิวัติทางอุตสาหกรรม (The industrial revolution) เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น ในแง่ของการเสาะหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ชีวิต และทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1750 ในประเทศแถบยุโรป และ (4) การปฏิวัติเขียว  (The green revolution) ซึ่งคือเนื้อหาหลักของบทความนี้ และจะได้กล่าวโดยละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อนี้และโยงใยไปถึงการระบาดของแมลงศัตรูพืชและการควบคุมโดยชีววิธี


ตั้งแต่ได้เริ่มมีการปฏิวัติทางการเกษตรกรรม  มนุษย์ได้มีการเพาะปลูกพืชหลายต่อหลายชนิด ในจำนวนเหล่านั้น ข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพดเป็นพืชที่มนุษย์เพาะปลูกและใช้เป็นอาหารหลักมากที่สุด เรียกว่าเป็น  “3 พืชที่ยิ่งใหญ่” (The big three crops) ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่การปลูกพืชในโลก ในจำนวนสามพืชที่ยิ่งใหญ่ ข้าวถือได้ว่ามีความสำคัญมากที่สุด ทั้งนี้เพราะข้าวจัดเป็นอาหารหลักของประชากรโลก ทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่นมากกว่าสามพันล้านคน และพื้นที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปเอเชีย ข้าวสาลีก็มีความสำคัญเช่นกัน แต่ได้ถูกจัดให้มีความสำคัญเป็นอันดับสอง ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกอยู่ในเขตอบอุ่น ขณะที่ข้าวโพดซึ่งปลูกอยู่ทั่วไปทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่นก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าข้าวและข้าวสาลีแม้ว่าจะถูกจัดให้เป็นพืชที่มีความสำคัญเป็นอันดับสามก็ตาม (Krebs, 1972) อย่างไรก็ดีไม่ว่าพืชชนิดใดที่จะถูกจัดลำดับเป็นหนึ่ง สอง หรือสามก็ตาม สิ่งที่เป็นที่ต้องการของมนุษย์ คือ จะทำอย่างไรที่จะเพิ่มศักยภาพในการผลิตพืชเหล่านี้ให้สูงขึ้นเพื่อเพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์โลก ได้มีการประเมินอัตราของการผลิตเมล็ดพืช หรืออาหารของประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายระหว่าง ค.ศ. 1990-1997 พบว่ามีอัตราการเพิ่มเฉลี่ย 1 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ในขณะที่อัตราการเพิ่มของประชากรเฉลี่ย 1.3 เปอร์เซ็นต์ (Hinrichsen and Robey, 2000) ซึ่งคล้อยตามทฤษฎีของมัลทัส (Multhusian Theory)* ที่ได้เสนอไว้เมื่อ ค.ศ. 1798 และด้วยเหตุนี้แนวคิดของการปฏิวัติเขียวจึงได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการข้าว. 2553. องค์ความรู้เรื่องข้าว: เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.brrd.in.th/rkb/data_005/rice_xx2-05_bug02.html (17 มีนาคม 2553).
กรมวิชาการเกษตร. 2553. สาระน่ารู้น่าสนใจ: การจัดการเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.doa.go.th/.LinkClick.aspx?link=807&tabid=54&mid=561 (16 มิถุนายน 2553).
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2553. รายงานสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553. ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http//agriqua.doae.go.th/news/mealybug/report%20gov/180253.doc
(16 มิถุนายน 2553).
โกศล เจริญสม และวิวัฒน์ เสือสะอาด. 2537. ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืชในประเทศไทย.
ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 114 หน้า.
ปรีชา วังศิลาบัตร. 2545. นิเวศวิทยาของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและการควบคุมปริมาณ. เอกสารวิชาการกองกีฏและสัตววิทยา ปี พ.ศ. 2545. กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 117 หน้า.
สุธรรม อารีกุล. 2508. แมลงศัตรูสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย. ภาควิชากีฎวิทยาและโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, พระนคร. 260 หน้า.
ไสว บูรณพานิชพันธุ์. 2536. แมลงศัตรูพืชไร่. ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 311 หน้า.
โอภาษ บุญเส็ง. 2553. เพลี้ยแป้ง...มหันตภัยต่อมันสำปะหลัง. เทคโนโลยีชาวบ้าน 22(471): 36-42.
Andow, D.A. 1991. Vegetational diversity and arthropod population response. Annu. Rev. Entomol. 36: 561-586.
Altieri, M.A. 1994. Biodiversity and Pest Management in Agroecosystems. Food Products Press, New York. 185 pp.
DeBach, P. and D. Rosen. 1991. Biological Control by Natural Enemies. 2nd ed. Cambridge University Press, Cambridge. 456 pp.
Hinrichsen, D. and B. Robey. 2000. Population and the Environment: The Global Challenge. Population Reports, Series M, No. 5, Johns Hopkins University School of Public Health, Baltimore, Maryland. 31 pp.
James, C. 2009. Global Status of Commercialized Biotech/GM Crops: 2009. ISAAA Brief No. 41, ISAAA, Ithaca, New York. 37 pp.
Krebs, C.J. 1972. Ecology: The Experimental Analysis of Distribution and Abundance. Harper & Row Publishers, New York. 694 pp.
Neuenschwander, P., W.N.O Hammond, A.P. Gutierrez, A.R. Cudjoe, R. Adjakloe, J.U. Baumgartner and U. Regev. 1989. Impact assessment of the biological control of the cassava mealybug, Phenacoccus manihoti Matile-Ferreno (Hemiptera: Pseudococcidae) by the introduced parasitoid Epidinocarsis lopezi (De Santis) (Hymenoptera: Encyrtidae). Bulletin of Entomological Research 79: 579-594.
Panda, N. and G.S. Khush. 1995. Host Plant Resistance to Insect. CAB International, Wallingford. 431 pp.
Pathak, M.D. 1975. Insect Pests of Rice. International Rice Research Institute, Los Bonos, Philippines. 68 pp.
Pedigo, L.P. and M.E. Rice. 2006. Entomology and Pest Management. 5th ed. Pearson Prentice Hall, Upper Saddle River, New Jersey. 749 pp.
Schoonhoven, L.M., T. Jermy and J.J.A. van Loon. 1998. Insect-Plant Biology: From Physiology to Evolution. Chapman & Hall, London. 409 pp.
Schuman, M. 2009. The new green revolution. Time 174(16): 14-19.
Smith, H.S. 1919. On some phases of insect control by the biological method. J. Econ. Entomol. 12: 288-292.