ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อรา <I>Colletotrichum </I> spp. โดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและเทคนิค ISSR

Main Article Content

รัฐกร ศรีสุทธี
สรัญยา ณ ลำปาง

บทคัดย่อ

การจัดจำแนกเชื้อรา Colletotrichum spp. จำนวน 41 ไอโซเลท โดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยา ได้แก่ ลักษณะและอัตราการเจริญของ colony ขนาดและรูปร่างของ conidia และ appressoria การสร้างหรือไม่สร้าง setae และ sclerotia พบว่าสามารถจำแนกได้ 4 สปีชีส์ ได้แก่ C. gloeosporioides, C. acutatum, C. musae และ C. capsici  เมื่อทำการศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม โดยเทคนิค ISSR ด้วยไพรเมอร์ 6 ชนิด พบว่าปรากฏแถบดีเอ็นเอทั้งหมด 161 แถบ และเมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Phylip พบว่าสามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มของเชื้อรา C. acutatum , C. capsici, C. musae และที่เหลือเป็นกลุ่มของเชื้อรา C. gloeosporioides  โดยพบว่ากลุ่มของเชื้อรา C. musae มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับ  เชื้อรา C. gloeosporioides และผลการจัดกลุ่มนี้สอดคล้องกับผลที่ได้จากการจัดจำแนกด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยา ดังนั้นการใช้เทคนิค ISSR เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง ในการวิเคราะห์ประวัติเชิงวิวัฒนาการของเชื้อราสกุล Colletotrichum

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิพนธ์ วิสารทานนท์. 2535. โรคผลเน่าของมะม่วงและวิธีการควบคุมโรค. เคหะการเกษตร 16: 72-75.

พัชรา โพธิ์งาม. 2543. ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม แนวโน้มในการเข้าทำลายพืชอาศัยอื่นและการสืบพันธุ์แบบใช้เพศของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides จากไม้ผล. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 24 หน้า.

พัฒนา สนธิรัตน ประไพศรี พิทักษ์ไพรวัน และวิรัช ชูบำรุง. 2534. รายงานโรคพืชเกิดจากเชื้อรา ชุดที่ 2. วารสารโรคพืช 11(3-4): 65-72.

วิชัย โฆสิตรัตน. 2541. ดีเอ็นเอเครื่องหมายและลายพิมพ์ดีเอ็นเอกับงานวิจัยด้านโรคพืช. หน้า 1-4. ใน: เอกสารประกอบการสัมมนาพิเศษอณูชีววิทยาทางโรคพืช ครั้งที่ 2 เรื่อง การใช้เครื่องหมายโมเลกุลและลายพิมพ์ดีเอ็นเอสำหรับงานวิจัยด้านโรคพืช 12-13 พฤษภาคม 2541. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

ศรัญญา ลิ้มไขแสง. 2544. ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อรา Colletotrichum จากการวิเคราะห์ลำดับเบสในตำแหน่งอินเทอร์นัลทรานสไครพ์สเพเซอร์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อรวรรณ ชลวาณิชย์. 2547. การวิเคราะห์ไอเอสเอสอาร์ของเปล้าใหญ่ Croton oblongifolius ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เอมอร พงศ์สารารักษ์. 2544. ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อรา Colletotrichum spp. บางชนิดโดยเทคนิค AFLP. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

Abang, M. M., R. Asiedu, P. Hoffmann, G. A. Wolf, H. D. Mignouna and S. Winter. 2006. Pathogenic and genetic variability among Colletotrichum gloeosporioides isolates from different yam hosts in the agroecological zones in Nigeria. Phytopathology 154: 51-61.

Bailey, J. A., and M. J. Jeger. 1992. Colletotrichum: Biology, Pathology and Control. CAB International, Wallingford.

Cano, J., J. Guarro and J. Gene. 2004. Molecular and morphological identification of Colletotrichum species of clinical interest. Journal of Clinical Microbiology 42(6): 2450–2454.

Freeman, S. and E. Shabi. 1996. Cross-infection of subtropical and temperate fruits by Colletotrichum species from various hosts. Physiological and Molecular Plant Pathology 49: 395-404.

Freeman, S., T. Katan and E. Shabi. 1998. Characterization of Colletotrichum species responsible for anthracnose disease of various fruits. Plant Disease 82(6): 596-605.

Smith, B. J. and L. L. Black. 1990. Morphological, cultural and pathogenic variation among Colletotrichum species isolated from strawberry. Plant Disease 74: 69-76.

Sutton, B. C. 1980. The Coelomycetes: Fungi Imperfecti with Pycnidia Acervuli and Stromata. Commonwealth Mycological Institute, Kew. 696 pp.

Sutton, B. C. 1992. The genus Glomerella and its anamorph Colletotrichum. pp. 1-26. In: J. A. Bailey and M. J. Jeger, (eds.). Colletotrichum: Biology, Pathology and Control. CAB International, Wallingford.

Ureña-Padilla, A. R., S. J. MacKenzie, B. W. Brown and D. E. Legard. 2002. Etiology and population genetics of Colletotrichum spp. causing crown and fruit rot of strawberry. Phytopathology 92: 1245-1252.