ผลของความยาววันต่อการเติบโต การสังเคราะห์แสง และการสะสมอาหารในปทุมมา

Main Article Content

อภิชาติ ชิดบุรี
ฉันทนา สุวรรณธาดา
วีณัน บัณฑิตย์
ทากูจิ โอยามา
โสระยา ร่วมรังษี

บทคัดย่อ

ผลของความยาววันต่อการเจริญเติบโตและการสะสมอาหารในปทุมมา ศึกษาโดยการปลูกปทุมมาในกระถางพลาสติกสีดำใช้ทราย : แกลบดิบ : ถ่านแกลบ อัตราส่วน 1 : 1 : 1 เป็นวัสดุปลูก เมื่อต้นงอกจึงเริ่มให้พืชได้รับความยาววันที่แตกต่างกัน 3 กรรมวิธี คือ 7, 10 และ 13 ชั่วโมง ภายใต้สภาพความเข้มแสงเฉลี่ย 60  mmol/m2/s  อุณหภูมิ 27 ±  2  องศาเซลเซียส ความชื้นประมาณ  70 - 80 % พบว่า ปทุมมาที่ปลูกในสภาพความยาววัน  13 ชั่วโมง มีความสูงมากที่สุดเฉลี่ย 103 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นเฉลี่ย 0.82 ซม. ซึ่งมากกว่าที่ปลูกในสภาพความยาววัน 7 และ 10 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามพบว่า จำนวนใบต่อต้น จำนวนหัวใหม่ต่อกอ และจำนวนรากสะสมอาหารต่อหัวไม่มีความแตกต่างกันในทุกกรรมวิธี ปทุมมาที่ปลูกในความยาววัน (13 ชั่วโมง) มีอัตราการสังเคราะห์แสง 50-55 mmol/m2/s เมื่ออายุ 3 และ 4 สัปดาห์หลังจากปลูก ซึ่งมากกว่าต้นที่เติบโตในสภาพความยาว 7 และ 10 ชั่วโมง แต่อัตราการสังเคราะห์แสง เมื่ออายุ 5 สัปดาห์หลังจากปลูก ไม่แตกต่างกันทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าคลอโรฟิลล์ฟลูออเรนเซนซ์ในปทุมมาทั้งสามกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกัน สำหรับการสะสมอาหารในหัวใหม่ พบว่าปริมาณของคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่โครงสร้าง (TNC) และน้ำตาลรีดิวซ์ (RS) ในหัวใหม่และรากสะสมอาหารของต้นที่เติบโตในสภาพความยาววัน 13 ชั่วโมงมีปริมาณที่ สูงกว่ากรรมวิธีอื่น นอกจากนี้ สภาพความยาววัน (7 ชั่วโมง) มีความเข้มข้นของโพแทสเซียมในหัวใหม่ และความเข้มข้นของฟอสฟอรัสและแคลเซียมในรากสะสมอาหารต่ำกว่ากรรมวิธีอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2542 ก. ปทุมมาในสายตาผู้นำเข้า. รายงานการจัดงาน อะเมซิ่งไม้ดอกเมืองร้อน. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 74 หน้า.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2542 ข. สรุปผลงานในรอบปี 2542. [ระบบออนไลน์] แหล่งข้อมูล: http:// www.doae.go.th/report/report41/index2.htm (11 พฤษภาคม 2547)
จีรวัฒน์ ภู่บัวเผื่อน. 2535. การเจริญเติบโตและการพัฒนาดอกของปทุมมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 82 หน้า.
เฉลิมพล แซมเพชร. 2542. สรีรวิทยาการผลิตพืชไร่. นพบุรีการพิมพ์, เชียงใหม่. 276 หน้า.
Association of Official Analytical Chemists (A.O.A.C.). 1990. Official methods of analytical. pp. 1189-1298. In: Method of Analytical, Association of Official Analytical Chemist, Inc., Virginia.
Apavatjrut, P., S. Anuntalabhochai, P. Sirirugsa and C. Alisi. 1999. Molecular in the identification of some early flowering Curcuma L. (Zingiberaceae) species. Ann. of Bot. 84: 529-534.
Kuehny, JS., Sarmiento MJ, Branch PC 2002. Cultural Studies in Ornamental Ginger., pp. 477-482. In: Trends in new crops and new uses. ASHS Press, Alexandria, VA.
Lawlor, G., DW Lawlor. 1995. Light. pp. 546-629. In: W. David (eds). Plant physiology. Springer-Verlag. Berlin.
Ohashi, Y., N. Nakayama, H. Saneoka and K. Fujita. 2006. Effects of drought stress on photosynthetic gas exchange, chlorophyll fluorescence and stem diameter of soybean plants. Biologia plantarum. 50(1): 138-141.
Ohtake, N., S. Ruamrungsri, S. Ito, K. Sueyoshi and T. Ohyama. 2006. Effect of nitrogen supply on nitrogen and carbohydrate constituent accumulation in rhizomes and storage roots of Curcuma alismatifolia Gagnep., Soil. Sci. Plant Nutr. 52(6):711-716
Ohyama, T., Ikarashi T, Baba A 1985. Nitrogen accumulation the root of tulip plants (Tulip gesneriana). Soil. Sci. Plant Nutr. 31: 581-588.
Ohyamm, T., I. Michiaki, K. Kobayashi, S. Araki, S. Yasuyoshi, O. Sasaki, T. Yamazaki, K. Soyama, R. Tanemura, Y. Mizuno and T. Ikarashi. 1991. Analytical procedures of N, P, K contents in plant and manure materials using H2SO4-H2O2 Kjeldahl digestion method. Bull. Facul. Agric. Niigata Univ. 43: 111-120.
Ruamrungsri, S., N. Ohtake, K. Sueyoshi, C. Suwanthada, P. Apavatjrut and T. Ohyama. 2001. Changes in nitrogenous compounds, carbohydrates and abscisic acid in Curcuma alismatifolia Gagnep. during dormancy. J. Hort. Sci. Biotech. 76: 48-51.
Ruamrungsri, S., J. Uthai-butra, O. Wichailux, N. Ohtake, K. Sueyoshi and T. Ohyama. 2005. Effect of night break treatments on off-season flowering of Curcuma alismatifolia Gagnep. pp. 37-38. In: The 1st International Symposium on Food Production and Environmental Conservation in East Asia. Niigata University, Niigata. Japan.
Shanmugam, A. and S. Muthuswamy. 1974. Influence of photoperiod and growth regulators on the nutrient status of chrysanthemum. Indian J. of Hort. 31(2):186-193.