ศักยภาพของศูนย์ข้าวชุมชนในการพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง ด้านเมล็ดพันธุ์: กรณีศึกษา จังหวัดพะเยา

Main Article Content

จงรักษ์ มูลเฟย
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ
พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ
รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์

บทคัดย่อ

การขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดีใช้อย่างต่อเนื่องของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตเฉลี่ยของข้าวในประเทศไทยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ภาครัฐโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้แก้ปัญหาโดยการผลักดันให้เกิดโครงการผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดีที่เป็นของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชนขึ้นทั่วประเทศ ที่เรียกว่า “ศูนย์ข้าวชุมชน” เอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ การจัดตั้ง กระบวนการทำงาน และศักยภาพของศูนย์ข้าวชุมชนในการพัฒนาสู่การพึ่งตนเองด้านเมล็ดพันธุ์ โดยใช้ จ.พะเยา เป็นกรณีศึกษา วิธีการประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ การสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึกศูนย์ข้าวชุมชน จำนวน 33 แห่ง รวมทั้งจัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้นำศูนย์ข้าวชุมชนดังกล่าว 1 ครั้ง ระยะเวลาดำเนินการวิจัยอยู่ในช่วง ธันวาคม 2548 – สิงหาคม 2549


ศูนย์ข้าวชุมชนส่วนใหญ่ก่อตั้งขึ้นระหว่างปี 2544-45 และมีจำนวนหนึ่งที่ได้ปิดตัวเองไปหลังการสนับสนุนจากภาครัฐสิ้นสุดลง พบที่ยังเหลือในปัจจุบัน 33 ศูนย์ กระจายอยู่ทั้ง 9 อำเภอของ จ.พะเยา มีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อให้บริการจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนแก่สมาชิก เกษตรกรในชุมชน และพื้นที่ใกล้เคียง ด้วยการผลิตเมล็ดพันธุ์ขยายและเมล็ดพันธุ์จำหน่าย ร้อยละ 86.21 และ 13.79 ตามลำดับ เป็นข้าว 3 พันธุ์ ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105  กข6 และ กข15 ร้อยละ 51.35  27.03 และ 21.62 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ศูนย์ข้าวชุมชนยังไม่สามารถพึ่งตนเองด้านเมล็ดพันธุ์คุณภาพได้ แม้จะประเมินแล้วว่ามีศักยภาพดังกล่าว การขาดการสนับสนุนจากภาครัฐด้านการรับรองเมล็ดพันธุ์และการจัดการตลาด ทำให้ศูนย์ข้าวชุมชนอ่อนแอลง ศูนย์ข้าวชุมชนที่เข้มแข็งจำนวนหนึ่งที่พบ จึงได้นำมาใช้เป็นบรรทัดฐานในการยกระดับศูนย์ข้าวชุมชนที่เหลือต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร ชินะวงศ์. 2548. ใช้ปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน: ลดต้นทุน-เพิ่มผลผลิต-เพิ่มรายได้. หน้า 119-114. ใน: งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น สื่อความหมายผ่านฐานคิดและประสบการณ์ (สรุปภาพรวม 6 ปี งานวิจัยเพื่อ
ท้องถิ่น: ตุลาคม 2541-กันยายน 2547). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), เชียงใหม่.
กรมการข้าว. 2549. องค์ความรู้เรื่องข้าว: การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.ricethailand.go.th/data_003/rice_xx2-03_ricetech0003.html (11 กันยายน 2549).
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ และจงรักษ์ มูลเฟย. 2549. ระบบสนับสนุนการวางแผนจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรและบริการ ระยะที่ 2 ภาคเหนือตอนบน: ความเสี่ยงและการลดความเสี่ยงเชิงชีวภาพทางเกษตร ฉบับที่ 2. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 183 หน้า
มนตรี กล้าขาย. 2547. ศูนย์ข้าวชุมชน: กรอบความคิดการสร้างเครือข่าย. (ระบบออนไลน์). แหล่ง ข้อมูล: http://edoae.doae.go.th/All_rice.html (9 พฤษภาคม 2549).
วรวิทย์ พาณิชพัฒน์. 2546. การปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์ข้าว. หน้า 239-267. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร. 2549. การกำหนดมาตรฐานศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http:// pichit.doae.go.th/107_17.htm (18 ธันวาคม 2549)
สำนักงานเกษตรอำเภอแปลงยาว. 2549. โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://chachoen gsao.doae.go.th/plaengyao/ricecenter.htm (9 พฤษภาคม 2549).
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2549 สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี2547 . (ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/statistic/ yearbook47/Section1/sec1table6.pdf (15 พฤษภาคม 2549).
สุฤชัย คล้ายเชียงราก. 2549. ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.doae.go.th/library/html/detail/rice01/rice2.htm (19 ธันวาคม 2549).
อัครินทร์ ท้วมขำ. 2549. ปัญหาข้าววัชพืช และเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพต่ำ. น.ส.พ.กสิกร 79(4): 72-81.
FAO. 2006. FAOSTAT Agriculture. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://faostat.fao.org/faostat/ servlet/XteServlet3?Areas=%3E801&Items=1946&Elements=91&Years=2004&Format=Table&Xaxis=Years&Yaxis=Countries&Aggregate=&Calculate=&Domain=SUA&ItemTypes=Trade.CropsLivestockProducts&language=EN (16 พฤษภาคม 2549).