การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านชีวภาพของระบบ การผลิตข้าวใน จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
จังหวัดพะเยาเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิเชิงพาณิชย์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนบน มีพื้นที่ปลูกมากเป็นลำดับสองรองจากจังหวัดเชียงราย แต่ผลผลิตเฉลี่ยของจังหวัดกลับต่ำเพียง 453 กก./ไร่ เท่านั้น ด้วยปัญหาหลายประการ รวมทั้งศัตรูพืช งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านชีวภาพในระบบการผลิตข้าวนาสวนของจังหวัดพะเยา สำหรับวิธีการประกอบด้วย การสำรวจและสอบถามเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จาก 7 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ จำนวน 632 คน และเกษตรกรผู้รู้จากศูนย์ข้าวชุมชนอีก 36 คน (ศูนย์) รวมทั้งจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกษตรกรผู้รู้ข้าวจากศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อระดมความคิดกำหนดเกณฑ์การประเมินพร้อมร่วมกันวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านชีวภาพทางเกษตร ผลจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างมีส่วนร่วมด้านชีวภาพทางเกษตร พบว่า สัตว์ศัตรูพืช สำคัญที่สุด สอดคล้องกับข้อมูลจากการสำรวจที่มีค่าความเสี่ยงสูงสุด ร้อยละ 26.7 พบกระจาย ร้อยละ 32.4 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด รองลงมาเป็น โรคพืช วัชพืช และแมลงศัตรูพืช สำหรับสัตว์ศัตรูพืชที่สำคัญยิ่ง คือ ปูนา และ หอยเชอรี่ มีความเสี่ยงสูง ร้อยละ 41.6 และ 32.6 ตามลำดับ พบกระจาย ร้อยละ 52.5 และ 39.3 ของพื้นที่ปลูก ตามลำดับ สร้างความเสียหาย ร้อยละ 13.8 และ 11.6 ของผลผลิต โรคไหม้จัดเป็นโรคที่สำคัญที่สุดมีความเสี่ยงสูงถึง ร้อยละ 30.3 พบกระจาย ร้อยละ 36.0 ของพื้นที่ปลูก สร้างความเสียหาย ร้อยละ 18.1 ของผลผลิต แมลงบั่วจัดเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญที่สุด เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงถึง ร้อยละ 25.8 พบกระจายร้อยละ 27.9 ของพื้นที่ปลูก และสร้างความเสียหายร้อยละ 13.6 ของผลผลิต
Article Details
References
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ และ จงรักษ์ มูลเฟย. 2549. รายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ 2 โครงการวิจัย ระบบสนับสนุนการวางแผนการจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรและบริการ ระยะที่ 2 ภาคเหนือตอนบน: ความเสี่ยงและการลดความเสี่ยงเชิงชีวภาพทางเกษตร. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 183 หน้า.
เบญจพรรณ เอกะสิงห์ กมล งามสมสุข กุศล ทองงาม ศุภกิจ สินไชยกุล และ วราภรณ์ งามสมสุข. 2549. ความเสี่ยงและวิธีประเมินความเสี่ยงในภาคเกษตรจากทัศนคติของเกษตรกร. หน้า 76-86. ใน: รายงานการประชุมวิชาการศวพก. ปี 2549. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วันที่ 22-23 กันยายน 2549 ณ โรงแรมกรีนเลค รีสอร์ท, เชียงใหม่.
ปริศนา หาญวิริยะพันธุ์. 2544. ข้าวนาสวนพันธุ์ดีสำหรับภาคเหนือตอนบน. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร, เชียงใหม่. 35 หน้า.
วัชระ ภูรีวิโรจน์กุล. 2548. ประวัติและความสำคัญของข้าว. น. 1-5. ใน: ข้าว. เอกสารวิชาการ ลำดับที่ 18/2547 กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
วันทนา ศรีรัตนศักดิ์ และ สุวัฒน์ รวยอารีย์. 2547. แมลงศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด. น. 77-94. ใน: ข้าว. เอกสารวิชาการ ลำดับที่ 18/2547 กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
ศริณนา ชูธรรมธัช วิภา หงษ์ตระกูล สมศักดิ์ ทองดีแท้ สมพงษ์ พงษ์ประเสริฐ วาสนา พันธุ์เพ็ง ยุวดี ยิ่งวิวัฒนพงษ์ วาสนา อินแถลง และ กัมปนาท มุขดี. 2534. การสำรวจวัชพืชในนาข้าวเกษตรกร เขตศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี. น. 419-439. ใน: ผลงานวิจัยประจำปี 2534 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี เล่ม 1. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2549. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2547. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.oae.go.th/statistic/ yearbook47/Section1/sec1table6.pdf (15 พฤษภาคม 2549).
เอกสงวน ชูวิสิฐกุล. 2544. เทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดี. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 137 หน้า.
เอี่ยม ทองดี. 2538. สืบสาวราวเรื่อง..จากวัฒนธรรมข้าวสู่ม๊อบข้าว และอนาคตของชาวนา. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.thaitopic. com/mag/soc/khaw.htm (6 กันยายน 2549).
Radanachaless, T. and J.F. Maxwell. 1997. List of weeds reported in Thailand. Thai Studies in Biodiversity No.1: 1-286.
Rice, W.C. 2006. Rice pests. (Online). Available: http://www.ars.usda.gov/research/publications/publications.htm?SEQ_NO_115=107635 (May 23, 2006).