การพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรเพื่อการผลิตไม้ผลคุณภาพส่งออกตามแนวทางปฏิบัติ “โรงเรียนเกษตรกร”

Main Article Content

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ
พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ

บทคัดย่อ

กรณีศึกษานี้ได้ชี้ให้เห็นว่า การเป็นชาวสวนไม้ผลเพื่อการส่งออกนั้น เกษตรกรจำเป็นต้องรวมตัวกันและปฏิบัติการในระดับกลุ่ม พร้อมดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อทำกลุ่มให้เข้มแข็ง จากประสบการณ์สองปีของชมรมผู้ปลูกมะม่วง จังหวัดเชียงใหม่ ได้แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่น่าพอใจของการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร


ประเทศไทยนับว่ามีศักยภาพในการแข่งขันสูง สำหรับการส่งออกไม้ผลเขตร้อนไปยังตลาดต่างประเทศ แต่เกษตรกรผู้ผลิตยังต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอีกหลายขั้นตอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เอกสารงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบายถึงกระบวนการกลุ่มที่ได้กำหนดขึ้นโดยเกษตรกร ผู้ซึ่งตั้งใจผลิตไม้ผลให้ได้คุณภาพตรงตามมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้าทั้งหลาย กรณีศึกษานี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างความเข้มแข็งให้กับสมาชิกของกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย ซึ่งเป็นกิจกรรมเชิงบูรณาการที่เกิดจากความเห็นพ้องของสมาชิกทั้งหมด


กลุ่มเกษตรกรที่มีสมาชิกทั้งสิ้น 60 คน จากพื้นที่ 3 อำเภอของ จ. เชียงใหม่ ได้แก่ อ. แม่แตง อ. เชียงดาว และ  อ.ไชยปราการ เห็นสอดคล้องกันถึงโอกาสในการผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น จึงได้รวมตัวกันเมื่อ กันยายน 2547 และต่อมาได้ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรเป็น “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มการตลาดผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก จ.เชียงใหม่” (ชมรมผู้ปลูกมะม่วงจังหวัดเชียงใหม่) ภายในกลุ่มใหญ่นี้ มีสมาชิกที่เป็นแกนนำจำนวน 10 คน ที่เรียกตนเองว่า “กลุ่มการตลาด” ได้เริ่มต้นรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการที่จำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพของสมาชิก


ในช่วงเวลา 2 ปี ของการพบปะกันอย่างสม่ำเสมอของสมาชิก กลุ่มได้ดำเนินกิจกรรมชุดกระบวนการเรียนรู้ดังต่อไปนี้ 1) สร้างความเข้าใจในขั้นตอนที่ซับซ้อนของกระบวนการส่งออกไม้ผล ที่สมาชิกทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติตาม 2) สร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของกลุ่มที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ว่าจำเป็นต้องทำให้เป็นที่รู้จัก และได้รับการยอมรับ เพื่อสร้างอำนาจต่อรองทั้งด้านการผลิตและการตลาด 3) เรียนรู้และทัศนศึกษายังกลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น เช่น “ชมรมมะม่วงพร้าว” จ. เชียงใหม่ 4) จัดทำฐานข้อมูลของแต่ละสวนที่ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก 5) แบ่งหน้าที่กันเป็นกลุ่มย่อยเพื่อช่วยดูแล ด้านการผลิต การตลาด และการสร้างความเข้มแข็งให้กับสมาชิก ตามแนวทาง “โรงเรียนเกษตรกร” 6) ยกระดับองค์กรโดยส่งเสริมให้มีกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น การสร้างพันธมิตรกับกลุ่มผู้ผลิตมะม่วงและกลุ่มผู้ส่งออกอื่น ปรับปรุงวิธีปฏิบัติในสวนเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพ การดูแลหลังการเก็บเกี่ยวและการทำมาตรฐานคุณภาพเพื่อการส่งออก การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยในเรื่องการส่งออกผักและผลไม้ไปยังตลาดญี่ปุ่นและตลาดสหภาพยุโรป รวมทั้งสถานการณ์การผลิตของประเทศที่เป็นคู่แข่งทางการค้า และ 7) การจัดการองค์ความรู้ โดยการสื่อสารและบูรณาการองค์ความรู้เชิงปฏิบัติ กับกลุ่มผู้ผลิตมะม่วงที่ประสบความสำเร็จในการส่งออก จาก อ. พร้าว จ.เชียงใหม่ อ. บางคล้า จ. ฉะเชิงเทรา และ อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา ทำให้องค์ความรู้เชิงปฏิบัติที่แม่นยำในการผลิตไม้ผลคุณภาพได้รับการประมวลขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกัญญา อักษรเนียม. 2549. ตามติดฟิล์มบรรจุภัณฑ์แอคทีฟ หนึ่งในนวัตกรรมการยืดอายุผัก ผลไม้สด. ว.เคหการเกษตร 30(10): 171-176.
กรมควบคุมมลพิษ. 2549. โรงเรียนเกษตรกร ความสำเร็จของการจัดการสิ่งแวดล้อมในไร่นา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://pcdv1.pcd.go. th/Information/Success/School.htm (24 สิงหาคม 2549).
กรมวิชาการเกษตร. 2545. เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับมะม่วง. เกษตรดีที่เหมาะสม ลำดับที่ 2. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 26 หน้า.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2547. เอกสารวิชาการ การผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกญี่ปุ่น. สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 42 หน้า.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2549. โรงเรียนเกษตรกร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.doae.go. th/LIBRARY/html/detail/farmerschool/index.htm (10 สิงหาคม 2549).
กาญจนา สุทธิกุล. 2548. พันธุ์พืช เทคโนโลยี และการจัดการพืชสวนในไต้หวัน. ห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรเกษตรการตลาดและโฆษณา, กรุงเทพฯ. 154 หน้า.
กาญจนา สุทธิกุล. 2549. ได้เวลาเปิดตัวชาวสวนมะม่วงมืออาชีพแห่ง ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา. ว.เคหการเกษตร 30(5): 142-149.
กาญจนา สุทธิกุล. 2550. อุตสาหกรรมมะม่วงฟิลิปปินส์ กับการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าครั้งยิ่งใหญ่. ว.เคหการเกษตร 31(1): 83-88.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ และ จงรักษ์ มูลเฟย. 2548. ระบบสนับสนุนการวางแผนจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรและบริการ ระยะที่ 1 ภาคเหนือตอนบน : องค์ความรู้และยุทธศาสตร์ในระบบการผลิตไม้ผล. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 435 หน้า.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ. 2549. แนวทางการพัฒนาระบบการผลิตมะม่วงอย่างยั่งยืนเชิงบูรณาการในภาคเหนือ. วารสารเกษตร 22(3): 267-277.
นลินี โหมาศวิน. 2545. การส่งออกมะม่วงของไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.phtnet.org/ postech/web/mango/pdf/mango_export.pdf (15 สิงหาคม 2549).
นิรนาม. 2550. เสียงจากผู้ส่งออกผักผลไม้. ว.เคหการเกษตร 31(1): 103-106.
พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ. 2548. ความมั่นคง ความปลอดภัย และอธิปไตยของระบบอาหารกับการเกษตรไทย. น. 94-109. ใน: ระบบเกษตรกับความยั่งยืนของสังคมเกษตร: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สุปราณี อิ่มพิทักษ์. 2549. การพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://203.146.227.8/thai/CSEC_ Web/file%20data/is_4419.pdf#search=%22Japan%20mango%20import%20conditions%22 (23 สิงหาคม 2549).
Gallagher, K. 1999. Farmers Field Schools (FFS): A group extension process based on adult non-formal education methods. (Online). Available: http://www.farmerfieldschool.net/ document_en/FFS_GUIDe.doc (14 August 2006).
Gallagher, K. 2003. Fundamental elements of a farmer field school. (Online). Available: http://www.farmerfieldschool.net/document_en/05_06.pdf (14 August 2006).
Nguyen, D.L. 2006. Current difficulties and solutions for enhancing production and export of Vietnamese fruit. (Online). Available: http:// www.unapcaem.org/Activities%20Files/A22/p33_VietNamfruit.pdf (13 August 2006).
Pimbert, M. 2004. A community approach to tackling pests. (Online). Available: http://www.id21. org/id21ext/r2mf1g1.html (22 August 2006).
Postharvest Technology Institute. 2007. Thai mango-Competitiveness, supply features and EU export opportunities. Postharvest Technology Institute. Chiang Mai University, Chiang Mai. 86 pp.