การวิเคราะห์พันธุกรรมของไหมพื้นเมืองพันธุ์นางน้อย ศรีสะเกษ 1 โดยเทคนิค RAPD-PCR

Main Article Content

จารุวรรณ จันทรา
จิราพร ตยุติวุฒิกุล
อังสนา อัครพิศาล
ทิพรรณี เสนะวงศ์
วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ

บทคัดย่อ

ไหมพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ 1 เป็นไหมไทยพื้นเมืองพันธุ์หนึ่งที่ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร และมีการแพร่ขยายพันธุ์ไปยังสถานีทดลองหม่อนไหมอื่น ๆ ทั่วประเทศไทยอย่างรวดเร็ว เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงอย่างกว้างขวาง  ทำให้มีปัญหาความไม่บริสุทธิ์ภายในสายพันธุ์เกิดขึ้น ดังนั้นจึงได้ดำเนินการวิเคราะห์ลักษณะทางพันธุกรรมของไหมพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ 1 ขึ้น ด้วยเทคนิค Random Amplified Polymorphic DNA-Polymerase Chain Reaction (RAPD-PCR) เพื่อศึกษาความแปรปรวนของไหมพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ 1 ที่กระจายอยู่ตามศูนย์วิจัยหรือสถานีทดลองหม่อนไหมต่าง ๆ ได้แก่ เชียงใหม่ มุกดาหาร หนองคาย ร้อยเอ็ด สกลนคร ศรีสะเกษ  อุบลราชธานี  และอุดรธานี  โดยใช้ไหมพื้นเมือง 3 พันธุ์ คือ เขียวสกล นางลาย และนางเหลือง และไหมป่า 1 พันธุ์ คือ Samia  ricini Boisduval  เป็นตัวเปรียบเทียบนอกกลุ่ม ดีเอ็นเอจากหนอนไหมสามารถสกัดได้จากเลือด และจากการใช้ RAPD ไพรเมอร์  จำนวน 18   ไพรเมอร์ เพื่อเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอแบบสุ่ม แล้วตรวจสอบแบบลายพิมพ์ดีเอ็นเอด้วยอิเล็คโตรโฟรีซีสในอะกาโรสเจล และ โพลีอะคริลาไมด์เจล ได้แถบดีเอ็นเอที่มีความหลากหลาย พบว่าไพรเมอร์ OPO-07 และ OPD-11  มีแถบดีเอ็นเอที่เฉพาะเจาะจงขนาด 430 และ 100 คู่เบส ตามลำดับ สามารถใช้จำแนกความแตกต่างระหว่างไหมพันธุ์นางน้อยอุบลที่ได้จากร้อยเอ็ดออกจากไหมพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษที่มาจากแหล่งอื่น ๆ ได้ และไพรเมอร์ OPN-02 พบแถบดีเอ็นเอจำเพาะ     2 แถบ มีขนาด 985 และ 434 คู่เบส โดยแถบแรกสามารถใช้จำแนกไหมพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษจากหนองคายออกจากไหมพันธุ์นางน้อยจากแหล่งอื่น ๆ ได้ และแถบดีเอ็นที่สองมีขนาดเล็กกว่าสามารถใช้จำแนกไหมพันธุ์นางน้อยได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนางน้อยศรีสะเกษและกลุ่มนางน้อยอุบลได้ ผลการวิเคราะห์ dendrogram จากการรวมข้อมูลของทั้ง 3 ไพรเมอร์พบว่า ไหมพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับไหมนางน้อยที่ได้จากอุบลราชธานีมาก และมีแนวโน้มของการแยกตัวได้ไม่นาน ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการคัดเลือกในระหว่างการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ของนางน้อยศรีสะเกษ 1 ของศูนย์หรือสถานีวิจัยหม่อนไหมในสถานที่ต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ เรืองฤทธิ์. 2545. การเปรียบเทียบลายพิมพ์ดีเอ็นเอในไมโตคอนเดรียเพื่อการจำแนกพันธุ์ไหมไทยพื้นเมือง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 59 หน้า.

ประทีป มีศิลป์, จิราพร ตยุติวุฒิกุล, ทิพรรณี เสนะวงศ์, พงศธร ธรรมถนอม, เพทาย พงษ์เพียจันทร์, ศานิต รัตนภุมมะ และ สุธาทิพย์ ห้องทองแดง. 2545. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของไหมชนิดฟักออกตลอดปีในประเทศไทย. หน้า 103-

ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการหม่อนไหมประจำปี 2545. สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

สมโพธิ อัครพันธุ์. 2539. การพัฒนาหม่อนไหมในประเทศไทย. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ. 181 หน้า.

สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. 2545. จีโนมและเครื่องหมายดีเอ็นเอ: ปฏิบัติการอาร์เอพีดีและเอเอฟแอลพี. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 116 หน้า.

Hadrys, H., M. Balick and B. Schierwater. 1992. Applications of random amplified polymorphic DNA (RAPD) in molecular ecology. Molecular Ecology 1(1): 55-63.

Hoy, M. A. 2003. Insect Molecular Genetics: An Introduction to Principles and Application. 2nd ed. Acadamic Press, San Diego. 544 pp.

Muyan, G., Z. Zhenghong and C. Yuanlin. 2001. A study on molecular phylogenetics and molecular marker of species of silkworms. Hereditas 23(1): 25-28.

Nagaraja, G. M. and J. Nagaraju. 1995. Genome fingerprinting of the silkworm, Bombyx mori, using random arbitrary primers. Electrophoresis 16(9): 1633-1638.

Promboon, A., T. Shimada, H. Fujiwara and M. Kobayashi. 1995. Linkage map of random amplified polymorphic DNAs (RAPDs) in the silkworm, Bombyx mori. Genetical Research 66(1): 1-7.

Sambrook, J. and D. W. Russell. 2001. Molecular Cloning: A laboratory Manual. 3rd ed. Cold Spring Harbor Laboratory Press, Cold Spring Harbor, New York.