ประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากพืชในการควบคุมโรคถอดฝักดาบของข้าวในระยะต้นกล้า

Main Article Content

สายชล โนชัย
สมบัติ ศรีชูวงศ์

บทคัดย่อ

จากการตรวจหาเชื้อรา Fusarium moniliforme สาเหตุโรคถอดฝักดาบ จากเมล็ดข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดยวิธีเพาะบนกระดาษชื้น พบเชื้อรา F. moniliforme ร้อยละ 13.50 ผลการทดสอบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากพืช 5 ชนิด ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา F. moniliforme โดยทดสอบบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ผสมน้ำมันหอมระเหย พบว่าน้ำมันจากกานพลู  อบเชยและเจอราเนียมที่ความเข้มข้น 400 500 และ 1,400 ppm  สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยของเชื้อราสาเหตุได้ 100% และเมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากพืชทั้ง 3 ชนิดไปแช่เมล็ดเพื่อทดสอบประสิทธิภาพต่อความงอกของเมล็ด การควบคุมโรคและการเจริญเติบโตของต้นกล้า พบว่ามีเพียงน้ำมันหอมระเหยจากกานพลูเท่านั้นที่ให้ผลดีที่สุด โดยสามารถลดเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อของเมล็ด และช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด  ความงอกในแปลง ความยาวลำต้น ความยาวราก น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งของต้นกล้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม สร้อยทอง. 2532. การใช้ Chaetomium cupreum ในการควบคุมโรคใบไหม้ของข้าวโพดโดยชีววีธี. วารสารโรคพืช 9(1): 28-33.

สุคนธ์ทิพย์ สมบัติ. 2543. ผลของสารสกัดจากพืชสมุนไพรในการควบคุมโรคใบจุดออลเทอนาเรียของกะหล่ำปลี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 95 หน้า.

สมคิด ดิสภาพร. 2532. ชาวนาปราบโรคข้าว. กลุ่มงานวิจัยโรคข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพ. 116 หน้า.

อนงค์นาถ แต่เชื้อสาย. 2547. การถ่ายทอดโรค ความสามารถในการทำให้เกิดโรคและการป้องกันกำจัดของ Alternaria brassicicola ที่ติดมากับเมล็ดกะหล่ำปลี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 108 หน้า.

Basilico, M.Z. and J.C. Basilico. 1999. Inhibitory effects of some spice essential oils on Aspergillus ochraceus NRRL 3174 growth and ochratoxin A production. Letters in Applied Microbiology 29(4): 238-241.

Booth, C. 1971. The Genus Fusarium. Commonwealth Mycological Institute, Kew. 58 pp.

Dorman, H.J.D. and S.G. Deans. 2000. Antimicrobial agents from plants: Antimicrobial activity of plant volatile oils. Journal of Applied Microbiology 88(2): 308-316.

Hammer, K.A., C.F. Carson and T.V. Riley. 1999. Antimicrobial activity of essential oils and other plant extracts. Journal of Applied Microbiology 86(6): 985-990.

International Seed Testing Association. 1999. International Rules for Seed Testing; Annexes 1976. Seed Sciences and Technology 4: 3-49.

Ogawa, K. 1988. Damage by “bakanae” disease and its chemical control. Japan Pesticide Information 52:13-15.

Ou, S.H. 1985. Rice Diseases. 2nd ed, Commonwealth Mycological Institute, Kew. 380 pp.