ผลของไนโตรเจนและเหล็กคีเลทต่อการเจริญเติบโตของผักกาดขาวปลีญี่ปุ่นในระบบไฮโดรโพนิกส์แบบเทคนิค การให้สารละลายธาตุอาหารไหลผ่านรากเป็นฟิล์มบาง

Main Article Content

ธีรพล พรสวัสดิ์ชัย
หทัย กฤษดาวาณิชย์
โสระยา ร่วมรังษี

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของไนโตรเจนและเหล็กคีเลทต่อการเจริญเติบโตของผักกาดขาวปลีญี่ปุ่น (Brassica compestris L. ssp. pekinensis (Lour.) Olsson cv. Daitokyobekana 6083) ในระบบไฮโดรโพนิกแบบ NFT พบว่า ความเข้มข้นของไนโตรเจนที่ 100, 150 และ 200 มก./ล. ไม่มีอิทธิพลต่อจำนวนใบของต้นผักกาดขาวปลีญี่ปุ่น  แต่การเพิ่มขึ้นของไนโตรเจนส่งผลให้มีขนาดของใบ ขนาดลำต้น ความสูง และน้ำหนักสดเพิ่มมากขึ้น ขณะที่เหล็กคีเลทความเข้มข้น 2.6 และ 10.0 มก./ล. ไม่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต   นอกจากนี้ต้นผักกาดขาวปลีญี่ปุ่นที่ทดสอบไม่ปรากฏอาการใบซีดจางเหมือนที่พบในต้นจากชุดควบคุม โดยพบว่ามีปริมาณคลอโรฟิลล์สูงกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  อย่างไรก็ตามพบว่าผักกาดขาวปลีญี่ปุ่นที่ปลูกในสารละลายที่มีไนโตรเจนความเข้มข้น 200 มก./ล. จะมีรอยแผลสีน้ำตาลบริเวณก้านใบซึ่งเกิดจากการแตกของเซลล์ชั้นผิว  จากการปลูกเลี้ยงนาน 5 สัปดาห์ พบว่าสามารถปลูกต้นผักกาดขาวปลีญี่ปุ่นให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีโดยใช้สารละลายสูตร TP2 ซึ่งมีความเข้มข้นของไนโตรเจน 150 มก./ล. และเหล็กคีเลท  2.6 มก./ล.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปิยวรรณ คงสาคร. 2549. สารพิษปนเปื้อนในอาหาร. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://www.tei. or.th/PliBai/th plibai45 1 2.htm (21 สิงหาคม 2549).

มุกดา สุขสวัสดิ์. 2544. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 344 หน้า.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2543. ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 424 หน้า.

สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2544. สรีรวิทยาของพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 237 หน้า.

สมาคมคนน่ารัก. 2549. ผักกาดขาว : เจ้าแห่งเส้นใยอาหารใจ. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http//.www.khonnaruk.com/html/verandah/herb/h_240.html (21 สิงหาคม 2549).

Marschner, H. 1989. Mineral Nutrition of Higher Plants. 3rd ed. Academic Press, London. 674 pp.

Witham, F. M., D. F. Blaydes and R.M. Devlin. 1971. Experimentals in Plant Physiology. D. Van Nostrand Co., New York. 245 pp.