จำนวนโครโมโซมของงาที่ผ่านการฉายรังสีด้วย วิธีการเพิ่มชุดโครโมโซม โดยใช้โคลชิซิน

Main Article Content

ณัฐชานันท์ พันธ์อิ่ม
ณัฐา โพธาภรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาโครโมโซมของงาที่ผ่านการฉายรังสีแล้วนำไปเพิ่มชุดโครโมโซม  โดยใช้สารละลายโคลชิซินที่ความเข้มข้น 0.5 % (c1) w/w  และได้มีการทดลองหาวิธีการนับจำนวนโครโมโซมที่เหมาะสม พบว่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บปลายรากงา  คือ 08:30 – 09:30 น. ระยะเวลาในการหยุดวงชีพของเซลล์โดยแช่ในสารละลาย para-dichlorobenzene (PDB)  นาน 1.5 ชั่วโมง และระยะความยาวนานที่เหมาะสมของการย้อมสีปลายรากด้วยสารละลาย carbol fuchsin  นาน  24 ชั่วโมง ให้ผลดี มีระยะการแบ่งตัวที่สามารถนับจำนวนโครโมโซมได้ สารละลายโคลชิซินไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซมของงาทุกสายพันธุ์ (2n = 2x = 26)  ยกเว้น สายพันธุ์  N1S3c1 ต้นที่ 5  มีจำนวนโครโมโซม 2n =  4x  = 52

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดวงทิพย์ วิทยศักดิ์. 2539. ลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายวิภาควิทยาและเซลวิทยาของว่านสี่ทิศ.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 105 หน้า.

ประภัสสร อารยะกิจเจริญชัย. 2543. การขยายพันธุ์ว่านสี่ทิศ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 110 หน้า.

รุ่งนภา แสนคำ. 2547. ผลของโคลชิซินที่มีต่อลักษณะภายนอกและจำนวนโครโมโซมของงาสายพันธุ์อำเภอปาย. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 34 หน้า.

วัชรี เลิศมงคล. 2542. พืชเศรษฐกิจ. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 471 หน้า.

วิชชุดา รุ่งเรือง. 2537. ผลของโคลชิซินและรังสีแกมมาที่มีต่อการกลายพันธุ์ของหน้าวัวพันธุ์ ‘Double Spathe’ ที่เลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 76 หน้า.