การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะ การเจริญเติบโตในไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชี

Main Article Content

วุฒิชัย เคนไชยวงศ์
มนต์ชัย ดวงจินดา
บัญญัติ เหล่าไพบูลย์
เทวินทร์ วงษ์พระลับ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะการเจริญเติบโตในไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชี  ลักษณะที่ศึกษาได้แก่ น้ำหนักแรกเกิด (Wt0), น้ำหนักตัวที่อายุ 4, 8, 12, 16, 20, 24, 28, และ 32 สัปดาห์ (Wt4, Wt8, Wt12, Wt16, Wt20, Wt24, Wt28, และ Wt32), ความกว้างอกที่ 16 สัปดาห์ (Br16), และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย (ADG0-16) ใช้ข้อมูลไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชีรวมทุกลักษณะ 33,722 บันทึก ซึ่งรวบรวมตั้งแต่ปี 2546-2549 ประเมินค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมด้วยวิธี REML โดยโปรแกรม BLUPF90-Chicken PAK 2.5  ผลการศึกษาพบว่า ค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะ  Wt16 และ Br16 มีค่าเท่ากับ 0.17 และ 0.13 ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม (rG) ระหว่าง Wt16 กับ Br16 มีค่าบวกในระดับสูงคือ  0.82 ดังนั้นการคัดเลือกให้ Wt16 สูงขึ้นจะส่งผลดีต่อลักษณะ Br16 ส่วนค่า r ระหว่างน้ำหนักตัวตั้งแต่ 0-32 สัปดาห์ พบว่ามีค่าอยู่ในช่วง 0.18-0.99 จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสำหรับประชากรไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชี การปรับปรุงลักษณะน้ำหนักเมื่อเป็นหนุ่มเป็นสาว (32 สัปดาห์) สามารถคัดเลือกโดยใช้ลักษณะน้ำหนักตัวที่อายุตั้งแต่ 20 สัปดาห์ขึ้นไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบำรุงพันธุ์สัตว์. 2549. โครงการการสร้างฝูงพ่อ-แม่พันธุ์ไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ 4 สายพันธุ์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.dld.go.th/ breeding/r/pdf/chick_4_na_type_project.pdf (10 มีนาคม 2550).
จเร กลิ่นกล่อม และดรุณี ณ รังษี. 2549. 3. การสร้างฝูงพ่อแม่พันธุ์ไก่พื้นเมืองพันธุ์แดง: 3.5 ค่าอัตราพันธุกรรมและลักษณะสัดส่วนร่างกายในไก่พื้นเมืองพันธุ์แดงรุ่นที่ 1 - 3. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.dld.go.th /breeding /r/49/010_hen_1 - 3.pdf (16 กันยายน 2550).
ทวี อบอุ่น, ไสว นามคุณ และอำนวย เลี้ยวธารากุล. 2549. การสร้างฝูงไก่ประดู่หางดำ: 5. ค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะน้ำหนักตัวไก่อายุต่าง ๆ. หน้า 373 - 381. ใน: รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ ครั้งที่ 44 สาขาสัตว์ สาขาสัตวแพทยศาสตร. มหาวิทยาลัยเกษตร-
ศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ธีระชัย ช่อไม้, เฉลิมพล บุญเจือ และอุดมศรี อินทรโชติ. 2550. การสร้างฝูงไก่พื้นเมืองเหลืองหางขาว: 2.สมรรถภาพการผลิตและค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะน้ำหนักตัวของไก่. หน้า 82 - 89. ใน: รายงานการประชุมวิชาการสัตว-ศาสตร์ ครั้งที่ 3. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
บัญญัติ เหล่าไพบูลย์. 2535. การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะการผลิตไข่ของไก่พื้นเมืองและลูกผสม. แก่นเกษตร 20(1): 37 - 43.
ประพฤทธิ์ จงใจภักดิ์, จเร กลิ่นกล่อม และทวีศิลป์ จีนด้วง. 2549. 3. การสร้างฝูงพ่อ-แม่พันธุ์ไก่พื้นเมืองพันธุ์แดง: 3.4. ค่าอัตราพันธุกรรมและคุณค่าการผสมพันธุ์ของลักษณะเศรษฐกิจในไก่พื้นเมือง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.dld. go.th/breeding/r/49/09_hen_ebv.pdf (16 กันยายน 2550).
ศิริพันธ์ โมราถบ, อำนวย เลี้ยวธารากุล และสวัสดิ์ ธรรมบุตร. 2540. การผสมพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ไก่เนื้อพื้นเมืองสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์มหาสารคาม 1: อายุและน้ำหนักเมื่อให้ไข่ฟองแรก. หน้า 100 - 110. ใน: รายงานประมวลเรื่องการประชุมวิชาการปศุสัตว์ ครั้งที่ 15. กรม ปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เชียงใหม่.
ศุภฤกษ์ สายทอง, อำนวย เลี้ยวธารากุล และอุดมศรี อินทรโชติ. 2549. 1.การสร้างฝูงไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่: 1.3 ลักษณะเมื่อเป็นสาวและเมื่อโตเต็มที่ของไก่เพศเมียชั่วอายุที่ 1 และ 2.(ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล: http://www.dld.go.th/lslo_loe/ acrobat/23.pdf (16 กันยายน 2550).
อำนวย เลี้ยวธารากุล, พัชรินทร์ สนธิ์ไพโรจน์ และศิริพันธ์ โมราถบ. 2539. การผสมพันธุ์และการคัดเลือกไก่พื้นเมืองสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์มหาสารคาม 2: สมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงในสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์. วารสารเกษตร 12(1): 55-64.
อำนวย เลี้ยวธารากุล. 2542. อัตราพันธุกรรม สหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม และสหสัมพันธ์ปรากฏสำหรับสมรรถภาพการผลิตก่อนให้ไข่ของไก่พื้นเมือง. วารสารวิชาการปศุสัตว์เขต 5 1(3): 11 - 21.
Aman, N. and W.A. Becker. 1983. Genetic correlations between six-and seven - week-old broilers. Poultry Sci. 62:1918 – 1920.
Duangjinda, M., I. Misztal and S.T. Surata. 2005. BLUPF90 Chicken Pak 2.5. Genetic Evaluation and Simulation Program. Department of Animal and Dairy Science, The University of Georgia and Department of Animal Science, Khon Kaen University.
Prado - Gonzalez, E.A., L. Ramirez-Avila and J. C. Segura-Correa. 2003. Genetic parameters for body weights of Creole chickens from southeastern Mexico using an animal model. Livestock Research for Rural Development 15(1): 18 - 24.
Saatci M., H. Omed and I. Ap Dewi. 2006. Genetic parameters from univariate and bivariate analyses of egg and weight traits in Japanese quail. Poult. Sci. 85: 185 - 190.
SAS. 1998. SAS User’s Guide. Version 6.12. SAS I nsstitute Inc., Cary, NC.