การใช้ความสมดุลธาตุอาหารเพื่อปรับปรุงผลผลิตและคุณภาพของส้มสายน้ำผึ้ง: 4. ผลของอายุกิ่งต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารในกิ่ง

Main Article Content

ภาวินี จันทร์วิจิตร
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ
นันทรัตน์ ศุภกำเนิด

บทคัดย่อ

การทดลองมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความเข้มข้นของธาตุอาหารในกิ่งส้มสายน้ำผึ้งอายุต่าง ๆ กัน เพื่อที่จะหากิ่งที่เหมาะสมสำหรับใช้ประเมินสถานะธาตุอาหารในพืช โดยสุ่มเก็บตัวอย่างกิ่งอายุ 50, 100 และ 200 วัน จากสวนของเกษตรกร อ. ฝาง จ. เชียงใหม่ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จากนั้นวิเคราะห์ความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี และโบรอนในกิ่งที่เก็บมา ผลการศึกษาพบว่าความเข้มข้นของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก แมงกานีส และทองแดงเพิ่มขึ้นเมื่ออายุกิ่งมากขึ้น แล้วกลับลดลงเมื่อกิ่งมีอายุ 200 วัน ส่วนความเข้มข้นของโพแทสเซียม และสังกะสีในกิ่งจะมีความเข้มข้นลดลงเมื่ออายุกิ่งมากขึ้น แต่ความเข้มข้นของโบรอนในกิ่งมีลักษณะตรงกันข้าม ดังนั้นจึงไม่ควรใช้กิ่งเป็นตัวแทนสำหรับการเก็บตัวอย่างพืช เนื่องจากความเข้มข้นของธาตุอาหารในกิ่งมีความแปรปรวนค่อนข้างสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาวินี จันทร์วิจิตร ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และนันทรัตน์ ศุภกำเนิด. 2551ก. การใช้ความสมดุลธาตุอาหารเพื่อ ปรับปรุงผลผลิต และคุณภาพของส้มสายน้ำผึ้ง: 2. การประเมินตำแหน่งใบส้มที่เหมาะสมสำหรับการเก็บตัวอย่างพืชเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช. วารสารเกษตร 24(2): 117-124.

ภาวินี จันทร์วิจิตร ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และนันทรัตน์ ศุภกำเนิด. 2551ข. การใช้ความสมดุลธาตุอาหารเพื่อ ปรับปรุงผลผลิต และคุณภาพของส้มสายน้ำผึ้ง: 3. ผลของพัฒนาการของผลต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบส้มสายน้ำผึ้ง. วารสารเกษตร 25(2): 109-114.

นันทรัตน์ ศุภกำเนิด. 2544. ผลวิเคราะห์ธาตุอาหารในส่วนต่าง ๆ ของต้นลิ้นจี่. วารสารวิชาการเกษตร 19(2): 106-113.

นันทรัตน์ ศุภกำเนิด. 2545. การประเมินความต้องการ และระดับธาตุอาหารของลิ้นจี่โดยการวิเคราะห์พืช.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย, เชียงราย. 68 หน้า.

ยุทธนาเขาสุเมรุ ชิติ ศรีตนทิพย์ และสันติ ช่างเจรจา. 2545. การแก้ไขปัญหาต้นโทรมของลำไย: ความสัมพันธ์ระหว่างระดับธาตุอาหารในดินและต้นลำไยกับการแสดงอาการต้นโทรม. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 146 หน้า.

ศรีสม สุวรรณวงศ์. 2547. การวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 141 หน้า.

อรุณศิริ กำลัง ยงยุทธ โอสถสภา วิสุทธิ์ วีรสาร และจันทร์จรัส วีรสาร. 2546. การวิเคราะห์ใบเพื่อกำหนด แนวทางในการประเมินระดับธาตุอาหารและการใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสมสำหรับลิ้นจี่ที่ปลูกในเขตภาคกลางของประเทศไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 203 หน้า.

Chang, S.S., W.T. Huang, S. Lian and W.L. Wu. 1992. Research on soil testing and leaf diagnosis as guides to fertilization recommendation for citrus orchards in Taiwan. pp. 167-195. In: Annual Research Reports on Soils and Fertilizers No. 81. Provincial Department of Agriculture and Forestry, Taipei, Taiwan R.O.C.

Golomb, A. and E.E. Goldschmidt. 1987. Mineral nutrient balance and impairment of the nitrate reducing system in alternate bearing "Wilking" mandarin trees. Journal of the American Society for Horticultural Science 112: 397-401.

Menzel, C., M.L. Carseldine and D.R. Simpson. 1988. The effect of fruiting status on nutrient composition of litchi (Litchi chinensis Sonn.) during the flowering and fruiting season. Journal of Horticultural Science 63: 547-556.

Menzel, C., G.F. Haydon and D.R. Simpson. 1992a. Mineral nutrient reserves in bearing litchi trees (Litchi chinensis Sonn.). Journal of Horticultural Science 67(2): 149-160.

Menzel, C., M.L. Carseldine, G.F. Haydon and D.R. Simpson. 1992b. A review of existing and proposed new leaf nutrient standards for lychee. Scientia Horticulturae 49: 33-53.

Reuter, D.J. and J.B. Robinson. 1986. Plant Analysis: An Interpretation Manual. Inkata Press, Melbourne. 218 pp.