ผลของการควั่นกิ่งและไฮโดรเจนไซยานาไมด์ต่อการแตกตาของกีวีฟรุตพันธุ์ Bruno (<I>Actinidia deliciosa </I>C. F. Liang et. A. R. Ferguson)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการควั่นกิ่งกีวีฟรุตพันธุ์ Bruno จากกิ่งอายุหนึ่งปีที่มีขนาดสม่ำเสมอจำนวน 8 ตาต่อกิ่งในระยะ ก่อนพักตัวในปี พ.ศ. 2550 และ 2551 โดยใช้สารละลายไฮโดรเจนไซยานาไมด์ความเข้มข้น 4 เปอร์เซ็นต์ฉีดพ่นที่ตา ร่วมด้วยในช่วงก่อนระยะพ้นการพักตัวของตา และการทดลองการควั่นกิ่งโดยไม่ฉีดพ่นสาร ทำการทดลองที่สถานี เกษตรหลวงอินทนนท์และสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โดยวางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วย 5 กรรมวิธี คือ การไม่ควั่นกิ่ง การควั่นกิ่งที่โคนกิ่ง การควั่นกิ่งปีที่แล้ว การควั่นกิ่งเป็นช่วง และการควั่นกิ่งทุกตา พบว่า การควั่นกิ่งทุกวิธีร่วมกับการใช้สารฉีดพ่น สามารถเพิ่มจำนวนตาให้เจริญต่อกิ่งที่ศึกษาได้มากกว่าการควั่นกิ่งเพียง อย่างเดียว ในขณะที่กรรมวิธีการควั่นกิ่งทุกตาช่วยกระตุ้นให้ตาเจริญได้มีจำนวนมากขึ้นแตกต่างจากวิธีอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาตำแหน่งตาที่มีการเจริญพบมากจากตาในบริเวณปลายกิ่งและเกิดได้น้อยลงในตำแหน่ง ถัดมาทางโคนกิ่งแต่ในต้นที่มีความแข็งแรงมีผลต่อการแตกตาบริเวณโคนกิ่งเจริญได้มากขึ้น การเจริญของตาที่เจริญ จากแต่ละตำแหน่งนั้นใช้ระยะเวลาในการพัฒนาไม่แตกต่างกันมากนัก
Article Details
References
สุรินทร์ นิลสำราญจิต. 2543. ไม้ผลเขตหนาว. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 176 หน้า.
Mataa, M., S. Tominaga and I. Kozaki. 1998. The effect of time of girdling on carbohydrate contents and fruiting in Ponkan mandarin (Citrus reticulata Blanco). Scientia Horticulturae 73: 203-211. Subhadrabandhu, S. and J. Rakngan. 1999. Effect of hydrogen cyanamide and time of application on bud breaking and fruit quality of kiwifruit cv. Bruno in Thailand. Thai J. Agric. Sci. 32: 161-170.
Wareing, P. F. and I. D. J. Phillips. 1981. Growth and Differentiation in Plants. Pergamon Press, Oxford. 343 pp.