การตรวจสอบความแปรปรวนทางพันธุกรรมของต้นกล้า ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใบอ่อนของปาล์มน้ำมัน

Main Article Content

ธนวดี พรหมจันทร์
อาสลัน หิเล
สมปอง เตชะโต

บทคัดย่อ

การตรวจสอบความแปรปรวนของต้นกล้าปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacq.) ที่ชักนำจากการเพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง โดยใช้เทคนิคไอโซไซม์ พบว่า อัตราส่วนของชิ้นส่วนพืชต่อบัฟเฟอร์สกัดที่เหมาะสมสำหรับสกัดเอนไซม์จากใบของต้นกล้าปาล์มน้ำมันคือ 1:5 ระบบเอนไซม์เอสเทอเรส เป็นระบบเอนไซม์ที่เหมาะสมที่สุดในการทดสอบความสม่ำเสมอของต้นกล้าปาล์มน้ำมัน โดยสามารถย้อมติดสีเอนไซม์ชัดเจนและได้แถบเอนไซม์สูงสุด 5 แถบ รูปแบบของไอโซไซม์ดังกล่าวไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนการตรวจสอบด้วยเทคนิค RAPD โดยใช้ไพรเมอร์ OPAB-09 และ OPAB-01 ให้ความสม่ำเสมอของแถบดีเอ็นเอสูง ซึ่งแถบที่ได้มีลักษณะเป็น monomorphism จึงสามารถใช้ในการตรวจสอบความแปรปรวนของต้นกล้าทั้งในและนอกหลอดทดลอง ดังนั้น การขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงใบอ่อนจากต้น  ที่ให้ผลผลิตดี สามารถผลิตต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่มีความสม่ำเสมอสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เปรมปรี ณ สงขลา. 2549. ผู้ยิ่งใหญ่แห่งปาล์มน้ำมัน. ว. เคหการเกษตร 11: 76-98.

ธัญญาพร สุสานนท์. 2547. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในหน้าวัว (Anthurium spp.). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 57 หน้า.

วิไลวรรณ โชติเกียรติ และอมรรัตน์ พงศ์ดารา. 2533. การศึกษาโปรตีนและไอโซไซม์ในสารสกัดปาล์มน้ำมันพันธุ์เทเนรา. ว.สงขลานครินทร์ 12(1): 21-28.

สายชล จันมาก. 2547. การศึกษาความแปรปรวนทางพันธุกรรมของแหล่งเชื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacq.) โดยเทคนิคอาร์เอพีดี

(Random Amplified Polymorphic DNA). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 72 หน้า.

สุจินต์ จินายน ประเสริฐ ชิตพงศ์ พรชัย เหลืองอาภาพงศ์ ธีระ เอกสมทราเมษฐ์ และสมปอง เตชะโต. 2530. ภาวะ ปัญหา และแนวทางแก้ไขการขาดแคลนต้นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีในประเทศไทย. ว.สงขลานครินทร์ 9(1): 105-110.

อรอุมา บุญมี. 2550. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยน้ำว้า [Musa (ABB group)] และความแปรปรวนทางพันธุกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 49 หน้า.

Doyle, J.J. and J.L. Doyle. 1990. Isolation of plant DNA from fresh tissue. Focus 12: 13 – 15.

Khaw, C.H. and S.K. Ng. 1999. Agrocom’s proven tissue culture technology for oil palm. Paper

presented at the Special Meeting on Potential of the Oil Palm Industry and Clonal Tissue Cultured Oil Palm Development in South Thailand. 6 November 1999, Meritime Hotel, Krabi, Thailand. 10 pp.

Rival, A., L. Bertrand, T. Beulé, M.C. Combes, P. Trouslot and P. Lashermes. 1998. Suitability of RAPD analysis for the detection of somaclonal variants in oil palm (Elaeis guineensis Jacq.) Plant Breeding 117(1): 73-76.

Toruan-Mathius, N., S. I. I. Bangun. and Maria-Bintang. 2001. Analysis abnormalities of oil palm (Elaeis guineensis Jacq.) from tissue culture by random amplified polymorphic DNA (RAPD). Menara Perkebunan 69(2): 58-70.