การปรับปรุงพันธุ์ต้านทานโรคไวรัสใบหงิกเหลือง ของมะเขือเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศให้ต้านทานโรคไวรัสใบหงิกเหลือง (Tomato Yellow Leaf Curl Virus; TYLCV) โดยใช้วิธีผสมผสานระหว่างการจดบันทึกประวัติ และการผสมกลับระหว่างพันธุ์เอช 24 ซึ่งต้านทานต่อไวรัสใบหงิกเหลืองผสมกับพันธุ์อ่อนแอคือ พันธุ์ซีที 1 และพันธุ์ซีที 2 โดยถ่ายทอดเชื้อด้วยแมลงหวี่ขาวและใช้วิธี sandwich ELISA ในการตรวจวินิจฉัยโรค ในประชากรลูกผสมชั่วที่ 2 (F2) พบว่า ให้ค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรคระดับปานกลางอยู่ระหว่าง 1.58-3.21 และยังมีการกระจายตัวของความต้านทานโรคอยู่ในลูกผสม ชั่วที่ 2 ระดับคะแนน 1 และ 2 มีปริมาณเชื้อไวรัสที่ตรวจพบน้อย ให้ค่าการดูดกลืนแสงอยู่ระหว่าง 0.247-0.2565 ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติจากพันธุ์เอช 24 แต่แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับพันธุ์ซีที 1 พันธุ์ซีที 2 และพันธุ์ควบคุม ซึ่งมีปริมาณไวรัสที่ตรวจพบมาก มีค่าการดูดกลืนแสง คือ 0.3851 1.3825 และ 1.5820 ตามลำดับ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงของอาการโรคกับปริมาณเชื้อไวรัสที่พบในต้นพืช พบว่า ความรุนแรงของอาการโรคมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับปริมาณเชื้อไวรัสที่ตรวจพบในต้นพืช ผลการศึกษา สามารถคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 2 ที่ทนทานต่อไวรัสใบหงิกเหลืองระดับคะแนน 1 ดังนี้ พันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 2 ของซีที1xเอช 24 จำนวน 6 สายพันธุ์ และพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 2 ของซีที2xเอช24 จำนวน 5 สายพันธุ์
Article Details
References
อรประไพ คชนันท์ นุชนาถ วารินทร์ ชาญณรงค์ ศรีภิบาล รัชนี. ฮงประยูร และสุพัฒน์ อรรถธรรม. 2544. การผลิตโมโนโคนอลแอนติบอดีต่อโปรตีนห่อหุ้มอนุภาคไวรัสใบหงิกเหลืองมะเขือเทศและไวรัสในกลุ่ม. หน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านพืช ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 13 หน้า.
อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์. 2544. เจมิไนไวรัสที่เข้าทำลายพืช. หน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านพืช ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร ศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 6 หน้า.
Czosnek, H. and H. Laterrot. 1997. A world wild survey of tomato yellow leaf curl viruses. Arch. Virol 142: 1391-1406.
Hanson, P. M., D. Bernacchi, S. K. Green, S. D. Tanksley, V. Muniyappa, A. S. Padmaja, H. M. Chen, G. Kuo, D. Fang and J. T. Chen. 2000. Mapping a wild tomato introgression associated with tomato yellow leaf curl virus resistance in a cultivated tomato line. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 125(1): 15-20.
Kalloo, G. and M. K. Banerjee. 1990. Transfer of tomato leaf curl virus resistance from Lycopersicon hirsutum f. glabratum to L. esculentum. Plant Breeding 105: 156-159.
Kasrawi, M.A., M.A. Suwwan and A. Mansour. 1988. Sources of resistance to tomato yellow leaf curl virus (TYLCV) in Lycopersicon species. Euphytica 37: 61-64.
Lapidot, M., M. Friedmann, O. Lachman, A. Yehezkel, S. Nahon, S. Cohen and M. Pilowsky. 1997. Comparison of resistance level to tomato yellow leaf curl virus among commercial cultivars and breeding lines. Plant diseases 81: 1425-1428.
Lapidot, M., M. Friedmann, M. Pilowsky, R. Ben-Joseph and S. Cohen. 2001. Effect of host plant resistance to tomato yellow leaf curl virus (TYLCV) on virus acquisition and transmission by its whitefly vector. Phytopathology 91: 1209-1213.
Lapidot, M. and M. Friedmann. 2000. Breeding for resistance to whitefly-transmitted geminiviruses. Annuals of Applied Biology 140(2): 109-127.
Moriones, E. 2000. TYLCV datasheet. EWSN, Norwich.
Nakhla, M. K., D. P. Maxwell, R. T. Martinez, M. G. Carvaeho and R. L. Gilbertson. 1994. Widespread occurrence of the eastern Mediterranean strain of tomato yellow leaf curl geminivirus in tomatoes in the Dominican Republic. Plant Disease 78: 926.
Picó, B. M, J. Díez and F. Nuez. 1998. Evaluation of whitefly-mediated inoculation techniques to screen Lycopersicon esculentum and wild relatives for resistance to tomato yellow leaf curl virus. Euphytica 101: 259-271.
Rubio, L., J.R. Herrero, J. Sarrió, P. Moreno and J. Guerri. 2003. A new approach to evaluate relative resistance and tolerance of tomato cultivars to begomoviruses causing the tomato yellow leaf curl disease in Spain. Plant Pathology 52: 763-769.
Vidavsky, F. and H. Czosnek. 1998. Tomato breeding lines immune and tolerant to tomato yellow leaf curl virus (TYLCV) issued from Lycopersicon hirsutum. Phytopathology 88: 910-914.