ประสิทธิผลของเชื้อราปฏิปักษ์ <I>Trichoderma </I> spp. ต่อการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของถั่วเหลืองในระยะต้นอ่อน

Main Article Content

เกศิณี แก้วมาลา
สมบัติ ศรีชูวงศ์

บทคัดย่อ

จากการตรวจหาเชื้อรา Trichoderma spp. ที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง 4 พันธุ์ได้แก่ ชม.60, สจ. 5,  MJ 9518-2 และ MJ 9520-21 โดยวิธีเพาะบนกระดาษชื้นสามารถแยกเชื้อรา Trichoderma spp. ได้ 4 ไอโซเลทจากพันธุ์ ชม. 60, สจ. 5 และ MJ 9520-21 เมื่อนำเชื้อรา Trichoderma spp. มาทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อรา Colletotrichum truncatum สาเหตุโรคแอนแทรคโนสโดยวิธี dual culture พบว่าเชื้อรา Trichoderma  spp. ทั้ง 4 ไอโซเลท ให้เปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูง และเมื่อนำมาศึกษากลไกการเป็นปฏิปักษ์โดยวิธี slide dual culture พบว่าเชื้อรา Trichoderma spp. แสดงการเป็นปรสิตโดยการพันรัดและแทงเส้นใยเข้าไปภายในเส้นใยของเชื้อรา C. truncatum  เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อรา Trichoderma sp. ทั้ง 4 ไอโซเลท และสารเคมี captan ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสในระยะ  ต้นอ่อนของถั่วเหลืองพันธุ์ ชม. 60 ในสภาพโรงเรือนพบว่า เชื้อรา Trichoderma spp. ทุกไอโซเลท และสารเคมี captan ช่วยลดเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคแอนแทรคโนสในต้นอ่อนของถั่วเหลืองได้โดยสารเคมี captan นั้นให้ประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้เชื้อรา Trichoderma spp. ทุกไอโซเลท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม สร้อยทอง. 2532. การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี. คณะเทคโนโลยีการ เกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ. 326 หน้า.

จิระเดช แจ่มสว่าง. 2546. การควบคุมโรคพืชและแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี. โครงการเกษตรกู้ชาติโครงการถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยี ชีวภาพและชีวภัณฑ์ในการจัดการศัตรูพืชเพื่อทดแทนสารเคมีสังเคราะห์. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 194 หน้า.

จิระเดช แจ่มสว่าง และวรรณวิไล อินทนู. 2542. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืช. โครงการเกษตรกู้ชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.90 หน้า.

ชาตรี สิทธิกุล. 2539. โรคของพืชไร่. ภาควิชา โรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 248 หน้า.

มณฑา นันทพันธ์ ปรีชา สุรินทร์ และสมยศ วิลัยสัตย์. 2546. การประเมินความต้าน ทานของถั่วเหลืองสายพันธุ์ต่าง ๆ ต่อเชื้อรา Colletotrichum truncatum Schw. หน้า 430-437. ใน: รายงานผลการวิจัยประจำปี 2543 ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ สถาบันพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์. 2544. การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี. หน้า 41-63. ใน: โรคพืช มข. ปริทรรศน์. ภาควิชาโรคพืชวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

Elad, Y., I. Chet and J. Katan. 1980. Trichoderma harzianum: a biocontrol agent effective against Sclerotium rolfsii and Rhizoctonia solani. Phytopathology 70: 119-121.

Harman, G. E. 2006. Overview of mechanisms and uses of Trichoderma spp. Phytopathology 96: 190-194.

Neergaard, E. de., C. Tornøe and A. M. Nørskov. 1999. Colletotrichum truncatum in soybean: studies of seed infection. Seed Science and Technology 27: 911-921.

Schneider, R. W., O. D. Dhingra, J. F., Nicholson and J. B. Sinclair. 1974. Colletotrichum truncatum borne within to seedcoat of soybean. Phytopathology 64: 154-155.