การควบคุมโรคเน่าดำของถั่วเขียวผิวดำ พันธุ์พิษณุโลก 2 โดยใช้เชื้อราปฏิปักษ์

Main Article Content

อังคณา กันทาจันทร์
สมบัติ ศรีชูวงศ์

บทคัดย่อ

จากการตรวจหาเชื้อรา Macrophomina phaseolina สาเหตุโรคเน่าดำ จากเมล็ดถั่วเขียวผิวดำพันธุ์พิษณุโลก 2 โดยวิธีเพาะบนกระดาษชื้น พบเชื้อรา M. phaseolina ร้อยละ 23.75 ผลการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อราปฏิปักษ์ 4 ชนิด ได้แก่ Trichoderma harzianum I103, T. harzianum, T. virens IG10 และ T. virens IG2 ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา M. phaseolina โดยวิธี dual culture พบว่าเชื้อรา T. harzianum I103  ให้ผลดีที่สุด ในการศึกษากลไกในการเข้าทำลาย โดยวิธี slide dual culture พบว่าเชื้อราปฏิปักษ์ทั้ง 4 ชนิด แสดงการเป็นปรสิตด้วยการพันรอบเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรค และแทงเส้นใยเข้าภายในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรค ทำให้เส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคสลายตัว และแฟบลง และเมื่อนำเชื้อราทั้ง 4 ชนิด ไปทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเชื้อรา พบว่า T. harzianum I103  สามารถลดการตายก่อนงอก การตายหลังงอก ต้นอ่อนผิดปกติ และช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอก ความยาวลำต้น ความยาวราก น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้ง ได้ดีที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม สร้อยทอง. 2532. คู่มือปฏิบัติการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี. คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ. 104 หน้า.
จิระเดช แจ่มสว่าง วรรณวิไล อินทนู ถวัลย์ คุ้มช้างและวาริน อินทนา. 2546. การควบคุมโรคเน่าระดับดินของมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อรา Pythium aphanidermatum โดยใช้เชื้อรา Trichoderma harzianum ชนิดสดคลุกเมล็ดและใส่วัสดุ เพาะกล้า. หน้า 349-360.ใน: รายงานการประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 6 หนึ่งทศวรรษแห่งการอารักขาพืชในประเทศไทย. 24-27 พฤศจิกายน 2546. โรงแรมโซฟิเทลราชา ออคิด, ขอนแก่น.
เชาวนาถ พฤทธิเทพ สุวิมล ถนอมทรัพย์ สุมนา งามผ่องใส และอารดา มาสริ. 2548. การควบคุมโรคเน่าดำในถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ ต่าง ๆ. หน้า 189-198. ใน: รายงานผลการวิจัยปี 2548 ข้าวโพดฝักสด ถั่วเขียว และพืชไร่ในเขตชลประทาน ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท, ชัยนาท.
วาริน อินทนา มนตรี อิสรไกรศีล ศุภลักษณ์ เศรษฐสกุล ประคอง เย็นจิตต์ และทักษิณ สุวรรณโน. 2550. ประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มา ฮาซิเอนั่ม สายพันธุ์กลายในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยและการลดปริมาณเชื้อราไฟทอพทอร่า พาล์มมิโวร่า ในสวนทุเรียน. ว. กำแพงแสน 5(3): 1-9.
Chang, Y.C., Y.C. Chang, R. Baker, O. Klifeld and I. Chet, 1986. Increased growth of plant in the presence of the biological control agent Trichoderma harzianum. Plant Disease 70: 145-148.
Elad, Y., I. Chet, P. Boyle and Y. Henis, 1983. Parasitism of Trichoderma spp. on Rhizoctonia solani and Sclerotium rolfsii - scanning electron microscopy and fluorescence microscopy. Phytopathology 73: 85-88.
Hadar, Y., I. Chet and Y. Henis. 1979. Biological control of Rhizoctonia solani damping-off with wheat bran culture of Trichoderma harzianum. Phytophathology 69: 64-68.
Harman, G.E., C.R. Howell, A. Viterbo, I. Chet and M. Lorito. 2004. Trichoderma species-opportunistic, avirulent plant symbionts. Nature Reviews Microbiology 2: 43-55.
International Seed Testing Association. (ISTA) 1999. International Rules for Seed Testing. Seed Sciences and Technology 27, Supplement. 333 pp.
Rahman, M.S. 2001. Seed-borne Macrophomina phaseolina in mung-bean (Vigna radiata) and black gram (Vigna mungo): effects on seed qualities and its control. Ph.D. Thesis. Chiang Mai University, Chiang Mai. 226 pp.