การจัดการความหลากหลายชีวภาพทางเกษตรใน ภูมินิเวศน์นาลุ่มโดยเกษตรกรในจังหวัดพะเยา

Main Article Content

บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล
พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ
ช่อผกา ม่วงสุข

บทคัดย่อ

ความหลากหลายชีวภาพทางเกษตรเป็นทรัพยากรพื้นฐานค้ำจุนการดำรงชีพของเกษตรกร แนวทางหนึ่งของการศึกษาความยั่งยืนของระบบเกษตร คือ การทำความเข้าใจกับการจัดการความหลากหลายชีวภาพทางเกษตรของเกษตรกรในไร่นา สวนรอบบ้าน และพื้นที่ป่า ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรชีวภาพที่สนับสนุนการเข้าถึงอาหารและรายได้ของครัวเรือน บทความนี้ได้เสนอผลการศึกษาการจัดการความหลากหลายชีวภาพทางเกษตรของเกษตรกรในภูมินิเวศน์ซึ่งมีข้าวเป็นพืชหลักในจังหวัดพะเยา โดยคัดเลือก 3 ภูมินิเวศน์ที่มีความเข้มข้นของระบบการผลิตแตกต่างกัน ได้แก่ ระบบข้าวอินทรีย์ในนาลุ่มน้ำฝน ระบบเกษตรผสมผสานที่มีสระน้ำในนาลุ่มน้ำฝน และระบบเกษตรเข้มข้นในนาลุ่มชลประทานราษฎร์ เกษตรกรได้มีการจัดการความหลากหลายชีวภาพเพื่อสนองต่อความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนและจัดการเชิงพาณิชย์เพื่อรายได้ ในระบบการผลิตเชิงพาณิชย์ครัวเรือนมีการจัดการอิสระในขณะเดียวกันบางระบบมีการรวมกลุ่มเป็นภาคีกับภาคเอกชน หรือ เกษตรกรผู้นำ เพื่อเชื่อมโยงและเข้าถึงตลาด การจัดการระดับชุมชนจะเด่นชัดในกรณีที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรพื้นที่ป่าซึ่งสมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดกติกาที่นำไปปฏิบัติได้จริง วิถีชีวิตของครัวเรือนเกษตรกรจึงมีความสัมพันธ์กับการไหลของทรัพยากรชีวภาพในภูมินิเวศน์ป่า ไร่นา และสวนรอบบ้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. 2547. กระบวนทัศน์เกษตรกรรมยั่งยืน หน้า 164-180.ใน: รายงานการสัมมนาวิชาการระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2547 ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว, เชียงใหม่.
บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และณัชชา ลี้วิศิษฏ์พัฒนา. 2547. ความเชื่อมโยงระบบสังคม และระบบนิเวศน์เพื่อการจัดการทรัพยากรความหลากหลายชีวภาพทางเกษตรอย่างยั่งยืน. หน้า 243-251. ใน: รายงานการสัมมนาวิชาการระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2547 ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว, เชียงใหม่.
อมรา พงศาพิชญ์. 2537. ความหมายของการวิจัยเชิงคุณภาพ. หน้า 129 ใน: อุทัย ดุลยเกษม (บรรณาธิการ). คู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่องานพัฒนา. สถาบันวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
CIP-UPWARD. 2003. Conservation and Sustainable Use of Agricultural biodiversity: A Sourcebook. Vol 3. International Potato Center-Users’ Perspectives with Agricultural Research and Development, Los Banos, Laguna, Philippines.
Fischer, J., D.B. Lindenmayer and A.D. Manning. 2006. Biodiversity, ecosystem function, and resilience: ten guiding principles for commodity production landscapes. Frontiers in Ecology and the Environment 4: 80-86.
Horne, P.M. and W.W. Stür. 2003. Developing Agricultural Solutions with Smallholder Farmers-How to Get Started with Participatory Approaches. ACIAR Monograph No. 99. ACIAR, Canberra. 120 pp.
Jarvis, D. I., C. Padoch and H.D. Cooper. 2007. Biodiversity, agriculture, and ecosystem services. pp. 1-12. In: D. I. Jarvis, C. Padoch and H.D. Cooper (eds.). Managing
Biodiversity in Agricultural Ecosystems. Columbia University Press, New York.
Patton, M.Q. 1990. Qualitative Evaluation and Research Methods. Sage Publications, Inc., Newburry Park. 536 pp.
Schwartz, H. and J. Jacobs. 1979. Qualitative Sociology: A Method to the Madness. Free Press, New York. 458 pp.
Van der Meer, P.J. and I. Perfecto. 2006. The agricultural matrix and a future paradigm for conservation. Conservation Biology (21)1: 274-277.
Whyte, W.F. 1984. Learning from the Field: A Guide from Experience. Sage Publications, Inc., Newbury Park. 296 pp.