การเสริมโยเกิร์ตต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และการลดปัญหาอุจจาระร่วงในลูกสุกรดูดนม

Main Article Content

ลักษมณ์ภักดิ์คณา เคนจันทึก
ทัศนีย์ อภิชาติสรางกู

บทคัดย่อ

ผลของการเสริมโยเกิร์ตต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และการลดปัญหาอุจจาระร่วงในลูกสุกรดูดนมได้ศึกษา โดยใช้ลูกสุกร 65 ตัว แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 13 ตัว ใช้แผนทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม (ไม่ได้รับการเสริมโยเกิร์ต) กลุ่มที่ 2 เสริมด้วยโยเกิร์ตชนิดธรรมดาที่ผลิตในรูปการค้า ให้แก่ลูกสุกรอายุ  5-12 วัน กลุ่มที่ 3 เสริมด้วยโยเกิร์ตที่ผลิตเองโดยใช้โยเกิร์ตชนิดธรรมดาที่ผลิตในรูปการค้าเป็นหัวเชื้อ ให้แก่ลูกสุกรอายุ  5-12 วัน กลุ่มที่ 4 เสริมด้วยโยเกิร์ตชนิดธรรมดาที่ผลิตในรูปการค้า ให้แก่ลูกสุกรในช่วงอายุ 5-21 วัน กลุ่มที่ 5 เสริมด้วยโยเกิร์ตที่ผลิตเอง โดยใช้โยเกิร์ตชนิดธรรมดาที่ผลิตในรูปการค้าเป็นหัวเชื้อให้แก่ลูกสุกรในช่วงอายุ 5-21 วัน ทำการป้อนโยเกิร์ตแต่ละชนิดให้กับลูกสุกร 2 ครั้ง (เช้า - เย็น) โดยที่อายุ  5-12  วันให้โยเกิร์ตในปริมาณ 10 มล./ตัว/ครั้ง ส่วนในกลุ่มที่ 4 และ 5 เพิ่มปริมาณโยเกิร์ตเป็น 15 มล./ตัว/ครั้ง ในช่วงอายุ 13 วันจนกระทั่งหย่านมที่อายุ 21 วัน  ทำการบันทึกอัตราการเจริญเติบโต และจำนวนลูกสุกรที่แสดงอาการอุจจาระร่วงตั้งแต่อายุ 5-28 วัน ผลการทดลองพบว่าลูกสุกรกลุ่มที่ 1 มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันต่ำกว่าทุกกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P<0.01) และลูกสุกรในกลุ่มที่ 4 และ 5 ซึ่งได้รับการเสริมโยเกิร์ต ระยะยาว มีแนวโน้มของอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันสูงกว่ากลุ่มที่ 2 และ 3  ซึ่งได้รับการเสริมโยเกิร์ตระยะสั้น แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) ค่าร้อยละของลูกสุกรที่เกิดอุจจาระร่วงในกลุ่มที่ได้รับการเสริมโยเกิร์ต (กลุ่มที่ 2 - 5) ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เสริม (กลุ่ม 1) อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าค่าร้อยละของลูกสุกรในกลุ่มที่ไม่ได้รับการเสริมโยเกิร์ต มีการกลับมาป่วยด้วยอาการอุจจาระร่วงซ้ำอีกสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการเสริมโยเกิร์ต ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) การเสริมโยเกิร์ตที่ผลิตเองให้ผลดีไม่แตกต่างจากชนิดที่ผลิตเป็นการค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชินะทัตร์ นาคะสิงห์. 2531. การใช้มันสำปะหลังหมัก แลคโตบาซิลลัสโปรตีนสูงในอาหารลูกสุกร หย่านม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม. 88 หน้า.
ฐิติมา ทรงคุณ. 2548. ผลของสารสกัดแลคโตบาซิลลัสต่อสมรรถภาพการสืบพันธุ์ของสุกรแม่พันธุ์. หน้า 1–17. ใน: สัมมนาปริญญาโท (356792). ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
นรินทร์ ทองศิริ. 2528. เทคโนโลยีอาหารนม. นำอักษรการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 181 หน้า.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2546. สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. สำนักพิมพ์จามจุรีโปรดักส์, กรุงเทพฯ. 512 หน้า.
ภวัต สังขะวัฒนะ. 2544. การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมหมักคล้ายโยเกิร์ตโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์โปรไบโอติก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.143 หน้า.
วันดี ทาตระกูล. 2546. สุกรและการผลิตสุกร. นพบุรีการพิมพ์, เชียงใหม่. 374 หน้า.
วิโรจน์ วนาสิทธิชัยวัฒน์. 2522. ผลของการให้กินเชื้อ บักเตรีแลคติคต่อการเจริญเติบโตของสุกร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 92 หน้า.
ศักดิ์ศิลป์ นุกิจรังสรรค์. 2539. ผลการเสริมเอ็นไซม์ หลายชนิดและกรดซิตริกต่อการย่อยได้ของโภชนะและสมรรถนะการเจริญเติบโตของ ลูกสุกรหลังหย่านม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 169 หน้า.
Apichartsrungkoon, T., A. Khad-Tiya, S. Jaturasitha, N. Simasatitkul, U. Ter Meulen and T. Vearasilp. 2003. Effect of yoghurt on Colibacillosis treatment in piglets. pp. 262. In: Proceedings of the Symposium on Technological and Institutional Innovations
for Sustainable Rural Development. University of Göttingen, Germany.
Jensen, H. 1975. Biological effect of feeding pigs with Lactobacillus acidophilus. J. Dairy Sci. Abstr. 37(280): 2906.
Premi, L. and V. Bottazzi. 1975. Use of Lactobacilli in the control of intestinal disturbances of pigs. J. Dairy Sci. Abstr. 37(266): 2737.
Salminen, S. and A. von Wright. 1993. Lactic Acid Bacteria. Marcel Dekker, Inc., New York. 442 pp.
Tamime, A.Y. and R.K. Robinson. 1999. Yoghurt: Science and Technology. Woodhead Publishing Limited, Cambridge. 606 pp.
Varley, M.A. and J. Wiseman. 2001. The Weaner Pig: Nutrition and Management. CABI Publishing, Wallingford. 356 pp.