ผลการใช้เยื่อในลำต้นสาคูเป็นแหล่งพลังงานในอาหารข้นต่อการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะ และการหมักในกระเพาะรูเมนของโคพื้นเมืองภาคใต้

Main Article Content

ลินดา ดำคง
วันวิศาข์ งามผ่องใส
ปิ่น จันจุฬา

บทคัดย่อ

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้เยื่อในลำต้นสาคูทดแทนข้าวโพดบดในสูตรอาหารข้นต่อการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะ และกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน โดยศึกษาในโคพื้นเมืองภาคใต้เพศผู้ จำนวน 5 ตัว อายุเฉลี่ย 2.9 ± 0.2 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 226 ± 5 กิโลกรัม ที่ผ่าตัดฝังท่ออาหารถาวรที่กระเพาะรูเมน (rumen fistulated animal) ใช้แผนการทดลองแบบ 5 x 5 ลาตินสแควร์ (Latin square design) เพื่อให้ได้รับอาหารข้นที่มีระดับของเยื่อในลำต้นสาคูทดแทนข้าวโพดบดในระดับ 0, 25, 50, 75 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ให้โคพื้นเมืองทั้ง 5 กลุ่ม ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้งอย่างเต็มที่ ผลการทดลองพบว่า โคทั้ง 5 กลุ่มมีปริมาณการกินได้ของอาหารหยาบไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ขณะที่ปริมาณอาหารข้น และปริมาณอาหารที่กินได้ทั้งหมด มีค่าเพิ่มขึ้นตามระดับเยื่อในลำต้นสาคูที่เพิ่มขึ้นในสูตรอาหาร โดยโคที่ได้รับอาหารข้นที่ใช้เยื่อในลำต้นสาคูทดแทนข้าวโพดบด 100 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มของปริมาณอาหารข้น และปริมาณอาหารทั้งหมดที่กินได้สูงสุด (69.75 และ 89.67 กรัมวัตถุแห้ง/กิโลกรัมน้ำหนักตัว0.75 ตามลำดับ) ส่วนค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโภชนะ สมดุลไนโตรเจน ความเป็นกรด-ด่าง และความเข้มข้นของแอมโมเนีย-ไนโตรเจนในของเหลวจากกระเพาะรูเมน ความเข้มข้นของกลูโคสในเลือด และค่าเฉลี่ยของปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่นมีค่าใกล้เคียงกัน (P>0.05) ในระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองที่ใช้เยื่อในลำต้นสาคู ขณะที่ความเข้มข้นของยูเรีย-ไนโตรเจนในเลือดของโคที่ได้รับอาหารที่ใช้เยื่อในลำต้นสาคูทดแทนข้าวโพดบด 75 และ 100 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มสูงกว่าโคกลุ่มควบคุม จากผลการทดลองนี้สามารถสรุปได้ว่า สามารถใช้เยื่อในลำต้นสาคูทดแทนข้าวโพดบดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารโคพื้นเมืองภาคใต้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ สะอาดรักษ์. 2539. ผลของการเสริมอาหารเม็ดคุณภาพสูงต่อปริมาณการกินได้ รูปแบบของกระบวนการหมักในรูเมน ผลผลิตและองค์ประกอบน้ำนมในโคนม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, ขอนแก่น.

จินดา สนิทวงศ์ ณัฐวุฒิ บุรินทราภิบาล และเฉลียว ศรีชู. 2544. ผลการใช้หญ้าสกุล Paspalum เป็นอาหารหยาบหลักเลี้ยงโคเนื้อ. หน้า 177-185. ใน: รายงานผลการวิจัยประจำปี 2544. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์, กรุงเทพฯ.

ชาญชัย มณีดุลย์ และ สมจิตร อินทรมณี. 2533. พืชอาหารสัตว์ในพื้นที่พรุ. หน้า 62-72. ใน: รายงานการประชุมทางวิชาการโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง. 18-19 กันยายน 2533. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง, นราธิวาส.

ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์. 2541. โลหิตวิทยาของสัตว์เลี้ยงและการวิเคราะห์. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

นิวัติ เรืองพานิช. 2543. วิทยาศาสตร์ทุ่งหญ้า. ลินคอร์นโปรโมชั่น, กรุงเทพฯ.

ปิ่น จันจุฬา. 2542. ต้นสาคู: พืชท้องถิ่นทางภาคใต้ที่น่าสนใจ. วารสารวิชาการเกษตร 17: 213-221.

เมธา วรรณพัฒน์. 2533. โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 473 หน้า.

วรวรรณา แสงคง. 2549. ผลการเสริมผลพลอยได้ที่มีโซเดียมคลอไรด์ และกรดนิวคลีอิกต่อการย่อยได้ของโภชนะ สมดุลไนโตรเจน และการสังเคราะห์โปรตีนจุลินทรีย์ในโคพื้นเมืองภาคใต้เพศผู้. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

สมศักดิ์ เหล่าเจริญสุข. 2530. การใช้ลำต้นสาคูเลี้ยงสัตว์. ว. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2: 35-40.

สมศักดิ์ เหล่าเจริญสุข และสุธน วงษ์ชีรี. 2531. การใช้ ลำต้นสาคูเป็นอาหารสำหรับเป็ดเนื้อ. ว. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3: 129-144.

สุทิสา แต้มจันทร์. 2548. ปริมาณการกินได้ การใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะ และการเจริญเติบโตของโคพื้นเมืองภาคใต้เพศผู้ที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้งเสริมด้วยอาหารข้นในระดับต่าง ๆ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

อนันต์ ภู่สิทธิกุล จิราพรรณ พินศิริกุล วัชรินทร์ วากะมะ อัจฉรารัตน์ ทิพย์ศรี และเสาวคนธ์ โรจนสถิตย์. 2529. การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้สาคูและใบกระถินป่นเสริมเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงเป็ด (ระยะเป็ดเนื้อ) เพื่อพัฒนาการเลี้ยงเป็ด โครงการหมู่บ้านปศุสัตว์เกษตรมูโนะ. หน้า 335-341. ใน: รายงานผลวิจัยสาขาผลิตปศุสัตว์ ประจำปี 2528. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์, กรุงเทพฯ.

อนันต์ วิชชุรังษี. 2548. ผลของระดับอาหารข้นต่อการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะ และสมดุลไนโตรเจนของแม่โคพื้นเมืองภาคใต้ช่วงการตั้งท้องระยะกลาง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

อุทัย โคตรดก สุภร กตเวทิน สุจินต์ สิมารักษ์ มนต์ชัย ดวงจินดา และยุพิน ผาสุข. 2549. การศึกษาเปรียบเทียบกลไกทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการทนร้อนระหว่างโคเขตร้อนและโคเขตหนาว. วารสารแก่นเกษตร 34(4): 347-354.

AOAC. 1990. Official Methods of Analysis. The 14th ed. Association of Official Analytical Chemists, Washington, D.C.

Bremner, J.M. and D.R. Keeney. 1965. Steam distillation methods of determination of ammonium nitrate and nitrite. Anal. Clin. Acta. 32: 485-497.

Brough, S. H., R. J. Neale, G. Norton and J. E. Wenham. 1995. The effects of variety, drying procedure, fineness of grinding and dietary inclusion level on the bioavailability of cassava (Manihot esculenta Crantz) starch. J. Sci. Food Agri. 67: 71-76.

Canfield, R. W., J. J. Sniffen. and W.R. Butler. 1990. Effects of excess degradable protein on postpartum reproduction and energy balance in dairy cattle. J. Dairy Sci. 79: 2342-2349.

Goering, H.K. and P.J. Van Soest. 1970. Forage Fiber Analysis. Agricultural Handbook No. 397. United State Department of Agriculture, Washington, D.C.

Kaneko, J. J. 1980. Appendixes, pp. 877-901. In: J. J. Kaneko (ed.). Clinical Biochemistry of Domestic Animals. 3rd ed. Academic Press, New York.

NRC. 1984. Nutrient Requirements of Beef Cattle. National Academy Press, Washington, D.C.

Perdok, H. B. and R. A. Leng. 1990. Effect of supplementation with protein meal on the growth of cattle given a basal diet of untreated or ammoniated rice straw. Asian-Aust. J. Anim. Sci. 3: 269-279.

Preston, R. L., D.D. Schnakanberg and W.H. Pfander. 1965. Protein utilization in ruminants. I. Blood urea nitrogen as affected by protein intake. J. Nutr. 86: 281-287.

Schneider, B.H. and W.P. Flatt. 1975. The Evaluation of Feeds Through Digestibility Experiments. The University of Georgia Press, Georgia, Athens. 423 pp.

Steel, R. G. D. and J. H. Torrie. 1980. Principles and Procedures of Statistics: A Biometrical Approach. 2nd ed. McGraw-Hill Book Co., New York. 633 pp.

Swenson, M. J. 1977. Physiological properties and cellular and chemical constituents of blood, pp. 14-35. In: M.J. Swenson (ed.). Dukes Physiology of Domestic Animals. 9thed., Cornell University Press, Ithaca.P. J. 1982. Nutritional Ecology of the Ruminant. O&B Book, Inc., Corvallis. 377 pp.

Yeong, S. W. and A. B. Syed Ali. 1977 . The use of sago in layer diets. Malaysian Agric. J. 51: 244-248.