การศึกษาโครโมโซมของกล้วยไม้ดินช้างผสมโขลง

Main Article Content

จารุภัทร ประราศรี
ฉันทนา สุวรรณธาดา

บทคัดย่อ

การศึกษาเทคนิคในการเตรียมเนื้อเยื่อปลายรากของกล้วยไม้ดินช้างผสมโขลง เพื่อศึกษาโครโมโซมประกอบด้วย 1) การหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บตัวอย่างปลายรากโดยทดลองเก็บตัวอย่างปลายรากเวลา 8.00, 9.00, 10.00, 11.00 และ 12.00 น. 2) การหาความยาวนานที่เหมาะสมในการหยุดวงชีพเซลล์ โดยแช่ปลายรากในสารละลาย para-dichlorobenzene (PDB) นาน  0, 30  นาที 1, 2  และ 3  ชั่วโมง  และ 3) การหาระยะความยาวนานที่เหมาะสมของการย้อมสีปลายรากด้วยสารละลาย carbol fuchsin  นาน 1, 6, 12, 24, 36  และ 48 ชั่วโมง จากผลการทดลองสามารถสรุปวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมในการเตรียมเนื้อเยื่อปลายรากของช้างผสมโขลงเพื่อศึกษาโครโมโซม คือ เก็บตัวอย่างปลายรากเวลา 11.00 น. แล้วนำไปแช่ในน้ำยารักษาสภาพเซลล์ โดยไม่ต้องผ่านการหยุดวงชีพเซลล์ใน PDB จากนั้นย้อมปลายรากด้วยสี carbol fuchsin นาน 1 ชั่วโมง แล้วจึงขยี้เนื้อเยื่อจากการตรวจนับโครโมโซม พบว่า เซลล์ปลายรากของช้างผสมโขลงมีโครโมโซม 2n = 56

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉันทนา สุวรรณธาดา จารุภัทร ประราศรี ประภัสสร อารยะกิจเจริญชัย และ รณณรงค์ อินทุภูติ. 2547. การเจริญเติบโตและการกระจายพันธุ์ของกล้วยไม้ช้างผสมโขลง. หน้า 40. ใน: บทคัดย่อการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 4. 4-7 พฤษภาคม 2547, โรงแรมเจบีหาดใหญ่, สงขลา.

ดวงทิพย์ วิทยศักดิ์. 2539. ลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายวิภาควิทยา และเซลวิทยาของว่านสี่ทิศ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 105 หน้า.

อบฉันท์ ไทยทอง. 2547. กล้วยไม้เมืองไทย. สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ. 461 หน้า.

Felix, L. P. and M. Guerra. 2000. Cytogenetics and cytotaxonomy of some Brazilian species of Cymbidioid orchids. Genetics and Molecular Biology 23(4): 957-978.

Goldblatt, P. (ed.). 1981. Index to plant chromosome numbers 1975 -1978. Monographs in Systematic Botany 5. Missouri Botanical Garden, St. Louis, MO.

Goldblatt, P. (ed.). 1984. Index to plant chromosome numbers 1979 -1981. Monographs in Systematic Botany 8. Missouri Botanical Garden, St. Louis, MO.