ผลของกรดจิบเบอเรลลิกต่อการเจริญเติบโตของปทุมมา

Main Article Content

ทิราภรณ์ เขื่อนแก้ว
โสระยา ร่วมรังษี

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของกรดจิบเบอเรลลิก (GA3) ต่อการเจริญเติบโตของปทุมมา ดำเนินการโดยให้พืชได้รับ GA3      2 ครั้ง ในระยะที่ต้นเริ่มงอก (อายุ 4 สัปดาห์หลังปลูก) และหลังจากนั้น 2 สัปดาห์ โดยให้พืชได้รับสาร 4 ระดับคือ 0 100 300 และ 500 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลการทดลองพบว่า การให้  GA3 ความเข้มข้น 300 และ 500 มิลลิกรัมต่อลิตร  ทำให้พืชมีความสูงของต้นเฉลี่ย 101 และ 97.38 เซนติเมตร ตามลำดับ แต่จำนวนใบต่อต้น และจำนวนหน่อต่อกอ ไม่แตกต่างจากกรรมวิธีอื่น นอกจากนี้การให้ GA3 ที่ระดับ 500 มิลลิกรัมต่อลิตร มีผลให้ปทุมมามีความยาวก้านดอกเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 87.13 เซนติเมตร ซึ่งยาวกว่ากรรมวิธีควบคุมถึง 30 เซนติเมตร แต่ GA3 ที่ระดับนี้ มักพบการหักล้มของต้นได้ง่าย เมื่อนับจำนวนวันตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งดอกจริงดอกแรกบาน พบว่า ต้นที่ได้รับ GA3 ความเข้มข้น 300 และ 500 มิลลิกรัมต่อลิตร ใช้เวลาในการออกดอกเฉลี่ยนานที่สุดคือ 76 และ 73 วันตามลำดับ ซึ่งช้ากว่ากรรมวิธีควบคุม 5-7 วัน การวิเคราะห์ความเข้มข้นและปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในระยะออกดอกในอวัยวะส่วนเหนือดิน และส่วนใต้ดิน พบว่า GA3 มีผลต่อความเข้มข้นและปริมาณของไนโตรเจนและโพแทสเซียม แต่ไม่มีผลต่อฟอสฟอรัส การให้ GA3 ที่ระดับ 500 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้ปริมาณของไนโตรเจนเฉลี่ยในอวัยวะส่วนใต้ดินต่ำที่สุดคือ 96.81 มิลลิกรัมต่อต้น ส่วน GA3 ที่ระดับ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้ปริมาณโพแทสเซียมในอวัยวะส่วนใต้ดินสูงสุด การให้ GA3 ที่ระดับ 300 และ 500 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถเพิ่มความยาวของหัวพันธุ์ เมื่อเก็บเกี่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2547. “ปทุมมา”. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.doae.go. th/plant/patumma.htm (9 มิถุนายน 2547).

จีรวัฒน์ ภู่บัวเผื่อน. 2535. การเจริญเติบโต และการพัฒนาดอกของปทุมมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 82 หน้า.

ชวนพิศ แดงสวัสดิ์. 2544. สรีรวิทยาของพืช. สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา, กรุงเทพฯ. 380 หน้า.

ดนัย บุณยเกียรติ. 2540. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 222 หน้า.

นพดล จรัสสัมฤทธิ์. 2357. ฮอร์โมนพืชและสารควบคุมการเจริญ. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ. 128 หน้า.

นิตย์ ศกุนรักษ์. 2542. สรีรวิทยาของพืช. สำนักพิมพ์ นพบุรีการพิมพ์, เชียงใหม่. 237 หน้า.

ประสบ บุตรพลอย. 2543. การผลิตและการตลาดปทุมมาเพื่อการส่งออกในภาคเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 64 หน้า.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2543. ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 424 หน้า.

เยาวลักษณ์ แลงทั่น. 2544. ปทุมมานอกฤดูและการเก็บรักษาหัวพันธุ์. น.ส.พ. กสิกร 74(5): 78-86.

ลิลลี่ กาวีต๊ะ. 2546. การเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาและพัฒนาการของพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 319 หน้า.

วิภาดา ทองทักษิน และ นิพัฒน์ สุขวิบูลย์. 2537. ปทุมมา. น.ส.พ. กสิกร 67(5): 415-419.

สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2544. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. 237 หน้า.

สัมฤทธิ์ เศรษฐวงศ์. 2548. ฮอร์โมน และ การใช้ฮอร์โมนกับไม้ผล. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ.144 หน้า.

สุรวิช วรรณไกรโรจน์. 2539. ผลของคุณภาพและการเก็บรักษาหัวพันธุ์ต่อการผลิตปทุมมา. หน้า 66-67. ใน: รายงานการประชุมวิชาการไม้ดอกไม้ประดับแห่งชาติ ครั้งที่ 2, เชียงใหม่.

โสระยา ร่วมรังษี. 2548. เทคโนโลยีการผลิตปทุมมานอกฤดู. รายงานการวิจัยสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, เชียงใหม่. 164 หน้า.

Ben-Tal, Y. and Y. Erner. 1996. Flowering control by artificial gibberellins. Acta Hort. 482: 21-26.

Bose, T.K., B.K. Jana and T.P. Mukhopadhyay. 1980. Effects of growth regulators on growth and flowering in Hippeastrum hybridum Hort. Scientia Horticulturae. 12(2): 195-200.

Guardia, M.D. de la and M. Benlloch. 1980. Effects of potassium and gibberellic acid on stem growth of whole sunflower plants. Physiol. Plant. 49: 443-448.

Kuehny, J.S., M.J. Sarmiento and P.C. Branch. 2002. Cultural studies in ornamental ginger. PP. 477-482. In: J. Janik and A. Whipkey (eds.) Trends in New Crops and New Uses. ASHS Press, Alexandria.

Mizukoshi, K., T. Nishiwaki, N. Ohtake, R. Minagawa, K. Kobayashi, T. Ikarashi and T. Ohyama. 1994. Determination of tungstate concentration in plant materials by HNO3- HClO4 digestion and colorimetric method using thiocyanate. Bull. Fac. Agri., Niigata Univ. 46: 51- 56.

Ohyama, T., T. Ikarashi and A. Baba. 1985. Nitrogen accumulation in the roots of tulip plants (Tulipa gesneriana). Soil Sci. Plant Nutr. 31: 581-588.

Ohyama, T., T. Ikarashi and A. Baba. 1986. Analysis of the reserve carbohydrates in bulb scales of autumn planting bulb plant. Jap. J. Agri. Safety and Nutr. 57: 119-125.

Ohyama, T., M. Ito, K. Kobayashi, S. Araki, S. Yasuyoshi, O. Sasaki, T. Yamazaki, K. Sayoma, R. Tamemura, Y. Izuno and

T. Ikarashi. 1991. Analytical procedures of N, P, K content in plant and manure materials using H2SO4-H2O2 Kjeldahl digestion Method. Bull. Fac. Agri., Niigata Univ. 43: 111-120.

Sebanek, J., F. Kopecky and K. Slaby. 1976. Effect of gibberellin, cytokinin and Ethral on the growth and development of tulips and hyacinths. Acta Universitatis Agriculturae, Brno, A. 24(3): 387-396.