ความแปรปรวนของปริมาณสารแอนติออกซิแดนซ์ในใบชา ที่ปลูกในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย

Main Article Content

ปิยวรรณ มาตราช
บัณฑูรย์ วาฤทธิ์
อุดมภัณท์ ขาลสุวรรณ
ประวิตร พุทธานนท์

บทคัดย่อ

การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความแปรปรวนของสาร Epigallocatechin gallate (EGCG) ต่อพันธุ์ชา สภาพแวดล้อม และการจัดการในสภาพการปลูกชาใน 4 พื้นที่ที่เลือกในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย พบว่าปริมาณสาร EGCG ในชา ทั้ง 4 พื้นที่และแต่ละฤดูกาลมีการตอบสนองแทบไม่แตกต่างกันระหว่างพันธุ์ โดยทั่วไปปริมาณสาร EGCG ของทุกพันธุ์จะมีมากในฤดูร้อน แล้วลดลงในฤดูฝน และเพิ่มอีกครั้งหนึ่งในฤดูหนาว สำหรับค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าเป็นลบระหว่างสาร EGCG กับความชื้นในใบชา ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและพิกัดความสูง ดังนั้นเมื่อ ความชื้นในใบชาเพิ่มขึ้นในฤดูฝน ค่า EGCG ลดลง ส่วนพิกัดความสูงที่เพิ่มขึ้น ค่า EGCG จะลดลง นอกจากนี้พิกัดความสูงยังมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเป็นกรดเป็นด่าง (P<0.01) และทางบวกกับอินทรีย์วัตถุในดินและธาตุไนโตรเจน (P<0.01) ส่วนความเป็นกรดเป็นด่างมีความสัมพันธ์ทางบวกกับธาตุฟอสฟอรัสและธาตุโพแทสเซียมในดิน สรุปแล้วในช่วงฤดูร้อน EGCG จะมีปริมาณสูงยังส่งผลให้คุณภาพของชาดีกว่าในช่วงฤดูฝนด้วย ดังนั้น เมื่อต้องการเก็บใบชาเพื่อให้ได้ปริมาณสาร EGCG ในใบสูง ควรเก็บชาภายใต้สภาพแวดล้อมในช่วงฤดูร้อน ตามด้วย ฤดูหนาว และฤดูฝน ตามลำดับ อีกประการหนึ่งพบว่าปริมาณของสาร EGCG แปรผกผันกับความสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิสณะ ตันเจริญ และ ศุภนารถ เกตุเจริญ. 2543. ชา (Tea). หน้า 161-163. ใน: กองส่งเสริมพืชสวน (บก.). คู่มือพืชสวน เศรษฐกิจ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์. 2542. การวิเคราะห์ดิน. หน้า 1-172. ใน: ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และจงรักษ์ จันทร์เจริญสุข (บก.). การ วิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พร้อมลักษณ์ สรรพ่อค้า. 2547. ชาเขียว...เพื่อสุขภาพ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://web. ku.ac.th/schoolnet/snet4/july8/grn_tea.htm (22 สิงหาคม 2547).

ไพโรจน์ พงศ์ศุภสมิทธิ์. 2532. เทคโนโลยีการผลิตชา เล่ม 1. ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, เชียงใหม่. 47 หน้า.

มยุรี ศรีชัย. 2539. เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง พิมพ์ครั้งที่ 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ. พริ้นติ้ง, กรุงเทพฯ. 257 หน้า.

ศักดิ์ บวร. 2543. ชาเขียว. โอเอ็นจี, กรุงเทพฯ. 96 หน้า.

สมพล นิลเวศน์. 2545. ชาเขียว. สถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร, เชียงใหม่. 77 หน้า.

สรสิทธ์ วัชโรทยาน. 2544. ปูนและการใส่ปูน. หน้า 211-222. ใน: คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา (บก.). ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Bremer, J.M. and C.S. Mulvaney 1982. Total Nitrogen. pp. 595-624. In: A.L. Page, R.H. Miller and D.R. Keeney. (eds.). Methods of Soil Analysis, Part 2. Chemical and Microbiological Properties. 2nd ed. Agronomy Monograph No. 9. American Society of Agronomy, Madison, WI.

Chen, Z.Y., Q. Y. Zhu, D. Tsang and Y. Huang. 2001. Degradation of green tea catechins in tea drinks. J. Agric. Food Chem. 49: 477-487.

Eden, T. 1976. Tea. 3rd ed. Lowe and Brydone (Printers) Ltd., Thetford. 236 pp.

Yang, G.Y., J. Liao, C. Li, J. Chung, E.J. Yurkow, C.T. Ho and C.S. Yang. 2000. Effect of black and green tea polyphenols on c-jun phosphorylation and H2O2 production in transformed and non-transformed human bronchial cell lines: Possible mechanisms of cell growth inhibition and apoptosis induction. Carcinogenesis 21: 2035-2039.