ผลของอุณหภูมิต่อเชื้อราปฏิปักษ์และการควบคุมเชื้อ <I>Alternaria brassicicola </I>(Schweinitz) โดยชีววิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการคัดเลือกเชื้อราผิวใบของพืชตระกูลกะหล่ำที่ไม่เป็นโรคคือ กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักกาดเขียวปลี บร็อคโคลี่ และคะน้า จาก 4 แหล่งปลูก เพื่อนำมาใช้ในการควบคุมเชื้อ Alternaria brassicicola (Schweinitz) ที่เป็นสาเหตุของโรคใบจุด โดยวิธี hyphal tip isolation ได้ทั้งหมด 212 ไอโซเลท เมื่อทำการทดสอบการเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อ A. brassicicola โดยวิธี dual culture สามารถคัดเลือกเชื้อที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดได้ 4 ไอโซเลทได้แก่ Fusarium sp. (ไอโซเลท 011) Fusarium sp. (ไอโซเลท 170) Penicillium sp. (ไอโซเลท 075) และ Penicillium sp. (ไอโซเลท 173) และเมื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อราปฏิปักษ์ต่อการงอก และจำนวนสปอร์ที่สร้างของเชื้อ A. brassicicola พบว่าเชื้อ Penicillium sp. (ไอโซเลท 075) ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งการงอกของสปอร์ของเชื้อสาเหตุได้ 76.72 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่เชื้อ Fusarium sp. (ไอโซเลท 011) ให้ประสิทธิภาพสูงสุด สามารถยับยั้งจำนวนสปอร์ที่สร้างของเชื้อสาเหตุได้ถึง 98.23 เปอร์เซ็นต์ เชื้อราปฏิปักษ์ทุกชนิดให้ผลในการยั้งเชื้อสาเหตุได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อในการควบคุมเชื้อ A. brassicicola โดยการนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 19, 27 และ 32 องศาเซลเซียส พบว่าอุณหภูมิและเชื้อราปฏิปักษ์มีผลต่อเชื้อ A. brassicicola โดยทำให้เส้นใย ขนาดของสปอร์ และจำนวนสปอร์ที่สร้างลดลง เชื้อราปฏิปักษ์ที่ให้ผลดีที่สุดคือ Fusarium sp. (ไอโซเลท 011) โดยให้ผลในการยับยั้ง 48.24 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อราปฏิปักษ์มีแนวโน้มเจริญได้ดี และมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
Article Details
References
เกษม สร้อยทอง. 2532. การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี. คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ. 362 หน้า.
จุมพล สาระนาค และ อรพรรณ วิเศษสังข์. 2540. โรคที่เกิดกับพืชผัก. วารสารเคหการเกษตร 70(5): 50-59.
สกุลศักดิ์ โอฬารสกุล. 2540. โรคของพืชประเภทผักและการควบคุม. ภาควิชาเกษตรศาสตร์ คณะ เกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร สถาบันราชภัฎลำปาง, ลำปาง. 542 หน้า.
Agrios, G.N. 1997. Plant Pathology. 4th ed. Academic Press, San Diego. 635 pp.
Butler, E.J. and S.G. Jones. 1961. Plant Pathology. Macmillan Company, New York. 250 pp.
Degenhardt, K.J., G.A. Petrie and R.S.S. Morral.1982. Effect of temperature on spore germination and infection of rape seed by Alternaria brassicicola, Alternaria brassicae and Alternaria raphani. Canadian Journal of Plant Pathology 4: 115-118.
Dixon, G.R. 1981. Vegetable Crop Diseases. Macmillan Publishers Ltd., London. 404 pp.
Harvey, J. and L. Mason, 1998. The Use and Misuse of Antibiotics in UK Agriculture. Part 1: Current Usage. Soil Association and British Organic Farmer, Bristol. 38 pp.
Humpherson-Jones, F.M. and K. Phelps. 1989. Climatic factors influencing spore production in Alternaria brassicae and Alternaria brassicicola. Annals of Applied Biology 114: 449-458.
Larena, I., P. Sabuquillo, P. Melgarejo and A. De Cal. 2003. Biocontrol of Fusarium and Verticillium wilt of tomato by Penicillium oxalicum under greenhouse and field conditions. Journal of Phytopathology 151: 507-512.
Nelson, P.E., T.A. Toussoun and W.F.O. Marasas (eds.). 1983. Fusarium Species: An Illustrated Manual for Identification. Pennsylvania State University Press, University Park. 193 pp.
Pietikainen, J., M. Pettersson and E. Baath. 2005. Comparison of temperature effects on soil respiration and bacterial and fungal growth rates. FEMS Microbiology Ecology 52(1): 49-58.
Mukherjee, P.K. and K. Raghu. 1997. Effect of temperature on antagonistic and biocontrol potential of Trichoderma sp. on Sclerotium rolfsii. Mycopathologia 139(3): 151-155.