แนวทางการพัฒนาระบบการผลิตมะม่วงอย่างยั่งยืน เชิงบูรณาการในภาคเหนือ

Main Article Content

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ
พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ

บทคัดย่อ

: การผลิตมะม่วงในภาคเหนือของประเทศไทย มีศักยภาพตอบสนองต่อความต้องการของตลาดอยู่สองแนวทาง ได้แก่ การผลิตเพื่อการแปรรูป และการผลิตสำหรับบริโภคสดเพื่อการส่งออก มะม่วงแก้ว เป็นพันธุ์ที่ได้รับการยืนยันว่ามีคุณภาพดีเพื่อการแปรรูป ขณะที่มะม่วงน้ำดอกไม้ เป็นพันธุ์บริโภคสดที่นิยมส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศในปัจจุบัน เอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการผลิตมะม่วงอย่างยั่งยืนเชิงบูรณาการ ทั้งเพื่อการแปรรูปและการส่งออก ภายใต้สภาพเงื่อนไขของภาคเหนือ สินค้าทั้งคู่อาจอาศัยกรอบการพัฒนาเดียวกัน แต่ในกระบวนการผลิตกลับมีจุดเน้นบางประการที่แตกต่างกันระหว่างระบบทั้งสอง


มะม่วงแก้วในภาคเหนือของประเทศไทยมีความหลากหลายค่อนข้างสูง สายพันธุ์ที่มีคุณภาพผลดีทั้งขณะแก่จัดและสุกเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ยิ่งสำหรับการแปรรูป ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงแก้วเป็นที่ต้องการของตลาดสูง แต่การผลิตวัตถุดิบในท้องถิ่นยังไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของโรงงานที่มีตลอดทั้งปีได้ ซึ่งปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญนั้นเป็นการปรับปรุงวิธีการผลิต ปัจจุบันมีสายพันธุ์ดีได้จากการวิจัยคัดเลือกในพื้นที่ไว้แล้ว ชื่อ แก้วเชียงใหม่ ดังนั้นเทคนิคการขยายพันธุ์และแนวทางการกระจายพันธุ์ที่เหมาะสม ควรได้รับการสานต่อเพื่อขยายออกไปสู่ผู้ผลิตรายย่อยให้มากที่สุด ส่วนความเข้าใจในการปฏิบัติต่อมะม่วงแก้วว่าเป็นเพียงไม้ผลองค์ประกอบในระบบสวนรอบบ้าน ที่ไม่ใช้ปัจจัยการผลิต และไม่ต้องดูแลนั้น ไม่เหมาะสมอีกต่อไป หากเกษตรกรประสงค์ที่จะยกระดับระบบการผลิตเพื่อการแปรรูป การมีอันตรกิริยาต่อกันระหว่างเกษตรกรและโรงงานแปรรูป ได้สร้างความเข้าใจอันดีเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ถึงความจำเป็นที่ต้องเชื่อมโยงการผลิตและการแปรรูปเข้าหากัน บนพื้นฐานการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างยุติธรรม


ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำเข้ามะม่วงสดที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะพันธุ์น้ำดอกไม้ การส่งออกเป็นไปตามการชี้นำของผู้บริโภค การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดการนำเข้านั้น อาจส่งผลให้เสียสิทธิ์ได้อย่างสิ้นเชิง ความร่วมมือที่ดีต่อกันระหว่างผู้ผลิตกับผู้ประกอบการ-ผู้ส่งออกนั้น ยืนยันชัดเจนว่าสามารถพัฒนาไปสู่การผลิตมะม่วงสดคุณภาพสูงได้ ระบบนี้ต้องอาศัยทั้งวิธีการปฏิบัติต่อสวนที่แม่นยำของเกษตรกร และกระบวนการจัดการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพของผู้ส่งออก การใช้ยุทธศาสตร์กลุ่มตลาดได้ริเริ่มโดยชมรมผู้ปลูกมะม่วงจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะผลิตมะม่วงสดเพื่อการส่งออก และให้ผู้ประกอบการ-ผู้ส่งออกจากภาคกลางแสดงบทบาทเป็นผู้พัฒนาช่องทางการนำเข้าสู่ตลาดที่มีการแข่งขันสูงยิ่งเช่นญี่ปุ่น ขณะ ที่ประเด็นการวิจัยและการพัฒนานั้น คาดหวังที่จะได้รับจากการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างเกษตรกรและผู้ส่งออก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2545. เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับมะม่วง. เกษตรดีที่เหมาะสมลำดับที่ 2 กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 26 หน้า.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2543. คู่มือพืชสวนเศรษฐกิจ. กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ. 314 หน้า.

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 2544. รายงานเกณฑ์คุณภาพและวิธีการตรวจวัดคุณภาพวัตถุดิบมะม่วงเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร. ส่วนอุตสาหกรรมเกษตร สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ. 50 หน้า.

กาญจนา สุทธิกุล. 2548. โอกาสทองของตลาดมะม่วงไทย. ว.เคหการเกษตร 29(11): 77-87.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ ภัททนันท์ วุฒิการณ์ ทิมม์. 2534. ปัญหาและความต้องการในการปลูกมะม่วงของเกษตรกรบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. วารสารเกษตร 7(2): 134-153.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ ศิวาพร ธรรมดี. 2542. พันธุ์ไม้ผลการค้าในประเทศไทย: คู่มือเลือกพันธุ์สำหรับผู้ปลูก. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ. 292 หน้า.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์. 2542. พืชตระกูลถั่วบำรุงดินในระบบเกษตรผสมผสานที่มีมะม่วงเป็นพืชหลักบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. MCC Agri. Syst. Working Paper No. 112. 19 หน้า.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์. 2545ก. การคัดเลือก การพัฒนา และการขยายพันธุ์ มะม่วงแก้วสำหรับที่ดอนอาศัยน้ำฝน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (ระยะที่ 2) ฉบับที่ 1. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 78 หน้า.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์. 2546. มะม่วงแก้ว ไม้ผลเพื่อความหวังและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ. สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพฯ. 199 หน้า.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ และ จงรักษ์ มูลเฟย. 2548ก. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ ระบบสนับสนุนการวางแผนจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรและบริการ ระยะที่ 1 ภาคเหนือตอนบน: องค์ความรู้และยุทธศาสตร์ในระบบการผลิตไม้ผล. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 435 หน้า.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ และ ปฐมา เดชะ. 2545ข. ตัวชี้วัดการคัดเลือกมะม่วงแก้วเพื่ออุตสาหกรรม. ว. วิทย.กษ. 33 (4-5) (พิเศษ): 63-66.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ และ ปฐมา เดชะ. 2545ค. การใช้ไม้ผลฟื้นฟูสภาพนิเวศน์และเศรษฐกิจชุมชนบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. วารสารเกษตร 18 (ฉบับพิเศษ 1): s207-s219.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ และ ปฐมา เดชะ. 2545ง. ไม้กันลมกับการปลูกมะม่วงบนที่ดอน. น.ส.พ. กสิกร 75(2): 94-103.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ และ ปฐมา เดชะ. 2548ข. งานวิจัยมะม่วงแก้วเชิงระบบเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชนบทและระบบนิเวศน์บนที่ดอน. หน้า 45-62. ใน พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ (บรรณาธิการ). ระบบเกษตรกับความยั่งยืนของสังคมเกษตร : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

นิรนาม. 2548. ระบบกลุ่มการตลาด. เอกสารแจกงานประชุมยุทธศาสตร์กลุ่มมะม่วง วันที่ 26 สิงหาคม 2548. ณ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 4 หน้า.

มณฑาทิพย์ ยุ่นฉลาด กาญจนารัตน์ ทวีสุก ชิดชม ฮิรางะ วิภา สุโรธจนะเมธากุล สิริพร สธนเสาวภาคย์ และ วินัย ปิติยนต์. 2543ก. ข้อมูลการสำรวจโรงงาน.หน้า 173. ใน โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์มะม่วงเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สถาบันวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

มณฑาทิพย์ ยุ่นฉลาด กาญจนารัตน์ ทวีสุก ชิดชม ฮิรางะ วิภา สุโรธจนะเมธากุล สิริพร สธนเสาวภาคย์ และ วินัย ปิติยนต์. 2543ข. การดองมะม่วงและการแปรรูปเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา. หน้า 178. ใน โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์มะม่วงเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สถาบันวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ. 2546. การประเมินอัตราซ้ำของลักษณะเศรษฐกิจในมะม่วงแก้ว. ว.วิทย.กษ. 34(1-3) (พิเศษ): 145-148.

แปรรูป และต้นตอ. แก่นเกษตร 21(3-4): 131-140.

สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ. 2544. ฐานข้อมูลเชื้อพันธุ์พืชมะม่วง. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 142 หน้า.

สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร. 2547. การผลิตมะม่วงเพื่อส่งออกญี่ปุ่น. เอกสารวิชาการ กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ. 42 หน้า.

สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จ.เชียงใหม่. 2548. วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเตรียมจดทะเบียน. กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ. 4 หน้า.