ผลของธาตุอาหารพืชต่อการเจริญเติบโตของปทุมมา

Main Article Content

โสภิตา ตาปัน
โสระยา ร่วมรังษี

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของธาตุอาหารพืชต่อการเจริญเติบโตของปทุมมา แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 มุ่งศึกษาการเจริญเติบโตและปริมาณการสะสมธาตุอาหารในปทุมมาในระยะการเจริญต่างกัน คือ ระยะเริ่มปลูก 2ระยะเจริญเติบโตทางใบ ระยะออกดอก และ ระยะพักตัว โดยปลูกหัวพันธุ์ปทุมมาในถุงพลาสติกดำขนาด 6x12 นิ้ว ใช้ดินผสมเป็นวัสดุปลูก พบว่า ปทุมมามีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมเพิ่มขึ้นและสูงสุดในระยะพักตัว โดยมีการสะสมธาตุโพแทสเซียมมากที่สุด และสะสมธาตุแมกนีเซียมน้อยที่สุดตลอดระยะเวลาการเจริญเติบโต


การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของไนโตรเจนและโพแทสเซียมต่อการเจริญเติบโตของปทุมมา โดยให้สารละลายธาตุอาหารที่ประกอบด้วยระดับความเข้มข้นของไนโตรเจน 3 ระดับคือ 50, 100 และ 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับโพแทสเซียม 3 ระดับ คือ 50, 100 และ 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลการทดลองพบว่า ไนโตรเจนที่ระดับ 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้ปทุมมามีความสูง จำนวนหน่อต่อกอ ความยาวช่อดอก และจำนวนหัวใหม่ มากกว่าที่ได้รับจากไนโตรเจนระดับอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โพแทสเซียมที่ระดับ 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้ปทุมมามีจำนวนตุ้มรากใหม่ต่อหัวมากที่สุด ส่วนการให้ไนโตรเจน 200 มิลลิกรัมต่อลิตรร่วมกับโพแทสเซียม 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้จำนวนหัวใหม่มากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนในตุ้มรากใหม่ระยะพักตัวเพิ่มมากขึ้นตามระดับไนโตรเจนที่สูงขึ้น แต่ระดับไนโตรเจนที่สูงขึ้นทำให้ความเข้มข้นของโพแทสเซียมในหัวใหม่และตุ้มรากใหม่ลดลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2545. เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับปทุมมา. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ. 22 หน้า.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2547. สถานการณ์พืชเศรษฐกิจปี 2544. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http:// www.doae.go.th/plant/patumma.htm (15 ตุลาคม 2547)

ชิต อินปรา. 2533. อิทธิพลของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่มีต่อการเติบโตของต้นและคุณภาพดอกของบานชื่นที่ปลูกเป็นไม้ตัดดอก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 113 หน้า.

ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล. 2541. โรคหัวเน่าของปทุมมา ปัญหาของการส่งออก. น.ส.พ. กสิกร 71(1): 38-40.

ดุสิต มานะจุติ. 2535. ปฐพีวิทยาทั่วไป. งานส่งเสริมการวิจัยและตำรา กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 350 หน้า.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2543. ธาตุอาหารพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 213 หน้า.

ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย. 2540. การใส่ปุ๋ยและชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการสร้างหัวปทุมมา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http:// www.libserver.doa.go.th/Infosearch/Abstract_Detail.asp. (15 สิงหาคม 2547)

สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2538. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 213 หน้า.

สุรวิช วรรณไกรโรจน์. 2539. ผลของคุณภาพและการเก็บรักษาหัวพันธุ์ต่อการผลิตปทุมมา. รายงานการประชุมทางวิชาการไม้ดอกไม้ประดับแห่งชาติครั้งที่ 2. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 247 หน้า.

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1. 2540. การผลิตปทุมมาเพื่อการส่งออก. น.ส.พ. กสิกร 70(5): 450-456.

Phillips, M.W. and S.A. Barber. 1959. Estimation of available soil potassium from plant analysis. J. Agron. 51: 403-406.

Rajiv, K. and R.L. Misra. 2003. Response of gladiolus to nitrogen, phosphorous and potassium fertilization. (Online). Available: http:// dbonline2.lib.cmu.ac.th/cabi/detail.nsp (15 October 2004).