ผลของไนโตรเจนและแคลเซียมต่อการเติบโตและการสะสมธาตุอาหารในว่านสี่ทิศ

Main Article Content

จักรินทร์ สมบูรณ์
โสระยา ร่วมรังษี

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของธาตุอาหารพืชต่อการเจริญเติบโตของว่านสี่ทิศ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของไนโตรเจน 3 ระดับ (50, 75 และ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร) ต่อการเจริญเติบโตของว่านสี่ทิศ ผลการทดลองพบว่า ระดับความเข้มข้นของไนโตรเจนที่เหมาะสมในการปลูกว่านสี่ทิศจากหัวขนาดเล็กคือ 75 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งทำให้ว่านสี่ทิศมีความสูง และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหัวมากที่สุดเฉลี่ย 57.55 และ 4.45 เซนติเมตร ตามลำดับ การให้สารละลายที่มีความเข้มข้นของไนโตรเจนสูงขึ้น ทำให้ความเข้มข้นของไนโตรเจนในเนื้อเยื่อเพิ่มขึ้นและฟอสฟอรัสมีแนวโน้มลดลง แต่ไม่ได้ทำให้ความเข้มข้นของโพแทสเซียมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของแคลเซียมต่อการเติบโตของว่านสี่ทิศ โดยให้สารละลายธาตุอาหารที่มีระดับความเข้มข้นของแคลเซียม 5 ระดับ คือ 0, 50, 100, 150 และ 200 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า การให้แคลเซียมทำให้พืชมีความสูงมากกว่าต้นที่ไม่ได้รับแคลเซียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่จำนวนใบและขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหัวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พืชที่ได้รับแคลเซียมมีความเข้มข้นของไนโตรเจน โพแทสเซียม และแคลเซียมในเนื้อเยื่อมากขึ้น แต่ความเข้มข้นของฟอสฟอรัสลดลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นภดล เรียบเลิศหิรัญ. 2538. การปลูกพืชไร้ดิน. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ. 100 หน้า.
ยงยุทธ โอสถสภา. 2543. ธาตุอาหารพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 213 หน้า.
วัฒนาวดี จินตภากร. 2542. การเจริญเติบโตของหัวว่านสี่ทิศ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 109 หน้า.
วินัย ภาณุสันฑ์. 2536. ว่านสี่ทิศ (Amaryllis) อุตสาหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ. เคหการเกษตร 16 (12): 21-28.
สมชาย องค์ประเสริฐ. 2531. ปฐพีศาสตร์เบื้องต้น. ภาควิชาดินและปุ๋ย. คณะผลิตกรรมการเกษตร. สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้, เชียงใหม่. 423 หน้า.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2538. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 213 หน้า.
Nautiyal, M.C. and P. N. Bajpai. 1979. Studies on nutritional requirement of Amaryllis (Amaryllis belladonna Linn.) variety Royal Dutch. (Online). Available: http://dbonline2.lib.cmu. ac.th/cabi/detail.nsp (30 October 2004).
Okubu, H. 1993. Hippeastrum (Amaryllis) in The Physiology of Flower Bulbs. Elsevier Science Publisher B. V., Amsterdam. 811 pp.
Rajiv, K. and R.L. Misra. 2003. “Response of Gladiolus to nitrogen, phosphorous and potassium fertilization.” (Online). Available: http://dbonline2.lib.cmu.ac.th/cabi/detail.nsp (15 October 2004).