คุณภาพทางกายภาพและเคมีหลังการเก็บเกี่ยวของ ผลสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 72

Main Article Content

ชัยพิชิต เชื้อเมืองพาน
ดนัย บุณยเกียรติ

บทคัดย่อ

การศึกษาการเจริญเติบโตของผล ลักษณะทางสัณฐานวิทยา สมบัติทางกายภาพ และส่วนประกอบทางเคมีของผลสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 72 ที่มีระยะการพัฒนาสีผิวเป็นสีแดง 25, 50 และ 75 เปอร์เซ็นต์ พบว่า  อายุเฉลี่ยของผลสตรอเบอรี่ที่มีระยะการพัฒนาสีผิว 25, 50 และ 75 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับ 27.13, 28.07 และ 29.03 วันหลังดอกบานเต็มที่ ตามลำดับ  ผลสตรอเบอรี่มีขนาด น้ำหนัก และปริมาตรของผลไม่เพิ่มขึ้นเมื่อระยะการพัฒนาสีผิวเปลี่ยนไปจาก 25 เป็น 50 และ 75 เปอร์เซ็นต์  แต่มีสีผิว สีเนื้อ และเมล็ดมีสีแดงมากขึ้น   ผลสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 72 มีรูปร่างผลส่วนใหญ่เป็นแบบทรงแหลม และตำแหน่งของเมล็ดต่ำกว่าระดับผิวผล  เมื่อนำผลสตรอเบอรี่ที่เก็บเกี่ยวในระยะการพัฒนาสีผิว 25, 50 และ 75 เปอร์เซ็นต์ มาเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 0, 5 และ 10 องศาเซลเซียส เมื่อเก็บรักษาได้ 4 วัน พบว่า ระยะของการเก็บเกี่ยวไม่มีผลกระทบต่อการสูญเสียน้ำหนักสดและปริมาณน้ำตาลทั้งหมด  อย่างไรก็ตามผลสตรอเบอรี่ที่มีการพัฒนาสีผิวมากขึ้น มีค่าความแน่นเนื้อและอัตราการหายใจลดลง  ผลสตรอเบอรี่ที่เก็บเกี่ยวในระยะการพัฒนาสีผิว 75 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ น้ำตาลรีดิวซ์ วิตามินซี และแอนโทไซยานินสูงกว่าผลที่เก็บเกี่ยวในระยะการพัฒนาสีผิว 50 และ 25 เปอร์เซ็นต์  ผลสตรอเบอรี่ที่เก็บเกี่ยวในระยะการพัฒนาสีผิว 25 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณกรดทั้งหมดที่ไทเทรตได้สูงที่สุด  ผลสตรอเบอรี่ที่เก็บเกี่ยวระยะการพัฒนาสีผิว 50 และ 75 เปอร์เซ็นต์ สามารถพัฒนาเป็นสีแดงทั่วทั้งผลได้ดีกว่าการเก็บเกี่ยวที่ระยะ 25 เปอร์เซ็นต์   ผลสตรอเบอรี่ซึ่งเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส มีอัตราการหายใจ การสูญเสียน้ำหนักสด และปริมาณแอนโทไซยานินมากกว่าเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 0 และ 5 องศาเซลเซียส แต่ก็ทำให้มีความแน่นเนื้อต่ำกว่า  ผลสตรอเบอรี่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 และ 10 องศาเซลเซียส มีปริมาณวิตามินซีสูงกว่าที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิที่ใช้ในการเก็บรักษาไม่มีผลกระทบต่อปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ น้ำตาลรีดิวซ์ น้ำตาลทั้งหมด และกรดทั้งหมดที่ไทเทรตได้  ผลตรอเบอรี่ที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิสูงขึ้นสามารถพัฒนาสีผิวและสีเนื้อเป็นสีแดงได้ดีกว่าการเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิต่ำ แต่มีอายุการเก็บรักษาสั้นลง  เอนไซม์เพกทิเนสในผลสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 72 มีกิจกรรมเพิ่มขึ้นตามระยะของการพัฒนาสีผิวเป็นสีแดง และมีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับความแน่นเนื้อของผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริงแท้ ศิริพานิช. 2544. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 396 หน้า.
ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์. 2543. สตรอเบอรี่: พืชเศรษฐกิจใหม่. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 158 หน้า.
ดนัย บุณยเกียรติ. 2540. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของพืชสวน. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 222 หน้า.
ดนัย บุณยเกียรติ และนิธิยา รัตนาปนนท์. 2548. การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 236 หน้า.
Avigdori-Avidov, H. 1986. Strawberry. p. 419-448. In: S. P. Monelise, (ed.). Handbook of Fruit Set and Development. CRC Press, Inc., Boca Raton, Florida.
Ayala-Zavala, J .F., S. W. Wang and G. A. Gonzalez-Aguilar. 2004. Effect of storage temperature on antioxidant capacity and aroma compounds in strawberry fruit. Lebensmittel- Wissenshaft u.-Technologie 37: 687-695.
Azodanlou, R., C. Darbellay, J. L. Luisier, J. C. Villettaz and R. Amado. 2004. Changes in flavour and texture during the ripening of strawberries. European Food Research and Technology 218 : 167-172.
Gross, J. 1982. Change of chlorophylls and carotenoids in developing strawberry fruits (Fragaria annassa) cv. Tenira. Hort. Abstract 52(11): 693.
Lefever, G., M. Vieuille, N. Delage, A. D. Harlingue, J. D. Monteclerc and G. Bompeix. 2004. Characterization of cell wall enzyme activities, pectin composition and technological criteria of strawberry cultivars (Fragaria  ananassa Duch). Food Chemistry and Toxicology 69(4): 221-226.
Li, Y., R. Sakiyama, H. Maruyama and S. Kawabata. 2000. Regulation of anthocyanin biosynthesis during fruit development in ‘Nyoho’ strawberry. Journal of the Japanese Society for Horticultural Science 70: 28-32
Montero, T. M., E. M. Molla, R. M. Esteban and F. J. Lopez-Andreu. 1996. Quality attributes of strawberry during ripening. Scientia Horticulturae 65: 239-250.
Spayd, S. E. and J. R. Morris. 1981. Physical and chemical characteristics of puree from one-over harvested strawberries. Journal of the American Society for Horticultural Science 106: 101-105.