ผลของวิธีการให้แสงไฟต่อการออกดอกนอกฤดูของปทุมมา

Main Article Content

อนงค์ พยัคฆัยหพล
โสระยา ร่วมรังษี

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของสภาพวันยาวต่อการออกดอกนอกฤดูของปทุมมาแบ่งการทดลองเป็น 2 รุ่น รุ่นที่ 1 เริ่มปลูกเมื่อ 12 สิงหาคม 2547 รุ่นที่ 2 ปลูกเมื่อ 4 ตุลาคม 2547 โดยเปรียบเทียบการให้แสงไฟแก่พืชจำนวน 4 กรรมวิธี ได้แก่ 1) การให้แสงไฟแบบต่อเนื่อง นาน 2 ชั่วโมง  2) การให้แสงไฟแบบสลับ (เปิด-ปิด ทุก 15 นาที) นาน 2 ชั่วโมง 3) การให้แสงไฟแบบสลับ (เปิด-ปิด ทุก 15 นาที) นาน 4 ชั่วโมงและ 4) ไม่ให้ night break (ปลูกในสภาพธรรมชาติ) ผลการทดลอง ในรุ่นที่ 1 พบว่ากรรมวิธีที่ได้รับแสงไฟแบบต่อเนื่องนาน 2 ชั่วโมง ทำให้มีจำนวนหน่อต่อกอ จำนวนดอกต่อต้น จำนวนหัวใหม่ เส้นผ่าศูนย์กลางหัวใหม่และน้ำหนักหัวใหม่มากที่สุด ในรุ่นที่ 2 พบว่าการได้รับแสงไฟแบบต่อเนื่องนาน 2 ชั่วโมงทำให้ปทุมมามีความสูงมากที่สุด การได้รับแสงไฟทุกกรรมวิธีทำให้มีอายุการบานของดอกบนต้น ความยาวก้านดอก  และเส้นผ่าศูนย์กลางช่อดอกมากกว่าการปลูกในสภาพธรรมชาติ ซึ่งการปลูกในสภาพธรรมชาติมีจำนวนตุ้มรากสะสมอาหารมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณพล จุฬามณี และ กฤษณา กฤษณพุกต์. 2538. ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการออกดอกและบทบาทของแสงอุณหภูมิและน้ำตาลที่มีผลต่อการพัฒนาของดอกมะลิลาในฤดูหนาว. รายงานการวิจัย. สำนักคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 52 หน้า.

ดนัย บุณยเกียรติ. 2549. การออกดอก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://web.agri.cmu.ac.th/hort/ course/359311/PPHY9_flowering.htm (16 กุมภาพันธ์ 2549).

เปรมปรี ณ สงขลา. 2542. อะเมซิ่งไม้ดอกเมืองร้อน. รายงานการจัดงาน. จัดโดยกรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์, กรุงเทพฯ. 74 หน้า.

พานิชย์ ยศปัญญา. 2543. รวมฮิต ไม้ตัดดอกเมืองร้อน. สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพฯ. 188 หน้า.

สุรวิช วรรณไกรโรจน์. 2539. ผลของคุณภาพและการเก็บรักษาหัวพันธุ์ต่อการผลิตปทุมมา. รายงานการประชุมทางวิชาการไม้ดอกไม้ประดับแห่งชาติครั้งที่ 2. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 247 หน้า.

รัตนะ บัวระวงค์. 2546. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชนิดหลอดไฟต่อการยับยั้งการเกิดตาดอกของเบญจมาศโดยการให้แสงแบบ Night break. หน้า 17-21. ใน: รายงานการประชุมสัมมนานักศึกษาภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่.

อุษา เลปวิทย์ และ อดิศร กระแสชัย. 2537. การศึกษาการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของปทุมมา (Curcuma alismatifolia). ข่าวเกษตร 12(3): 3.

Chang, C.S. 2000. Dormancy in curcuma (Curcuma alismatifolia). (Online). Available: http:// www.tndais.gov.tw/Rbulletin/paper34-3htm (20 May 2004).

Hagiladi, A., N. Umiel and X.H. Yang. 1997. Curcuma alismatifolia. ll. Effects of temperature and day length on the development of flowers and propagules. Acta Horticulturae. 430: 755-761.

Kuehny, J.S., M.J. Sarmiento and P.C.Branch. 2002. Cultural studies in ornamental ginger. (Online). Available: http://www.hort.purdue. edu/newcrop/ncnu02/v5-477.html (20 May 2004).

Ohyama, T., T. Ikarashi and A. Baba. 1985. Nitrogen accumulation in the roots of tulip plants (Tulipa gesneriana) . Soil Sci. Plant Nutr. 31: 581-588.

Ohyama, T., T. Ikarashi and A. Baba. 1986. Analysis of the reserve carbohydrates in bulb scales of autumn planting bulb plant. Jpn. J. Agr. Safety and Nutr. 57: 119-125.

Runkle, E.S., R.D. Heins, A.C. Cameron and W.H. Carlson. 1998. Flowering of herbaceous perennials under various night interruption and cyclic lighting treatments. HortScience 33(4): 672-677.

Smith, D. G.,M. Paulsan and C.A. Raguse. 1964. Extraction of total available carbohydrates from grass and legume tissue. Plant Physiol. 39: 960-962.

Trenholm L.E., A.E. Dudeck, J.B. Sartain, and J.L. Cisar. 1998. Bermudagrass growth, total nonstructural carbohydrate concentration, and quality as influenced by nitrogen and potassium. Crop Science 38(1): 168-174.