การตอบสนองต่อความเค็มระดับต่างๆ ต่อการเจริญ เติบโตของผักโขม

Main Article Content

สมชาย ชคตระการ

บทคัดย่อ

ศึกษาการตอบสนองของผักโขม (Amaranthus dubius) ต่อความเค็มระดับต่าง ๆ ณ โรงเรือนหลังคาพลาสติก ป้องกันน้ำฝนของภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design เป็นการทดสอบความเข้มข้นของสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) 5 ระดับ คือ 0, 0.2, 0.4, 0.6 และ 0.8 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ 1. ศึกษาเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดผักโขมในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ ของสารละลายเกลือโซเดียม   คลอไรด์ และ 2. ศึกษาการเจริญเติบโตของผักโขมในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ  ของสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ จากการทดลองที่ 1 พบว่าเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดของผักโขม มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) โดยเมล็ดที่เพาะในน้ำกลั่น มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด (88.08 เปอร์เซ็นต์) รองลงมาคือเมล็ดที่เพาะในระดับความเข้มข้นของสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ 0.2, 0.4, 0.6 และ 0.8 เปอร์เซ็นต์ (85.58, 78.75, 76.25 และ 64.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) และในการทดลองที่ 2 พบว่า การเจริญเติบโตของผักโขมมีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) โดยความเข้มสีใบและปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบ เพิ่มขึ้นเมื่อมีความเข้มข้นของสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์เพิ่มมากขึ้น ส่วนความสูงต้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น จำนวนใบ และน้ำหนักแห้งของลำต้น ใบ ผลผลิตรวม(ลำต้น+ใบ) และราก นั้นลดลงเป็นสัดส่วนผกผันกันกับเมื่อความเข้มข้นของสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเมื่อระดับความเข้มข้นของสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์เพิ่มขึ้น 0.2, 0.4, 0.6 และ 0.8 เปอร์เซ็นต์ พบว่า ทำให้น้ำหนักแห้งของผลผลิตรวม(ลำต้น+ใบ) ลดลงจากที่รดด้วยน้ำกลั่นอย่างเดียว เท่ากับ 20.14, 25.69, 34.72 และ 36.81 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2527. ความรู้เรื่องดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เอกสารวิชาการ. ฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ. 159 หน้า.

กิตติพัฒน์ อุโฆษกิจ. 2531. การคัดเลือกข้าวสาลีทนเค็มในสารละลายอาหารและในดินเค็ม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 51 หน้า.

ขจรศรี แก้วคล้าย เสาวรี ตังสกุล วิมล ชีพสัจญาณ และทิวา บุบผาประเสริฐ. 2533. เมล็ดผักโขม พืชโปรตีนสูง. วารสารเกษตรศาสตร์ 35(3): 52-61.

จำเป็น อ่อนทอง. 2545. คู่มือการวิเคราะห์ดิน และพืช. เอกสารประกอบการสอน. คณะทรัพยากร ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 168 หน้า.

ไฉน ยอดเพชร. 2529. การเจริญเติบโตและการพัฒนาของพืช. คณะเกษตรศาสตร์ บางพระ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ชลบุรี, กรุงเทพฯ. 350 หน้า.

วิโรจ อิ่มพิทักษ์. 2531. การจัดการดิน เล่มที่ 2: การจัดการดินที่เป็นปัญหา และการจัดการดินในที่ราบและที่ดอนเพื่อการเพาะปลูก. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 607 หน้า.

สมศรี อรุณินท์. 2532. พืชทนเค็ม. วารสารพัฒนาที่ดิน 26(287): 38-46.

สมศรี อรุณินท์. 2539. ดินเค็มในประเทศไทย. เอกสารวิชาการ. กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ. 275 หน้า.

สรวงสุดา สีอ่อน. 2543. ผลของเกลือโซเดียมคลอไรด์ต่อสรีรวิทยาของมะเขือเทศ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 126 หน้า.

สันติภาพ ปัญจพรรค์ และมงคล ต๊ะอุ่น. 2540. อิทธิพลของระดับความเค็มต่อการเจริญเติบโตของไม้ผลบางชนิดที่สามารถขึ้นได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อการเพิ่มพูนรายได้ของเกษตรกร ลดการแพร่กระจายดินเค็ม และการอนุรักษ์ดินและน้ำ. ภาควิชาปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 32 หน้า.

สัมฤทธิ์ เศรษฐวงศ์. 2546. ฮอร์โมนและการใช้ ฮอร์โมนกับไม้ผล. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 144 หน้า.

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ บุญล้อม ชีวะอิสระกุล บรรจง วงศ์เรือง ยงเส็ง หล่อเรืองศิลป์ และถาวร ชื่นใจ. 2541. การใช้ผักโขมเป็นแหล่งโปรตีนและพลังงานในอาหารสัตว์ปีก. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 35 หน้า.

สุนทร ดุริยะประพันธ์ พนัส บูรณศิลปิน จิราภรณ์ วัฒนะกุล สามารถ จิตนาวสาร และสายันต์ ตันพานิช. 2530. ผักโขม พืชโปรตีนในอนาคต. เอกสารวิชาการ. สาขาวิจัยอุตสาหกรรมการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ. 38 หน้า.

Awad, A.S., D.G. Edwards and L.S. Campbell. 1990. Phosphorus enhancement of salt tolerance of tomato. Crop Science 30: 123-128.

Bunce, J.A. 1977. Leaf elongation in relation to leaf water potential in soybean. Journal of Experimental Botany 28: 156-161.

Buwalda, J.G. and G.S. Smith. 1992. Acquisition and utilization of carbon, mineral nutrient and water by the kiwi fruit vines. Horticulture Review 13: 307-347.

Chartzoulakis, K.S. 1994. Photosynthesis, water relation and leaf growth of cucumber exposed to salt stress. Scientia Horticulturae 59: 27-35.

Frett, J.J., H.G. Pill and D.C. Morneau. 1991. A comparison of priming agents for tomato and asparagus seeds. HortScience 26(9): 1158-1159.

Greenway, H. and R. Munns. 1980. Mechanism of salt tolerance in nonhalophytes. Annual Review of Plant Physiology 31: 149-190.

Jones, L.H. 1961. Some effects of potassium deficiency on the metabolism of the tomato plant. Canadian Journal of Botany 39: 593-606.

Kurth, F., G.R. Cramer, A. Lauchli and I. Epstem. 1986. Effect of Nacl and CaCl2 on cell enlargement and cell production in cotton roots. Plant Physiology 82: 1102-1106.

Leonor, C., M. Balzarini, E. Taleisnik, R. Sereno and U. Karlin. 1994. Effects of salinity on germination and seedling growth of Prosopis flexuosa. Forest Ecology and Management 63(2-3): 347-357.

Maggio A., S. De Pascale, C. Ruggiero and G. Barbieri. 2005. Physiological response of field-grown cabbage to salinity and drought stress. European Journal of Agronomy 23(1): 57-67.

Mengel, K. and E.A. Kirkby. 1982. Principles of Plant Nutrition. International Potash Institute. Bern, Switzerland.

Shannon, M.C. 1984. Breeding, selection and the genetics of salt tolerance. pp. 231-254. In: R.C. Staples and G.H. Toenniessen. (eds.). Salinity Tolerance in Plants. John Wiley & Sons, New York.

Slatyer, R.O. 1961. Diagnosis and improvement of saline and alkali soils. USDA Handbook No. 60, USA.

Snapp, S.S. and C. Shennan. 1994. Salinity effects on root growth and senescence in tomato and the consequences for severity of phytophthora root rot infection. Journal of the American Society for Horticultural Science 119(3): 458-463.

Snapp, S.S., C. Shennan and A.H.C. van Bruggen. 1991. Effects of salinity on severity of Phytophthora parasitica Dast., ion concentrations and growth of tomato, Lycopersicon esculentum Mill. New Phytologist 119: 275-284.

Sultana, N., T. Ikeda and R. Itoh. 1999. Effect of NaCl salinity on photosynthesis and dry matter accumulation in developing rice grains. Environmental and Experimental Botany 42(2): 211-220.

Thomson, L.A.J., J.D. Morris and G.M. Halloran. 1987. Salt tolerance in Eucalyptus. Paper presented at International Symposium on Afforestation of Salt Affected Soils. Central Soil Salinity Research Institute. Karnal, India. 46 pp.

Zekki, H., L. Gauthier and A. Gosselin. 1996. Growth, productivity, and mineral composition of hydroponically cultivated greenhouse tomatoes with or without nutrient solution recycling. Journal of American Society for Horticultural Science 121(6): 1082-1088.