สมรรถภาพการให้ผลผลิตของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงในหมู่บ้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในชนบท พื้นที่บ้านขัวมุง ต.แม่แฝกใหม่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ จำนวน 36 ราย มีแม่ไก่ทั้งหมด 273 ตัว ตลอดระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2546 ถึงเดือนมกราคม 2547 ผลปรากฏว่าแม่ไก่ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 49.1 ให้ไข่ปีละ 3 ตับ รองลงมาให้ไข่จำนวน 4 และ 5 ตับ (14.8 และ 13.8 %) ตามลำดับ เมื่อเฉลี่ยทั้งปีจะให้ไข่ ได้3.41 ตับ (ชุด) โดยมีจำนวนไข่ที่ได้ 39.14 ฟอง และจำนวนลูกไก่ 24.84 ตัว ซึ่งเฉลี่ยต่อตับไข่แล้ว จะได้จำนวนไข่ และลูกไก่ เท่ากับ 11.60 ฟอง และ 7.08 ตัว ตามลำดับ โดยมีอัตราการฟักออกเฉลี่ยร้อยละ 61.17 เกษตรกรมีการบริโภคและจำหน่ายไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงในรอบหนึ่งปี เฉลี่ยครอบครัวละ 72.03 และ 84.47 ตัว โดยมีรายได้จากการจำหน่ายเท่ากับ 3,879.82 บาท หรือเมื่อเฉลี่ยต่อแม่ไก่ 1 ตัวแล้ว การเลี้ยงแม่ไก่จะได้ลูกไก่สำหรับบริโภคและจำหน่ายเท่ากับ 9.54 และ 10.88 ตัวต่อแม่ ตามลำดับ มีรายได้จากการจำหน่าย 503.48 บาทต่อแม่ ปัจจัยของฤดูกาลที่มีผลต่อการให้ผลผลิตและการสูญเสียของไก่พื้นเมือง พบว่า ไก่พื้นเมืองจะให้จำนวนไข่และลูกไก่ต่อตับสูงที่สุด ในช่วงฤดูหนาว คือ 15.11 ฟอง และ 9.95 ตัว รองลงมาได้แก่ ฤดูฝน และ ฤดูร้อน ตามลำดับ สำหรับอัตราการฟักออกนั้น ฤดูหนาวก็มีอัตราการฟักออกสูงกว่าในฤดูร้อน และฝน ส่วนอัตราการตายของลูกไก่ พบว่ามีการตายสูงที่สุดถึงร้อยละ 53.34 ในฤดูร้อน โดยในฤดูฝนและฤดูหนาวมีการตายร้อยละ 27.02 และ 19.64 ตามลำดับ
Article Details
References
กองบำรุงพันธุ์สัตว์. 2545. โครงการอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนไก่พื้นเเมืองไทย.เอกสารประกอบการประชุมระดมความคิดแนวทางการอนุรักษ์และปรับปรุงไก่พื้นเมือง. ณ โรงแรมทวาราวดี. จังหวัดปราจีนบุรี.
เกรียงไกร โชประการ. 2544. ไก่พื้นเมือง: ปัจจุบันและอนาคต. หน้า 249 – 254. ใน: เอกสารประกอบ การสัมมนาวิชาการ “ไก่พื้นเมือง: โจทย์วิจัยและแนวทางการพัฒนาในอนาคต”. คณะเกษตร ศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
เชิดชัย รัตนเศรษฐากุล, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์, พิชญ์รัตน์ แสนไชยสุริยา, สุวัฒน์ จิตต์ปราณีชัย, กัลยา เจือจันทร์, ศิลธรรม วราอัศวปติ, กิติกรณ์ เจนไพบูลย์, กิตติ กุบแก้ว และสำราญ วิจิตรพันธ์. 2541. การเผยแพร่เทคโนโลยีการผลิตไก่พื้นเมืองและลูกผสม. รายงานวิจัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น, ขอนแก่น. 221 หน้า.
ประภัสสร วุฒิปราณี. 2543. เทคโนโลยีที่จำเป็นในการพัฒนาการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกร: ศึกษากรณีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 92 หน้า.
พิทยา นามแดง. 2534. ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการตายของไก่พื้นเมือง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น 43 หน้า.
วิโรจน์ ชลวิริยะกุล, หรรษา ฐิติโภคา และ สุมาลี ไหล-รุ่งเรือง. 2531. การผลิตไก่พื้นเมืองในระบบการทำฟาร์มเขตเกษตรน้ำฝน. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการเกษตรไก่พื้นเมืองครั้งที่ 2 ณ หอประชุมสำนักงานการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ขอนแก่น. 16 หน้า.
สวัสดิ์ ธรรมบุตร, พิทยา นามแดง และ วีระชัย โพธิวาระ. 2531. การเลี้ยงไก่พื้นเมืองในระบบของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการเกษตรไก่พื้นเมืองครั้งที่ 2 ณ หอประชุมสำนักงานการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ขอนแก่น. 10 หน้า.
อำนวย เลี้ยวธารากุล, พัชรินทร์ สนธิ์ไพโรจน์ และจารุณี ปัญญาวีร์. 2541. อิทธิพลของพันธุ์, ฤดูกาล, และวิธีการผสมพันธุ์ที่มีผลต่อการฟักไข่ในตู้ฟักไข่. หน้า 133 – 139. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2539 - 2540. ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ สำนักงานปศุสัตว์เขต 5, เชียงใหม่.
North, M. O. 1984. Commercial Chicken Production Manual. 3rd ed. AVI Publishing Company, Inc., Westport, Connecticut. 711 pp.
SAS. 1990. SAS User’s Guide: Statistics. SAS Institute, Inc., North Carolina. 548 pp.