ความยากจนและการกระจายรายได้ของเกษตรกรในศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ปี พ.ศ. 2548

Main Article Content

พรสิริ สืบพงษ์สังข์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ภาวะความยากจนและการกระจายรายได้ของเกษตรกรในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงในปี พ.ศ. 2548  โดยใช้ข้อมูลเศรษฐกิจสังคมของเกษตรกรตัวอย่างจำนวน 2610 ราย ใน 36 ศูนย์ฯ เพื่อชี้สภาพทั่วไปและรายได้ของเกษตรกร และเพื่อวิเคราะห์ความยากจน และการกระจายรายได้โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์จินี่ ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์ฯ ร้อยละ 69 มีรายได้ที่เป็นตัวเงินต่ำกว่าเส้นความยากจน และมีค่าสัมประสิทธิ์จินี่เท่ากับ 0.48 ซึ่งแสดงว่าการกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกันสูง สรุปได้ว่าเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์ฯ ยังจัดอยู่ในกลุ่มที่ต้องได้รับการพัฒนาโดยมุ่งประเด็นการขจัดปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล งามสมสุข และนรินทร์ชัย พัฒนพงศา. 2543. สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปี พ.ศ. 2543. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 370 หน้า.

ดุษฎี ณ ลำปาง, ลักษมี วรชัย, วรทัศน์ อินทรัคคัมพร และพรสิริ สืบพงษ์สังข์. 2548. สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปี พ.ศ.2548. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 340 หน้า.

เมธี ครองแก้ว. 2523. รัฐบาลกับช่องว่างทางรายได้ของประชาชน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ. 158 หน้า.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2548. เครื่องชี้วัดสภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ: ตารางที่ 33 เส้นความยากจน สัดส่วน จำนวนคนจน ช่องว่างความยากจน และความรุนแรงของปัญหาความยากจน พ.ศ. 2535-2547. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http:// service.nso.go.th/nso/data/data05/eco01-12/chart_table/tab9-33.pdf (3 กันยายน 2548).