การควบคุมทางพันธุกรรมของปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดข้าว

Main Article Content

เพ็ญนภา จักรสมศักดิ์
เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม
ศันสนีย์ จำจด

บทคัดย่อ

งานทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการควบคุมทางพันธุกรรมของปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดข้าว (Oryza sativa L.)  โดยใช้พันธุ์พ่อแม่ที่มีปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดสูง ได้แก่ CMU122 และ IR68144 และพันธุ์พ่อแม่ที่มีปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดต่ำ ได้แก่ KDML105, KDK และ CNT1 ทำการทดลองที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2547 สร้างลูกผสม ได้ลูกผสมชั่วที่ 1 จำนวน 5 คู่ ได้แก่ CMU122 x CNT1, CMU122 x KDML105, CMU122 x IR68144, IR68144 x CNT1 และ KDML105 x KDK ปลูกลูกผสมชั่วที่ 1 และพันธุ์พ่อแม่ จำนวนพันธุ์ละ 2 กระถาง กระถางละ 10 ต้น เมื่อถึงระยะสุกแก่นำเมล็ดมาวิเคราะห์ปริมาณธาตุเหล็ก พบว่าในคู่ผสม CMU122 x IR68144 และ IR68144 x CNT1 มีปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดสูงเทียบเท่ากับพันธุ์พ่อแม่เหล็กสูง ส่วนคู่ผสม CMU122 x KDML105 และ CMU122 x CNT1 มีค่าอยู่กึ่งกลางระหว่างพ่อ แม่ และยังมีค่าใกล้เคียงกับพันธุ์ CMU122 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดสูง ดังนั้นการแสดงออกของปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดข้าวถูกควบคุมโดยยีนแบบข่มไม่สมบูรณ์จนถึงข่มแบบสมบูรณ์ ในกรณีที่มีการแสดงออกแบบข่มของยีน (dominance) ในการคัดเลือกพันธุ์นั้น จำเป็นต้องมีการปลูกทดสอบในรุ่นลูกเพื่อคัดเลือกลักษณะปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดสูง ในประชากรที่มีการกระจายตัว ตัวอย่างเช่น ประชากรที่ได้จากการผสมพันธุ์ในชั่วต้น ๆ และประชากรจากการผสมกลับ ในโครงการปรับปรุงพันธุ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

อุทุมพร สิทธิสิงห์, Marc Van der Putten, สาคร ธนมิตต์ และแสงโสม สีนะวัฒน์. 2545. การวิจัยปฏิบัติการในการควบคุมและป้องกันภาวะพร่อง/ขาดธาตุเหล็กและโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ในโรงงานอุตสาหกรรม จ. ฉะเชิงเทรา. กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

Delhaize E., B. Dell, G. Kirk, J. Loneragan, R. Nable, D. Plaskett and M. Webb.1984. Manual of Research Procedures. First edition. Plant Nutrition Research Group, School of Environmental and Life Science. Murdoch University, Australia.

Graham R.D., R.M. Welch and H.E. Bouis. 2001. Addressing micronutrient malnutrition through enchancing the nutritional quality of staple foods: Principles, perspectives and knowledge gaps. Adv. Agron. 70: 77-142.

Gregorio G.B. 2002. Progress in breeding for trace mineral in staple crops. J. Nutr. 132: 500s-502s.

Gregorio G.B., D. Senadhira, H. Htut and R.D. Graham. 2000. Breeding for trace mineral density in rice. Food Nutr. Bull. 21: 382-386.

Prom-u-thai C. 2003. Iron (Fe) in Rice Grain”. Ph.D. Thesis, Chiang Mai University, Chiang Mai. 227 pp.

Prom-u-thai C. and B. Rerkasem. 2001. Grain iron concentration in Thai rice germplasm. Development of Plant and Soil Science 92: 350-351.

Senadhira D., G.B. Gregorio and R.D. Graham.1998. Breeding iron and zinc-dense rice. Paper presented at the International Workshop on Micronutrient Enhancement of Rice for Developing Countries, Rice Research and Extension Center, Stuttgart.

World Health Organization. 2000. Reduction of iron deficiency and anemia (IDA). Progress report in a global agenda for combating malnutrition. Nutrition for Health and Development (NHD), WHO, Geneva.