ความแปรปรวนของปริมาณธาตุเหล็กภายในและระหว่างพันธุ์ของข้าวพื้นเมืองไทย

Main Article Content

ทรายคำ ปินตาเสน
ชนากานต์ พรมอุทัย
ศันสนีย์ จำจด
เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม

บทคัดย่อ

งานทดลองนี้ได้ตรวจสอบความแปรปรวนของปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดในพันธุ์ข้าวพื้นเมืองโดยรวบรวมพันธุ์ข้าวจำนวน 17 พันธุ์ จากเกษตรกรทั้งหมด 66 ราย จากหมู่บ้านห้วยทิชะ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยการย้อมสีเมล็ดข้าวกล้องในแต่ละตัวอย่างด้วยวิธีเพิร์ล พรัสเชียนบลู (Perls’ Prussian blue )โดยเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์ IR68144 (พันธุ์ที่มีปริมาณเหล็กในเมล็ดสูง) และพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 (KDML105) (พันธุ์ที่มีปริมาณเหล็กในเมล็ดต่ำ) พบว่าพันธุ์บือบ้าง บือกั๊วะ และบือกี่ มีปริมาณธาตุเหล็กอยู่สูง โดยทั้ง 3 พันธุ์มีการติดสีย้อมเพิร์ล พรัสเชียน บลู แตกต่างกันภายในแต่ละตัวอย่าง ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นของเหล็กในเมล็ด คัดเลือกตัวอย่างที่มีปริมาณเหล็กในเมล็ดสูงมาพันธุ์ละ 2 ตัวอย่าง นำมาปลูกทดสอบรุ่นลูก จำนวน 30 ต้น ในแต่ละตัวอย่าง พบว่า ระหว่างต้นในแต่ละตัวอย่างมีความแตกต่างกัน ในหลายลักษณะ อาทิ สียอดดอก สีกลีบรองดอก สีเยื่อหุ้มเมล็ด และสีเปลือก นอกจากนั้นเมล็ดที่ได้จากการปลูกทดสอบรุ่นลูกแต่ละต้นเมื่อวิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นของธาตุเหล็กในเมล็ดพบว่ามีปริมาณเหล็กในเมล็ดอยู่สูงตั้งแต่ 9.5 ถึง16 มิลลิกรัมเหล็กต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้งของข้าวกล้อง การทดลองนี้ได้แสดงให้เห็นความหลากหลายทางพันธุกรรม ของปริมาณเหล็กภายในประชากรข้าวพันธุ์พื้นเมือง  ในเชื้อพันธุ์ข้าวที่มีชื่อต่างกัน ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ข้าวชื่อเดียวกันจากเกษตรกรหลายรายในหมู่บ้านเดียวกัน และระหว่างเมล็ดในเชื้อพันธุ์เดียวกัน ซึ่งควรต้องระมัดระวังในการหาและใช้แหล่งของพันธุกรรมข้าวพื้นเมือง ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทรายแก้ว มีสิน. 2547. โครงสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 107 หน้า.

Baker, J.R.1958. Principles of biological micro-technique. A study of fixation and dyeing. Methuen, London. 304 pp.

Delhaize, E., B. Dell, G. Kirk, J. Loneragan, R. Nable, D. Plaskett and M. Webb 1984. Manual of Research Procedures. First edition. Plant Nutrition Research Group, School of Environmental and Life Science. Murdoch University, Australia.

International Food Policy Research Institute. (IFPRI) 1999. World Food Prospects: Critical Issue for the Early Twenty-first Century. IFPRI, Washington, D.C.

Krishnan, S., G.A.I. Ebenezer and P. Dayanadan. 2001. Histochemical localization of stroage components in caryopsis of rice (Oryza sativa L.). Current Science 80: 567-571.

Liang J.F., M.J.R. Nout and R.J. Hamer. 2005. Variation of phytic acid, iron and zinc in rice in China. pp. 400-401. Proceedings of the 15th International Plant Nutrition Colloquium, Beijing, China.

Prom-u-thai, C., and B. Rerkasem. 2001. Iron concentration in Thai rice germplasm. Development of Plant and Soil Science 92: 350-351.

Prom-u-thai, C., B. Dell, G. Thomson and B. Rerkasem. 2003. Easy and rapid detection of iron in rice grain. Science Asia 29: 213-217.

Senadhira, D., G. Gregorio and R.D. Graham. 1998. Breeding iron and zinc dense rice. Paper presented at the International Workshop on Micronutrient Enhancement of Rice for Developing Countries. Rice Research and Extension Center, Stuttgart.

Welch, R.M. and R.D. Graham. 2002. Breeding crops for enhanced micronutrient content. Plant and Soil 245: 205-214.