การวิเคราะห์การเจริญเติบโตของลูกผสมชั่วที่ 1 ของข้าวสาลี

Main Article Content

วรรธนะพงศ์ จันทร์อินทร์
สุทัศน์ จุลศรีไกวัล
จักรี เส้นทอง
ดำเนิน กาละดี

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์การเจริญเติบโตของลูกผสมชั่วที่ 1 ของข้าวสาลีได้ทำการวิจัยที่แปลงทดลองภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้ข้าวสาลี 4 พันธุ์ ได้แก่พันธุ์ CMU 88-8  CMU 94-9  ฝาง 60  และ  สะเมิง 2 เป็นพันธุ์พ่อ-แม่ ทำการสร้างลูกผสมชั่วที่ 1 ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2544 ถึงเดือนมีนาคม 2545 ต่อมาได้ทำการปลูกลูกผสมชั่วที่ 1 ร่วมกับพันธุ์พ่อ-แม่เพื่อวิเคราะห์อัตราการเจริญเติบโต โดยทำการทดลองระหว่างเดือน ธันวาคม 2545 ถึงเดือน มีนาคม 2546 ผลการศึกษาพบว่าลูกผสมชั่วที่ 1 ให้ค่าเฉลี่ยของผลผลิตต่อต้นสูงกว่าพันธุ์พ่อ-แม่ เนื่องจากมีอัตราการเจริญเติบโตรวม อัตราการเจริญเติบโตของรวงและประสิทธิภาพของการถ่ายเทสารสังเคราะห์ไปสู่รวงดีกว่าพันธุ์พ่อ-แม่ การศึกษาเกี่ยวกับพันธุกรรมพบว่าพันธุ์ CMU 94-9 มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปที่ดีของลักษณะ ผลผลิตต่อต้น อายุออกดอก ช่อดอกย่อยต่อรวง น้ำหนัก 100 เมล็ด และ ความสูงของลำต้น พันธุ์ ฝาง 60 มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปที่ดีของลักษณะ ผลผลิตต่อต้น อายุออกดอกและความสูงของลำต้น ส่วนลูกผสมชั่วที่ 1 ทีมีความสามารถในการรวมตัวเฉพาะที่ดีของลักษณะ ผลผลิตต่อต้น ได้แก่คู่ผสม สะเมิง 2 x ฝาง 60 และ CMU 94-9 x ฝาง 60 ผลการศึกษานี้ยังพบอีกว่า อายุออกดอก ความสูงของลำต้น และ จำนวนช่อดอกย่อยต่อรวง ถูกความคุมด้วยยีนส์แบบผลบวก ขณะที่ขนาดเมล็ดและผลผลิตต่อต้นถูกควบคุมด้วยยีนส์ทั้งแบบผลบวกและไม่เป็นผลบวก จากผลการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า ลูกผสมชั่วที่ 1 ของข้าวสาลีมีความดีเด่นของลักษณะทางสรีรวิทยา โดยเฉพาะอัตราการเจริญเติบโตรวม อัตราการเจริญเติบโตของรวง และ ประสิทธิภาพของการถ่ายเทสารสังเคราะห์ไปสู่รวงที่ดีกว่าพันธุ์พ่อ-แม่ ดังนั้นในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวสาลีให้ได้ผลผลิตสูงและได้ผลดีจึงควรนำลักษณะทางสรีรวิทยามาร่วมพิจารณาประกอบการคัดเลือกด้วยโดยเฉพาะการคัดเลือกพันธุ์ข้าวสาลีที่มีการถ่ายเทสารสังเคราะห์ไปสู่รวงเพื่อการสร้างเมล็ดที่มีขนาดใหญ่ และ มีน้ำหนักเมล็ดที่สูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรี เส้นทอง. 2539. พลวัตการผลิตพืช. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ชยา สักกะภู และ วรีพร โพธิ์จีน. 2543. การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจการผลิตข้าวสาลีในประเทศไทย. หน้า 143 – 150. รายงานการสัมมนาวิชาการธัญพืชเมืองหนาวแห่งชาติครั้งที่ 20, 10 – 12 มกราคม 2543 ณ โรงแรมเวียงจันทร์, เชียงราย.
นงเยาว์ จันทร์อินทร์. 2545. การวิเคราะห์การเจริญเติบโตของถั่วอะซูกิที่มีความแตกต่างทางพันธุกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
นารีณัฐ รุณภัย และ วรีพร โพธิ์จีน. 2545. เศรษฐกิจการผลิตและการตลาดธัญพืชเมืองหนาวในประเทศไทย. หน้า 1-12. รายงานการสัมมนาวิชาการธัญพืชเมืองหนาวแห่งชาติครั้งที่ 21 เรื่อง พัฒนาเพื่อการผลิต การตลาด และการแปรรูปธัญพืชเมืองหนาวในระดับท้องถิ่น. วันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2545 ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
Chen, X., W. Sorajjapinun, S. Reiwthongchum and P. Srinives. 2003. Identification of parental mungbean lines for production of hybrid varieties. Chiang Mai University Journal 2(2): 95 – 105.
Gardner, F. P., R. B. Pearce and R. L. Mitchell. 1985. Physiology of Crop Plants. Iowa State Univ. Press, Ames.
Griffing, B. 1956. Concept of general and specific combining ability in relation to diallel crossing system. Aust. J. Biol. Sci. 9: 463 – 493.
Machado S., E. D. Bynum, J. R., T. L. Archer, R. J. Lascano, L. T. Wilson, J. Bordovsky, E. Segarra, K. Bronson, D. M. Nesmith and W. Xu. 2002. Spatial and temporal variability of corn growth and grain yield implications for site – specific farming (Online). Available: http://crop.scijournals.org/cgi/conent/full/425/1564. (2004 , May 7)
Senthong, C. 1979. Growth analysis in several peanut cultivars and the effect of peanut root–knot nematode (Meloidogyne arenaria) on peanut yield. Ph. D. dissertation, Univ. of Florida, Gainesville, U.S.A.