สัณฐานวิทยาและจำนวนโครโมโซมลางสาดพื้นเมืองลับแล

Main Article Content

พิชัย ใจกล้า
สุทธิรัตน์ ปาลาศ

บทคัดย่อ

การศึกษาลางสาดพื้นเมืองใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลฝายหลวง ตำบลนานกกก และตำบลแม่พูล ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า มีลักษณะสัณฐานวิทยาเป็นไม้ยืนต้นลำต้นตรง เปลือกเรียบสีเขียวอมน้ำตาล ใบประกอบเรียงสลับแบบขนนกปลายคี่ รูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบเฉียง ขอบใบเป็นคลื่น ช่อดอกออกเป็นกระจุกยาว 15 – 20 เซนติเมตร เป็นช่อเชิงลด ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีสูตร  gif.latex?\oplus K(5)  C(5)  A10G(5) ผลติดกันเป็นพวงสลับแน่นบนก้านช่อดอก ผลมีรูปร่าง กลมรี ผิวเปลือกสีเหลืองอ่อน เปลือกบาง เมล็ดมีขนาดใหญ่ จำนวน 1 – 2 เมล็ดต่อผล เนื้อสีขาวโปร่งแสง  จำนวนโครโมโซมของลางสาดพื้นเมือง คือ  2n = 24

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัสศรี นวลศรี สมปอง เตชะโต มงคล แซ่หลิม และ วิจิตต์ กรรณชิต. 2545. การศึกษาจำนวนโครโมโซม การแยกพันธุ์โดยเทคนิค RAPD และความเป็นไปได้ในการผสมข้ามระหว่างลองกอง ลางสาด และดูกู. รายงานวิจัย ภาควิชา
พืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 52 หน้า.
มงคล แซ่หลิม. 2538. พันธุ์และลักษณะประจำพันธุ์ของพืชสกุลลางสาด. ว.แก่นเกษตร 23(2): 59-66.
สลิลรัตน์ วิชัยพานิช. 2543. การเลือกใช้เนื้อเยื่อและเวลาเพื่อการศึกษาโครโมโซมลําไย. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 26 หน้า.
สำนักงานเกษตรอำเภอลับแล. 2547. ลางสาดและลองกอง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.thai.net/lablae_ag/long&lang.htm (27 กุมภาพันธ์ 2547)
Dyer, A.F. 1979. Investigating Chromosomes. Edward Arnold Ltd., London. 138 pp.
Ramingwong, K. 2001. Systematic of Economic Fruit Plants. Department of Horticulture, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, Chiang Mai. 222 pp.