ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากตะไคร้หอมในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าในมะม่วงและโรคโคนเน่าในผัก

Main Article Content

แววจันทร์ พงค์จันตา
พัชราพร ไชยชนะ
พิทยา สรวมศิริ

บทคัดย่อ

จากการศึกษาตะไคร้หอม (Cymbopogon nardus (L.) Rendle) โดยการนำใบตะไคร้หอมสด ใบที่ผึ่งไว้ 3 วัน และใบแห้ง มาทำการสกัดด้วยเอทธานอล พบว่า ใบตะไคร้หอมที่ผึ่งไว้ 3 วัน จะได้ร้อยละของผลผลิตสารสกัดหยาบมากที่สุด เท่ากับ 8.40 ส่วนตะไคร้หอมสด และแห้ง มีร้อยละของผลผลิตเท่ากับ 3.90 และ 5.71 ตามลำดับ เมื่อนำสารสกัดหยาบดังกล่าวมาตรวจสอบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา  Colletotrichum gloeosporioides  และ Botryodiplodia theobromae  ที่เป็นสาเหตุโรคแอนแทรคโนสและโรคขั้วผลเน่าของมะม่วง พบว่า สารสกัดหยาบจากใบตะไคร้ที่ผึ่งไว้และใบแห้งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioides ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ที่ระดับความเข้มข้น 2,500 ppm สำหรับผลการทดสอบกับเส้นใยเชื้อรา B. theobromae  ปรากฏว่า สารสกัดหยาบจากตะไคร้หอมสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้สมบูรณ์ที่ระดับความเข้มข้น 5,000 ppm ส่วนฤทธิ์ยับยั้งการเจริญกับเส้นใยเชื้อรา Rhizoctonia sp. ที่เป็นสาเหตุของโรคโคนเน่าในกล้าผัก  ตระกูลกะหล่ำ พบว่า สารสกัดหยาบจากใบตะไคร้หอมที่ผึ่งไว้ สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้สมบูรณ์ที่ระดับความเข้มข้นเพียง 500 ppm

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตติมา ชีวะตระกูลพงษ์ และ นพงษ์ จามิกรานนท์. 2543. การศึกษาสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ต้นเปรียบเทียบกับตะไคร้หอม. ปัญหาพิเศษภาควิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 42 หน้า.

ธรรมศักดิ์ สมมาตย์. 2543. สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ. 371 หน้า.

พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ สุนทร ดุริยะประพันธ์ ทักษิณ อาชวาคม สายันต์ ตันพานิช ชลธิชา นิวาสประกฤติ และ ปรียนันท์ ศรสูงเนิน. 2544. ตะไคร้หอม. หน้า 143-149. ทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 19 พืชที่ให้น้ำมันหอม. สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. จตุจักร, กรุงเทพฯ.

รัศมิกร สิงห์เจริญ. 2540. การศึกษาสารสกัดจากตะไคร้หอม มะแข้ง มะเขือพวง และมะเขือเทศ ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา ภาค วิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่.

อัญชลี สงวนพงษ์. 2545. สารทุติยภูมิจากพืชพื้นเมืองในการป้องกันและกำจัดศัตรูทางการเกษตร. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 33(4-5): 101-109.