ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อราแป้งใน Tribe Phyllactinieae ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

วนิตดา วัฒนวรวิทย์
Susumu Takamutsu
ชัยวัฒน์ โตอนันต์

บทคัดย่อ

การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อราแป้งใน Tribe Phyllactinieae ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย และหาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม โดยวิเคราะห์จากลำดับเบสของ rDNA ตรงตำแหน่ง ITS และ 28S สามารถหาลำดับเบสของเชื้อราได้ 13 ชนิด และเปรียบเทียบกับข้อมูลของเชื้อราแป้งใน Tribe Phyllactinieae ที่รายงานไว้ใน DNA Databank of Japan (DDBJ) โดยวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Clustal X และคำนวณหาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม โดยสร้าง phylogenetic tree ด้วยวิธี maximum parsimony พบว่า เชื้อราที่พบบนพืชอาศัยทั้ง 13 ชนิดนั้นมี 9 ชนิดที่จัดอยู่ใน genus Ovulariopsis ส่วนอีก 4 ชนิดที่เหลือจัดอยู่ใน genus Oidiopsis  โดยที่เชื้อรา Ovulariopsis sp. จำนวน 9 ชนิดนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 กลุ่ม และเชื้อรา Oidiopsis นั้น จัดเป็นกลุ่มเดียวกันคือ จัดเป็นเชื้อรา Leveillula taurica  นอกจากนี้ ยังพบว่าจากตัวอย่างพืชทั้ง 15 ชนิดนี้มีมากถึง 13 ชนิดที่เป็นการรายงานพบครั้งแรกในประเทศไทย และในจำนวน 13 ชนิดนี้มี  2 ชนิดที่เป็นการรายงานพบครั้งแรกในโลก ซึ่งจากการศึกษาเชื้อราแป้งในครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ได้นำเอาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและข้อมูลที่ได้จากการศึกษาลำดับเบสตรงตำแหน่ง ITS และ 28S ของ rDNA เพื่อใช้ในการศึกษาถึงวิวัฒนาการ และใช้ในการจำแนกชนิดของเชื้อราในกลุ่ม Tribe Phyllactinieae

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Braun, U. 1987. A monograph of the Erysiphales (powdery mildews). Beihefte zur Nova Hedwigia Supple. 89. 700 pp.
Felsenstein, J. 1985. Confidence limits on phylogenies: An approach using the bootstrap. Evolution 39: 783-791.
Giatgong, P. 1980. Host Index of Plant Disease in Thailand. Mycology Branch, Plant Pathology and Microbiology Division, Department of Agriculture, Bangkok. 118 pp.
Hirata, K. 1942. On the shape of the germ tubes of Erysiphaceae. Bull. Chiba Coll. Hort. 5: 34-49.
Hirata, K. 1955. On the shape of the germ tubes of Erysiphaceae (II). Bull. Fac. Agric. Niigata Univ. 7: 24-36.
Hirata, T. and S. Takamutsu. 1996. Nucleotide sequence diversity of rDNA internal transcribed spacers extracted from conidia and cleistothecia of several powdery mildew fungi. Mycoscience 37: 283-288.
Kishino, H. and M. Hasegawa. 1989. Evaluation of the maximum likelihood estimate of the evolutionary tree topologies from DNA sequence data, and the branching order in Hominoidea. J. Mol. Evol. 29: 170-179.
Shin, H. D. 2000. Erysiphaceae of Korea. Department of Agricultural Biology, Korea University, Seoul. 320 pp.
Swofford, D. L. 2001. PAUP*:Phylogenetic Analysis Using Parsimony (and other Methods) 4.0b8. Sinauer Associates, Sunderland, MA.
Thomson, J. D., T. J. Gibson, F. Plewniak, F. Jeanmougin and D. G. Higgins, 1997. The
Clustal X windows interface: Flexible strategies for multiple sequence alignment aided by quality analysis tools. Nucleic Acids Res. 24: 4876-4882.
Walsh, P. S., D. A. Metzger and R. Higuchi. 1991. Chelex® 100 as a medium for simple extraction of DNA for PCR-based typing from forensic material. Biotechniques 10: 506-513.