การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชบางชนิด เพื่อการเพิ่มขนาดผลลำไยพันธุ์ดอ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศึกษาผลของบราสสิโนสเตอรอยด์ จิบเบอเรลลิน และ 1-แนฟทิลอะซีติค แอซิด (NAA) ต่อขนาดของผลลำไย โดยการฉีดพ่นสารควบคุมการเจริญเติบโตแก่ต้นลำไยพันธุ์ดอ เมื่อต้นลำไยติดผลได้ 105 วัน โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่1 ทำการฉีดพ่นบราสสิโนสเตอรอยด์ ความเข้มข้น 0.00 (กรรมวิธีควบคุม), 0.004 และ 0.01 มก./ล. ให้แก่ต้นลำไย พบว่า บราสสิโนสเตอรอยด์ 0.01 มก./ล. ทำให้ผลลำไยมีขนาดใหญ่ที่สุด การทดลองที่2 ทำการฉีดพ่นสารบราสสิโนสเตอรอยด์ (BRs) จิบเบอเรลลิค แอซิด (GA3) และ1-แนฟทิลอะซีติค แอซิด (NAA) และน้ำเปล่า (กรรมวิธีควบคุม)ให้แก่ต้นลำไย โดยใช้ NAA 100 มก/ล, GA3 50 มก./ล., BRs 0.01 มก./ล., GA3 50 มก./ล. + BRs 0.01 มก./ล., GA3 50 มก./ล. + NAA 100 มก./ล. และ NAA 100 มก./ล. + BRs 0.01 มก./ล. พบว่าทุกกรรมวิธีที่ใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตสามารถเพิ่มขนาดและน้ำหนักสดและแห้งของผลลำไยมากกว่าและผลมีสีผิวที่ดีกว่าผลในพวกกรรมวิธีควบคุม โดยพวกที่ได้รับ BRs 0.01 มก./ล. และพวกที่ได้รับ GA3 + NAA มีแนวโน้มที่จะให้ผลลำไยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ขณะที่พวกที่ได้รับ BRs ร่วมกับ NAA มีแนวโน้มที่จะให้ผลที่มีน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งสูงสุด อย่างไรก็ตามน้ำหนักแห้งของรก เมล็ด และความหนาเปลือก ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในทุกกรรมวิธี
Article Details
References
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2544. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพฤษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 237 น.
Bouquin, T., C. Meier, R. Roster, M.E. Nielsen and J. Mundy. 2001. Control of specific gene expression by gibberellin and brassinosteroid. Plant Physiol. 172(2): 450-458.
Bryant, D. 2001. Grape growth regulator discussed. Western Farm Press Magazine. [Online]. Available: http://westernfarmpress.com/ar/ farming (15 March 2004).
Fujioka, S., T. Noguchi, T. Watabe, S. Takatsuto, and S. Yoshida. 2000. Biosynthesis of brassinosteroids in cultured cells of Catharathus roseus. Phytochemistry 53: 549-553.
Guardiola, J.L., M.T. Barres, C. Albert and A. Garcia-Luis. 1993. Effects of exogenous growth regulators on fruit development in Citrus unshiu. Annals of Botany 71: 169-176.
Heble, M.R., S. Narayanaswami and M.S. Chadha. 2001. Hormonal control of steroid synthesis in Solanum xanthocarpum tissue cultures. [Online]. Available: htpp:// www.elsevier. com/locate/scihoti (26 September 2003).
Patrick, J.W. 1987. Are hormones involved in assimilate transport?. pp. 175-178. In: G.V. Hoad, J.R. Lenton, M.B. Jackson and R.K. Atkin (eds). Hormone Action in Plant Development: A Critical Appraisal. Butterworths, London.
Salisbury, F.B. and C.W. Ross. 1992. Plant Physiology. 4th ed. Wadsworth Pub. Co., Belmont. 682 pp.
Sasse, J.M. 1991. Brassinosteroid - Are they endogenous plant hormone? Plant Growth Reg. Soc. Amer. Quarterly 19: 1-18.
Wang, T.W., D.J. Cosgrove and R.N. Arteca. 1993. Brassinosteroid stimulation of hypocotyl elongation and wall relaxation in pakchoi (Brassica chinensis cv Lei-Choi). American Society of Plant Physiol. 101(3): 965-968. [Online]. Available: http://www.plantphysiol. org/cgi/content/abstract (15 March 2004).