การคัดเลือกสายต้นฝรั่งลูกผสมชั่วที่หนึ่งเพื่อการแปรรูป

Main Article Content

ปานจิตต์ พัวพันธ์รักษกุล
สุรินทร์ นิลสำราญจิต

บทคัดย่อ

การศึกษาฝรั่งลูกผสมชั่วที่หนึ่งที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีผสมข้าม จำนวน 13 ลูกผสม คือ ลูกผสม ACA AKS AWT BAF    BBK  BCA BKS BWT CAF CBK CBM CKS และ CWT   ปลูกทดสอบพันธุ์เพื่อประเมินคุณภาพระหว่างสายต้นที่ระดับความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล  พบว่า ลูกผสม BBK  BCA และ BKS ที่ได้มาจากการใช้พันธุ์โบมองท์เป็นต้นแม่พันธุ์  มีการออกดอกและติดผลมากกว่าพันธุ์ที่ใช้พันธุ์แคลิฟอร์เนียและพันธุ์อัฟริกาเป็นต้นแม่พันธุ์  จากการประเมินคุณภาพผลระหว่างต้นของฝรั่งลูกผสมที่ได้มาจากการเพาะเมล็ด  มีต้นที่มีลักษณะตรงตามความต้องการจำนวน 29 ต้น  เมื่อนำมาขยายพันธุ์โดยวิธีชำกิ่งและปลูกทดสอบพันธุ์ เพื่อคัดเลือกลูกผสมที่เหมาะสำหรับการแปรรูปจากลักษณะภายนอกและคุณภาพทางเคมีภายในผล พบว่า ลูกผสม BKS ต้นที่ 19 และ 13 ให้ผลผลิตต่อต้นมาก ผลมีขนาดใหญ่  น้ำหนักผล 297.0 และ 356.4 กรัมตามลำดับ เนื้อสีชมพู มีปริมาณวิตามินซีสูงเท่ากับ 524.6 และ 465.4 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมตามลำดับ มีปริมาณเพคตินไม่มากนักเหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นน้ำฝรั่งส่วนลูกผสม CBM ต้นที่ 23 เป็นพันธุ์ที่มีผลขนาดใหญ่ น้ำหนักผล 293.7 กรัม ปริมาณวิตามินซีเท่ากับ 350.8 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และมีปริมาณเพคตินมากเหมาะสมกับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทแยมหรือเยลลี่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุพันธ์ ทองแถม, สุรินทร์ นิลสำราญจิต พรรัตน์ ศิริคำ และเกตุชัย มานะ. 2542. โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์ฝรั่งเพื่อการแปรรูป. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ประจำปีงบประมาณ 2542. มูลนิธิโครงการหลวง. 91 หน้า.

จารุพันธ์ ทองแถม, สุรินทร์ นิลสำราญจิต และเกตุชัย มานะ. 2543. โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์ฝรั่งเพื่อการแปรรูป.รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ประจำปีงบประมาณ 2543. มูลนิธิโครงการหลวง. 115 หน้า.

ไพโรจน์ ผลประสิทธิ์. 2541. รวมกลยุทธ์ฝรั่ง. เจริญการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 102 หน้า.

Batten, D.J. 1984. Guava (Psidium guajava L.). pp.113-124. In P.E. Page, (ed.). Tropical Tree Fruits for Australia. Queensland Government Print, Brisbane.

Chapman, K.R., B. Paxton and D.H. Maggs. 1986. Growth and yield of clonal guavas in South-eastern Queensland. Aust. J. Exp. Agric. 26(5): 619-624.

Menzel, C.M. 1985. Guava: An exotic fruit with potential in Queensland. Queensland Agric. J. ill: 93-98.

Pilgrim, G.W., R.H. Walter and D.G. Oakenful. 1991. Jam’s Jellies, and Preserves. pp. 23-50. In R.H. Walter, (ed.). The Chemistry and Technology of Pectin. Academic Press, Inc., San Diago.

Ray, P.K. 2002. Breeding Tropical and Subtropical Fruits. Narosa Publishing House, New Delhi. 338 pp.

Webber, H.J. 1944. The vitamin C content of guava. Proc. Amer. Soc. Hort. Sci. 45: 87-94.