ผลยับยั้งของสารสกัดจากผลดีปลีต่อเชื้อรา <I>Colletotrichum gloeosporioides </I> สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของผลมะม่วง

Main Article Content

วนัสนันท์ สะอาดล้วน
พิทยา สรวมศิริ

บทคัดย่อ

ทำการศึกษาโดยสกัดสารออกฤทธิ์จากผลดีปลีแห้ง Java long pepper (Piper retrofractum Vahl.) ด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ คือ เอทธานอล 95% ได้ปริมาณสารสกัดหยาบเท่ากับ 12.1% หลังจากนั้นทำการแยกสาร องค์ประกอบในสารสกัดหยาบด้วย TLC (Thin layer chromatography) โดยใช้ตัวทำละลายเคลื่อนที่ คือ hexane : ethyl acetate : methanol ในอัตราส่วนต่าง ๆ ก่อนตรวจสอบทางชีววิทยา (TLC-bioassay) โดยใช้เชื้อรา Cladosporium cladosporioides พบบริเวณต้านเชื้อรา (clear zone) ที่ชัดเจนที่สุด 2 บริเวณ คือบริเวณที่มีค่าเท่ากับ 0.12-0.36 และ 0.51-0.72 เพื่อตรวจสอบฤทธิ์ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคแอนแทรคโนส ทำการแยกสารองค์ประกอบบริเวณที่ออกฤทธิ์ดีข้างต้นเพื่อให้บริสุทธิ์ขึ้นด้วยวิธี Column chromatography  ได้กลุ่มสารที่เรียกว่า dp ทำการวิเคราะห์สารองค์ประกอบด้วยวิธี GC-MS พบว่าประกอบด้วยสาร piperine เป็นองค์ประกอบหลัก 39.17% และสารอื่น ๆ อีก เมื่อนำไปทดสอบความเป็นพิษ ต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides โดยเปรียบเทียบที่ความเข้มข้น 5 ระดับ คือ 0, 250, 500, 1,000 และ 2,000 ppm และเปรียบเทียบกับสารเคมี benomylเข้มข้น 500 ppm พบว่าที่ระดับความเข้มข้น 500 ppm ขึ้นไปสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อราได้ 100 %  เท่ากับสาร benomyl และที่ระดับความเข้มข้น 250 ppm สามารถยับยั้งได้ 89.91%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา วงศ์ปัญญา. 2546. ผลของสารสกัดหยาบจากดีปลีต่อโรคแอนแทรคโนสของมะม่วง. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 49 หน้า.
เนตรนภา พรหมสวรรค์. 2541. การศึกษาสารต้านเชื้อราจากผลดีปลี. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 41 หน้า.
รัตติยา นวลหล้า. 2542. การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในคะน้า. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 91 หน้า.
วันดี กฤษณพันธ์. 2534. พฤษเคมีเบื้องต้น. หน้า 25-27.ใน: ยาและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ. ภาควิชาวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
โสภา หวั่นเส้ง. 2537. โครงสร้างและฤทธิ์ควบคุมแมลงของสารประกอบจากต้น Aglaia oligophylla Miq.และการคัดเลือกต้นดีปลี (Piper retrofractum Vahl.) กับพริกไทย (Piper nigrum L.) เพื่อใช้ควบ คุมแมลง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 142 หน้า.
Mills, R. 2005. Piperine multiplies the strength of many supplements and drugs. (Online). Available: http://www.delano.com/Articles/piperine-multiplies.html [2005, June 15]
Weiss, E. A.(ed.). 2002. Spice Crop. CABI Publishing, New York. 432 pp.