การคัดเลือกดีเอ็นเอเครื่องหมายแบบ SSR ของยีนต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชนิด <I>Bph3 </I>จากข้าวสายพันธุ์ปรับปรุง และพันธุ์ชัยนาท 1

Main Article Content

สุรเดช ปาละวิสุทธิ์
วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ
ศิริพร กออินทร์ศักดิ์
ธานี ศรีวงศ์ชัย

บทคัดย่อ

ปัจจุบันโมเลกุลเครื่องหมายที่ใช้ในการตรวจสอบยีนต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens (Stål), Delphacidae, Homoptera) แต่ละชนิดได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีหลากหลายชนิดให้เลือก ซึ่งแต่ละชนิดต่างก็แสดงผลการตรวจสอบแตกต่างไปตามชนิดของพันธุ์ข้าว ดังนั้น จึงได้ดำเนินการศึกษาเพื่อคัดเลือกโมเลกุล ดีเอ็นเอเครื่องหมายแบบ SSR ของยีนต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ชนิด Bph3 ที่เหมาะสม เพื่อตรวจสอบและติดตามการถ่ายทอดยีนต้านทานดังกล่าวของข้าวสายพันธุ์ปรับปรุง Rathu Heenati/ขาวดอกมะลิ105 (KDML 105) และข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ในกระบวนการปรับปรุงคุณลักษณะความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลของข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ให้มีระดับที่สูงขึ้น โมเลกุลเครื่องหมายที่มีศักยภาพในการตรวจสอบยีนต้านทานดังกล่าวที่พบในข้าวประกอบด้วย 7 ชนิด คือ RM 170, RM 190, RM 586, RM 587, RM 588, RM 589, และ RM 597 ซึ่งเป็นโมเลกุลเครื่องหมายที่ตั้งอยู่บนโครโมโซม 6 และใกล้กับตำแหน่งที่ตั้งของยีนต้านทาน ชนิด Bph3 ผลการตรวจสอบความจำเพาะและความเหมาะสมของโมเลกุลเครื่องหมายด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุล พบว่า มีเพียง RM 170, RM 190, และ RM 586 เท่านั้นที่ให้ผลเป็น polymorphism ที่มีความแตกต่างกันประมาณ 10-15 คู่เบส ระหว่างข้าวพันธุ์เป้าหมายทั้งสองสายพันธุ์ ซึ่งมีความชัดเจนเพียงพอสำหรับการนำมาใช้ติดตามและตรวจสอบการถ่ายทอดยีนควบคุมลักษณะความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชนิด Bph3 ในการปรับปรุงข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิระพงศ์ ใจรินทร์, กิจติพงษ์ เพ็งรัตน์, สงวน เทียงดีฤทธิ์, กฤษณา สุดทสาร, จรัญจิต เพ็งรัตน์ และอุไรวรรณ คชสถิตย์. 2548. การสืบหาโมเลกุลเครื่องหมายเพื่อการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. รายงานการประชุมวิชาการ ข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2548. วันที่ 7-8 มีนาคม 2548, ณ โรงแรม รอแยลฮิลส์ รีสอร์ท, จ. นครนายก.
สำนวน ฉิมพกา และวีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2548. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกร อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วารสารเกษตรนเรศวร 8(1): 77-94.
สุวัฒน์ รวยอารีย์. 2544. เรียนรู้การจัดการศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน. เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
Hirabayashi, H. and T. Ogawa. 1995. RFLP mapping of Bph-1 (Brown planthopper resistance gene) in rice. Breeding Sci. 45: 369-371.
Huang, N., A. Parco, T. Mew, G. Magpantay, S. R. McCouch, E. Guiderdoni, J. Xu, P. Subudhi, E. R. Angeles, G. S. Khuih and J. C. XU. 1997. RFLP mapping of isozymes, RAPD and QTLs for grain shape, brown planthopper resistance in a doubled haploid rice population. Mol. Breed. 3:105-113.
Jeon, Y. H., S. N. Ahn, H. C. Choi, T. R. Hahn and H. P. Moon. 1999. Identification of a RAPD marker linked to a brown planthopper resistance gene in rice. Euphytica 107: 23-28.
Jirapong, J., T. Toojinda, S. Tragoonrung, S. Tayapat and A. Vanavichit. 2005. Multiple genes determining brown planthopper (Nilaparvata lugens Stål) resistance in backcross introgressed lines of Thai jasmine rice ‘KDML105’. ScienceAsia 31: 129-135.
Kawaguchi, M., K. Mulata, T. Ishii, S. Takumi, N. Mori and C. Nakamura. 2001. Assignment of a brown planthopper (Nilaparvata lugens Stål) resistance gene bph4 to the rice chromosome 6. Breeding Sci. 51: 13-18.
Mei, M., C. Zhuang, R. Wan, J. Wu and G. Kochert. 1996. Genetic analysis and tagging of gene for brown planthopper resistant in indica rice. pp 590-595. In: G. S. khush, (ed.) Rice Genetics III. Proceedings of the Third International Rice Genetics Symposium. IRRI, Manila, Philippines.
Yang, H., X. Ren, Q. Weng, L. Zhu and G. He. 2002. Molecular mapping and genetic analysis of a rice brown planthopper (Nilaparvata lugens Stål) resistance gene. Hereditas 136: 39-43.