การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมันเป็นอาหารสัตว์ปีก 2. ไก่เนื้อ

Main Article Content

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์
บุญล้อม ชีวะอิสระกุล
จิตรา กลิ่นหอม

บทคัดย่อ

การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมัน (Full-fat soybean, FFSB) at soybean, FFSB) แต่นำไปผ่านขบวนการให้ความร้อนแบบต่าง ๆ คือการนึ่งด้วยไอน้ำที่มีแรงดัน 40 ปอนด์ / ตารางนิ้วเป็นเวลา 5, 10 และ 15 นาทีการอบในตู้อบขนมปังที่มีอุณหภูมิภายในตู้ 180 ซ เป็นเวลา 20, 30 และ 40 นาทีหรือการผ่านเครื่องเอ็กซ์ทรุดเปรียบเทียบกับการใช้กากถั่วเหลืองเลี้ยงไก่เนื้อแบบคละเพศพันธุ์เอเอ 707 จำนวน 800 ตัวแบ่งออกโดยสุ่มเป็น 8 กลุ่มกลุ่มละ 4 ซ้ำเพื่อเลี้ยงด้วยอาหารทดลองที่มีส่วนประกอบของ FFSB ชนิดต่าง ๆ ข้างต้นเป็นเวลา 6 สัปดาห์โดยสูตรอาหารแบ่งออกเป็น 3 ระยะให้มีโปรตีนระดับ 21, 19 และ 17% ในช่วงไก่อายุ 1-3, 6 และ 7 สัปดาห์ตามลำดับส่วนค่าพลังงานใช้ประโยชน์และไขมันปล่อยให้เพิ่มขึ้นเมื่อใช้ FESB ในอาหารผลปรากฏว่าการนึ่งสามารถทำลายสารยับยั้งทริพซิน (Trypsin inhibitor activity, TIA) ได้เกือบหมด (76-92%) โดยเฉพาะเมื่อใช้เวลานึ่ง 15 นาทีจะเหลือ TIA ต่ำมากใกล้เคียงกับ FSB ชนิดเอ็กซ์ทรุดต่างจากวิธีการอบซึ่งยังคงเหลือ TIA เป็นจำนวนมากโดยทำลายไปได้เพียง 13-28% เท่านั้นเมื่อนำไปเลี้ยงไก่เนื้อทำให้สมรรถภาพการผลิตเลวกว่าชนิดนึ่งและเอ็กซ์ทรูดอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.05) และยังทำให้ตับอ่อนขยายใหญ่ขึ้นอีกด้วยสำหรับ FFSB ชนิดนึ่งเป็นเวลา 5 นาทีการเจริญเติบโตยังไม่ดีพอ แต่ถ้าเพิ่มเวลานึ่งนานขึ้นเป็น 10-15 นาทีสมรรถภาพการผลิตไม่ต่างจากกลุ่มควบคุมที่ใช้กากถั่วเหลืองและกลุ่มที่ใช้ FSB ชนิดเอ็กซ์ทรุดโดยกลุ่มที่ใช้เอ็กซ์ทรูดจะให้ประสิทธิภาพการใช้อาหารดีที่สุด ซึ่งอาจเนื่องจากกรรมวิธีการผลิตที่ทำให้มีขนาดเม็ดถั่วเล็กละเอียดมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทลักขณา, จรัญ. (2523). สถิติวิธีวิเคราะห์และวางแผนงานวิจัย. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, กรุงเทพฯ.
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน และ ชีวะอิสระกุล, บุญล้อม (2532). การใช้ถั่วพร้าเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารไก่เนื้อ. ว.เกษตร 5(2): 137-150.
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน และ ชีวะอิสระกุล, บุญล้อม. (2535). การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมันเป็น อาหารสัตว์ปีก 1. นกกระทาไข่และไก่สาว. ว. เกษตร 8(2): 115-126.
ภูวดลไพโรจน์, ศิริลักษณ์. (2525). กรรมวิธีที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงลูกสุกรหย่านมก่อนกำหนด.วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
เศรษฐภักดี, วิมลรัตน์. (2520). ผลของการใช้จุลินทรีย์ เอนไซม์ และสารละลายด่างช่วยปรับปรุงคุณภาพของถั่วเหลืองเพื่อเลี้ยงสุกรหย่านมก่อนกำหนด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อื้อเชี่ยวชาญกิจ, กษิดิศ. (2518). ผลการแช่ถั่วเหลืองนึ่งและกากถั่วเหลืองลงในสารละลายกรดหรือด่างเพื่อใช้ เป็นอาหารเลี้ยงลูกสุกรหย่านมก่อนกำหนด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Anderson-Hafermann, J.C., Zhang, Y., Parsons, C.M and Hymowitz, T. (1992). Effect of heating on nutritional quality of conventional and Kunitz trypsin inhibitor-free soybeans. Poultry Sci. 71: 1700-1709.
AO.A.C. (1980). Official methods of analysis. Association of Official Analytical Chemists, 13th ed. Washington, DC., USA
Bajjalieh, N., Orf, J.H., Hymowitz, T. and Jensen, A.H. (1980). Response of young chicks to raw, defatted, Kunitz trypsin inhibitor variant soybeans as sources of dietary protein. Poultry Sci. 59: 328-332.
Carew, LB., Jr., Hill, F.W. and Nesheim, M.C. (1961). The comparative value of ground unextracted soybeans and heated dehulled soybean flakes as a source of soybean oil and energy for the chick J.Am Oil Chem. Soc. 38: 249-253.
Featherston, R.R. and Rogler, J.C. (1966). A comparison of processing conditions of unextracted soybeans for utilization by the chick. Poultry Sci. 46: 330-336.
Hafez, Y.S., Singh, G., McLellan, M.E. and Monroe-Lord, L (1983). Effects of microwave heating on nutritional quality of soybeans. Nutr. Reports Int. 28(2): 413-421.
Han, Y., Parsons, C.M. and Hymowitz, T. (1991). Nutritional evaluation of soybeans varying in trypsin inhibitor content. Poultry Sci. 70: 896-906.
Hayward, J.W., Steenbock, H. and Bohstedt, G. (1996). The effect of heat as used in the extraction of soybean oil upon the nutritive value of the protein. J. Nutr. 11: 219-234.
Johnson, LA, Deyoe, C.W., Hoover, W.J. and Schwenke, J.R. (1980). Inactivation of trypsin inhibitor in aqueous soybean extracts by direct steam infusion. Cereal Chem 57(6): 376.
Kakade, M.L., Simons, N. and Liener, I.E. (1971). Nutritional effects induced in rats by feeding natural and synthetic trypsin inhibitors. J. Nutr. 100: 1003-1008.
Kakade, ML, Rackis, J.J., McGhee, J.E and Puski, G. (1974). Determination of trypsin inhibitor activity of soy products: A collaborative analysis of an improved procedure. Cereal Chem 51: 376- 383.
Kubena, LF., Chen, T.C. , Deaton, J.W. and Reece, F.N. (1974). Factors influencing the quantity of abdominal fat in broilers. 3. Dietary energy levels. Poultry Sci. 53: 974-978.
Leeson, S., Atteh, J.O. and Summers, J.D. (1989). Soybeans in diets for pullets and laying hens. Nutr. Reports Int. 40: 425-430.
McNaughton, J.L and Reece, F.N. (1980). Effect of moisture content and cooking time on soybean meal, urease index, trypsin inhibitor content, and broiler growth. Poultry Sci. 50: 2300-2306. McNaughton, J.L, Reece, F.N. and Deaton, J.W. (1981). Relationships between color, trypsin inhibitor contents, and urease index of soybean meal and effects on broiler performance. Poultry Sci. 60: 393-400.
Mitchell, R.J., Waldroup, P.W., Hillard, C.M and Hazen, KR (1972). Effects of pelleting and particle size on utilization of roasted soybeans by broilers. Poulry Sci. 51: 506-510.
National Research Council (NRC). (1984). Nutrient requirements of poultry, 8th ed. National Academy Press, Washington, D.C., USA.
Porter, P.J. and Britton, W.M. (1974). Fatty acid composition of chicks fed full fat soybeans, Poultry Sci. 53: 1137-1141.
Renner, R., Clandinin, D.R. and Robblee, AR. (1953). Action of moisture on damage done during overheating of soybean oil meal. Poultry Sci. 32: 582-585.
Summers, J.D., McConachie, J.D., Slinger, S.J. and Pepper, W.F. (1966). The value of raw unextracted soybeans for laying hens. Poultry Sci. 45: 165-169.
Waldroup, P.W. and Cotton, T.L (1974). Maximum usage levels of cooked full-fat soybeans in all-mash broiler diets. Poultry Sci. 53: 677-680.
Wiseman. J. (1987). Feeding of non-ruminant livestock. Butterworths, London, UK.
Zhang, Y., Parsons, C.M. and Hymowitz, T. (1991). Research Note: Effect of soybeans varying in trypsin inhibitor content on performance of laying hens. Poultry Sci. 70: 2210-2213.