ศักยภาพของฟอสเฟสที่ถูกดูดทางเคมีและความสามารถในการให้ฟอสเฟสแก่พืช

Main Article Content

สุพจน์ โตตระกูล
เนาวรัตน์ เทพสุวรรณ
กนกพันธ์ พันธุ์สมบัติ

บทคัดย่อ

ในดินชุดเรณู ฟอสฟอรัสที่ใส่ลงไปในดินส่วนใหญ่ประมาณ 70-90% จะถูกตรึงในรูปของเหล็กอลูมินัมฟอสเฟต ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 20-30% จะตกตะกอนในรูปของ Ca3 (PO3)4 และน้อยกว่า 8% จะถูกตรึงโดยเคลย์  ส่วนปริมาณฟอสฟอรัสที่ละลายน้ำได้ จะมีแค่ 2-10% เท่านั้น  การใส่ฟอสฟอรัสลงไปในดินที่มีการปลูกพืชนั้นในระยะแรก ๆ ฟอสฟอรัสส่วนใหญ่จะถูกดูดซับอยู่ที่ผิวเคลย์ก่อน เมื่อเวลาผ่านไปก็จะมีการไล่ที่ฟอสฟอรัสบนผิวเคลย์ออกมาแล้วตกตะกอนในรูปของเหล็กอลูมินัมฟอสเฟตต่อไป การใส่ฟอสฟอรัสให้แก่ถั่วเหลืองตามอัตราที่แนะนำโดยทั่วไปคือ 8-10 กก. P2O5 ต่อไร่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของถั่วเหลืองที่ปลูกในดินชุดเรณูถึง 2 ครั้ง.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โตตระกูล, สุพจน์. (2526). หลักการของปฐพีเคมีวิเคราะห์. สำนักพิมพ์โอเดียน. กรุงเทพฯ.
โตตระกูล, สุพจน์., เทพสุวรรณ, เนาวรัตน์. และ พันธุ์สมบัติ, กนกพันธุ์. (2527). อิทธิพลของความชื้นและเวลา ต่อการเปลี่ยนแปลงรูปของฟอสเฟตที่ถูกตรึงในดินชุดสันทราย. รายงานเสนอต่อศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่ม ผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Bohn, H., Mcneal, B. and O'Connor, G. (1979). Soil Chemistry. Wiley-Interscience.
Greeland, D.J. and Hayes, M.H.B. (1981). The Chemistry of Soil Process. John Wiley.
Lindsy, W.L. (1979). Chemical Equilibria in Soils. A Wiley-Interscience.
Walsh, L.M. and Beaton, J.D. (1973). Soil Testing and Plant Analysis. S.S.S.A. Inc.
White, R.E. (1980). Retention and release of phosphate by soil and soil constituents. Soil and Agriculture. Vol. 2. Black Well Science.