การศึกษาการปรับปรุงพันธุ์ลิ้นจี่โดยวิธีกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์ 1. การตอบสนองของเมล็ดลิ้นจี่พันธุ์ฮงซวยต่อรังสีแกมม่า

Main Article Content

อดิศร กระแสชัย
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ

บทคัดย่อ

การฉายรังสีแกมม่าในปริมาณ 10, 20, 30, 40, 50 และ 60 Gy โดยมีอัตรารังสี 6.68 Gy/นาที  ให้กับผลลิ้นจี่พันธ์ฮงฮวย แล้วนำเมล็ดไปเพาะ  พบว่า ที่ปริมาณรังสี 20 GY ทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกลดลงเป็นประมาณ 60 เปอร์เซนต์  ในขณะที่เมล็ดที่ไม่ได้รับรังสีจะมีความงอกประมาณ 80 เปอร์เซนต์ เมล็ดที่ได้รับปริมาณรังสี 60 Gy จะมีความงอกเหลือน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์  ปริมาณรังสีทุกระดับทำให้ใบของต้นกล้ามีรูปร่างผิดปกติ ส่วนการเกิดลักษณะใบด่างนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ปริมาณรังสีที่ 40 Gy ขึ้นไป.


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไชยตระกูลทรัพย์, ธวัชชัย. (252). ลักษณะประจำพันธุ์บางอย่างของลิ้นจี่ทางภาคเหนือของประเทศไทย. ปัญหาพิเศษ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 25 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2535). การเกษตรของประเทศไทย จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 176 หน้า.
Broertjes, C. and Van Hartan, A.M. (1978). Application of mutation breeding methods in the improvement of vegetatively propagated crops. Development in crop science (2). Elsevier Scientific Publishing Company. 316 pp.
Subhadrabandhu, S. (1990). Lychee and Longan cultivation in Thailand. Rumthai Publication, Bangkok, Thailand. 40 pp.