การลดความชื้นข้าวญี่ปุ่นที่ปลูกในฤดูนาปีด้วยเครื่องลดความชื้นแบบใช้ลมร้อน

Main Article Content

ศุภศักดิ์ ลิมปิติ
วิบูลย์ ช่างเรือ

บทคัดย่อ

การศึกษาการลดความชื้น 4 วิธีของข้าวญี่ปุ่นที่ปลูกในฤดูนาปี พ.ศ. 2535 ด้วยเครื่องลดความชื้นแบบกะบะใช้ลมร้อน กระทำที่ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  จากผลการทดลองพบว่าการลดความชื้นด้วยลมร้อนอุณหภูมิ 40-42 °ซ อย่างต่อเนื่องด้วยอัตราการลดความชิ้น 1.0-1.5% ต่อชั่วโมงใช้เวลาในการลดความชื้นน้อยที่สุด การลดความชื้นทั้ง 4 วิธีที่ใช้  ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพหลังการสีของงข่าวสาร เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวที่ได้อยู่ในช่วง 67-69% และมีเปอร์เซ็นต์ข้าวหักเพียง 4-7%


ผลจากการทดลองครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า  เปอร์เซ็นต์ข้าวร้าวที่ตรวจสอบพลหลังการลดความชื้นไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการสีของข้าวสาร กล่าวคือ  แม้จะพบว่าเปอร์เซ็นต์ข้าวร้าวมีค่าสูง แต่เปอร์เซ็นต์ข้าวหักจากการสีกลับไม่ได้สูงตามไปด้วย.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ลิมปิติ, ศุภศักดิ์. และช่างเรือ, วิบูลย์. (2535). การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของข้าวญี่ปุ่นในฤดูนาปี. ศูนย์วิจัย
และฝึกอบรมวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รัตนกาสกร, สาทิป. (2529). ทฤษฎีการลดความชื้น. เอกสารประกอบการบรรยาย โครงการฝึกอบรมหลักสูตร
วิทยาการสีข้าว. กองเกษตรวิศวกรรม, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
Brooker, D.B, Baker-Arkema, W.F. and Hall, C.W. (1974). Drying Cereal Grains. The AVI Publishing
Company Inc., Westport, Connecticut.
Hall, C.W. (1980). Drying and Storage of Agricultural Crops. AVI Publishing Company Inc., Westport,
Connecticut.