โรคที่พบในช่วงเก็บรักษาผลลิ้นจี่จากผลที่เก็บเกี่ยวในระยะเวลาต่าง ๆ

Main Article Content

ชาตรี สิทธิกุล
อุราภรณ์ สอาดสุด
วิชชา สอาดสุด
ธิดา ไชยวังศรี

บทคัดย่อ

เก็บเกี่ยวผลลิ้นจี่ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะ M3 (ผิวเปลือกสีแดง 31-60%), M4 (ผิวเปลือกสีแดง 61- 90%) และ M5 (ผิวเปลือกสีแดง 91-100%) หลังจากนั้นจุ่มผลลิ้นจี่ในสารละลาย benomy1 (500 ppm ที่ 52 °C นาน 2 นาที) ก่อนเก็บผลในถาดแล้วห่อด้วยพลาสติก PVC เก็บถาดทั้งหมดไว้ในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 5 °C นำผลลิ้นจี่มาตรวจสัปดาห์ละครั้งในช่วง 2-5 สัปดาห์ สำหรับ Control ไม่ได้จุ่มผลลิ้นจี่ใน benony1 ก่อนการเก็บรักษา


การศึกษาครั้งนี้พบว่า ระยะเวลาที่เก็บรักษา 2 สัปดาห์ เปลือกของผลลิ้นจี่ M4 และ M5 ไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แต่ผลของระยะ M3 พื้นที่ผิวเปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมากกว่า 50% และหลังจากการเก็บรักษา 3 สัปดาห์ ผลของระยะ M3 เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทั้งหมด สำหรับเชื้อราที่ตรวจพบบนผลที่เก็บรักษาทั้ง 3 ระยะนั้นพบชนิดของเชื้อราคล้าย ๆ กัน เชื้อราที่แยกได้มากที่สุดคือ Cladosporium sp. และ Fusarium sp. ส่วนผลที่จุ่มใน benomyl พบชนิดของเชื้อราน้อยกว่า จากผลการทดลองครั้งนี้พบว่า benomy1 ช่วยลดการเกิดแผลด้านข้างผลได้มากกว่าแผลบริเวณขั้วผล.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Scott, K. J., B. I. Brown, G. R. Chaplin, M. E. Wilcox and J.M. Bain. (1982). The control of rotting and browning of litchi fruit by hot benomyl and plastic film. Scientia Horticulturae 16: 253-262.
Snowdon, A. L. (1990). Post-harvest diseases and disorders of fruits and vetgetables. CRC Press, Inc., Boca Raton, Florida. 302 pp.