การผสมผสานไม้ยืนต้นเพื่อการพัฒนาระบบการเกษตรที่ยืนยงบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน 2. การเปรียบเทียบพันธุ์มะม่วงที่มีอายุ 3 ปี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการปลูกมะม่วงผสมผสานกับถั่วเหลืองที่มีอยู่เดิมแล้วในท้องถิ่นบนแปลงของเกษตรกรในพื้นที่โครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมป่าจอมทอง, จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เพื่อคัดเลือกหาพันธุ์มะม่วงที่เหมาะสมจากพันธุ์การค้าที่คัดเลือกไว้ในเบื้องต้นจำนวน 15 พันธุ์ ในสภาพที่ตอนอาศัยน้ำฝน ผลการศึกษาในช่วง 3 ปีแรก (2532-2535) ชี้ว่ามะม่วงมีการเติบโตทั่วไปค่อนข้างเร็ว โดยเฉพาะพันธุ์พิมเสนมัน, เจ้าคุณทิพย์, หนองแซง, และทองดำ ขณะที่พันธุ์ศาลายา, แก้วลืมรัง และน้ำดอกไม้ จะโตค่อนข้างช้า. ในปีที่ 3 นี้มะม่วงเกือบทุกต้นติดดอกแล้ว แต่ดันที่ติดผลให้เห็นยังมีต่ำเพียงประมาณร้อยละ 50 พันธุ์ไชคอนันต์ให้ผลผลิตต่อต้นสูงสุด แต่พันธุ์บริโภคผลดิบ (มะม่วงมัน) เช่น ศาลายา และแก้วลืมรัง จะเก็บผลได้ต้นฤดูก่อนพันธุ์อื่น ๆ มะม่วงมีอัตราการตายร้อยละ 3 ต่อปีโดยประมาณ และพบอย่างต่อเนื่องแม้ในปีที่ 3 โดยไม่นับรวมที่ถูกพายุพัดล้มตายไปซึ่งเกิดขึ้นเป็นบางปี นอกจากนั้นในการศึกษานี้ ยังได้อภิปรายถึงผลของการปลูกมะม่วงที่มีต่อการผลิตถั่วเหลืองที่ปลูกร่วมกันในฤดูฝน รวมทั้งผลกระทบของแปลงศึกษาพันธุ์มะม่วงที่มีต่อการขยายตัวของแปลงปลูกมะม่วงของเกษตรกรในบริเวณข้างเคียงอีกด้วย.
Article Details
References
ประสารสุข, ทัศนีย์. (2535). มะม่วง. ข่าวสารเศรษฐกิจการเกษตร 38(425): 38-40.
รัตน์ชเลศ, ธวัชชัย. (2533). การกระจายและความหนาแน่นพืชในธรรมชาติที่สัตว์บริโภดบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. วารสารเกษตร, 6(4): 239-251.
รัตน์ชะลศ, ธวัชชัย. และ ยิบมันตะสิริ, พฤกษ์. (2535). การใช้แนวทางวิจัยระบบฟาร์มเพื่อปรับปรุงไม้ผลยืนต้นบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน : กรณีศึกษาพื้นที่ปฏิรูปที่ดินป่าจอมทองจังหวัดเชียงใหม่. MCC Agricultural Technical Report No. 16 15 น.
รัตน์ชเลศ, ธวัชชัย. และ กระแสชัย, อดิศร. (2534). การผสมผสานไม้ยืนต้นเพื่อการพัฒนาระบบการเกษตรที่ยืนยงบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน 1. การประเมินพันธุ์ไม้ยืนต้น. วารสารเกษตร 7(1): 77-95.
รัตน์ชเลศ, ธวัชชัย. และ กระแสชัย, อดิศร. (2535). การเปรียบเทียบพันธุ์มะม่วงเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบยืนยงบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. วารสารเกษตร 8(1): 50-68.
สุทธารักษ์, ประศาสน์. (2535). ผลของปุ๋ยไนโตรเจนและการทำร่มเงาที่มีต่อต้นมะม่วงปลูกในปีแรกบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 101 หน้า.
โอสถสภา, ยงยุทธ., ขำเลิศ, สนั่น., แบบประเสริฐ, ฉลองชัย. และดำชู, มนตรี. (2533). ดินและปุ๋ยใน : การทำสวนมะม่วง. (บรรณาธิการ : ไพบูลย์ ไพรีพ่ายฤทธิ์) หน้า 66-99. สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม.
วังใน, วิจิตร. (2533). พันธุ์มะม่วงใน : การทำสวนมะม่วง (บรรณาธิการ : ไพบูลย์ ไพรีพ่ายฤทธิ์) หน้า 1-17. สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม.
รันดาเว, สุภา. (2531). การจำแนกเขตเกษตรน้ำฝนบนที่ดอนบริเวณจังหวัดเชียงใหม่เพื่อพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบการปลูกพืช. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาเกษตรศาสตร์เชิงระบบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 88 หน้า.
หาญวิริยะพันธุ์, สุวรรณ. (2533). การทดสอบระบบการปลูกพืชแบบต่อเนื่องบนที่ดอนอาศัยน้ำฝนระดับไร่นา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาพืชไร่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 90 หน้า.
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงใหม่. (2525). โครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมป่าจอมทอง. ปีงบประมาณ 2526-2529. 33 หน้า.
เตจ๊ะใจ, อุทิศ. (2531). การทดสอบพืชในระดับไร่นาในเขตพื้นที่ดอนอาศัยน้ำฝน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาเกษตรศาสตร์เชิงระบบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 76 หน้า.
Junpoom, B. (1991). Determination of recommendation domain for soybean production technology in rainfed upland area. Thesis for Graduate school in Agricultural Systems, Chiang Mai University. 69 pp.
Radanachaless, T. (1987). Woody perennial systems for rainfed uplands. Technical Report ACNARP- URPG, 1987, Chiang Mai University.
Ratanapesla, K. (1990). The dominant cropping systems of the Chom Tong Land Reform Project area in 1989/1990. Paper presented in Agricultural Systems Seminar (AGS 366793), 6 December 1990. Multiple Cropping Centre, Chiang Mai University.